ก่อนอื่นคือการสังเกตสีของเลือดที่ออกก่อนค่ะ แบบที่เป็น SPOTTING หรือเลือดที่ออกเป็นสีน้ำตาลหรือสีชมพู และเลือดสดๆ ที่ลักษณะเป็นสีแดงสด ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นต่างกันนะคะ
สาเหตุที่มีเลือด SPOTTING แบ่งออกเป็น 5 สาเหตุ
- เลือดล้างหน้าเด็ก หรือ Implantation bleeding จะมาในช่วงแรกของการตั้งครรภ์หรือช่วงเวลาที่ใกล้กับเวลาที่ประจำเดือนจะมา เนื่องจากตัวอ่อนเข้าไปในผนังมดลูก ปริมาณเลือดที่ออกประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณประจำเดือนปกติ
- มีเพศสัมพันธ์หรือการตรวจภายใน เพราะในระหว่างการตั้งครรภ์ปากมดลูกจะบอบบางและมีเลือดคั่ง หากได้รับแรงกระแทกจากการมีเพศสัมพันธ์หรือการตรวจภายใน อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้เลือดออกได้ค่ะ
- การติดเชื้อทางช่องคลอด เช่น แบคทีเรียในช่องคลอดหรือในบริเวณปากมดลูก หากบริเวณช่องคลอดและปากมดลูกมีการระคายเคืองหรืออักเสบ ก็อาจจะมีเลือดออกเล็กน้อย
- เลือดที่อยู่ในมดลูก เป็นเลือดที่สะสมอยู่ภายใน คอเรียน (chorion คือ เมมเบรนของทารกในครรภ์ที่อยู่ถัดจากรก) หรือเลือดที่อยู่ภายในชั้นของรกเอง โดยปกติแล้วไม่เป็นปัญหาในการตั้งครรภ์ เนื่องจากจะมีการรักษาตัวเองได้
- เมือกหลุด ระหว่างที่ตั้งครรภ์ปากมดลูกจะมีเมือกที่เรียกว่า mucus plug มีหน้าที่ปกป้องไม่ให้ติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อเมือกหลุดออกมาบางทีจะมีเลือดปนออกมาด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณว่าใกล้คลอดแล้วละค่ะ
ระหว่างการตั้งครรภ์จะมีเลือดออกแทบตลอดเวลา ดังนั้นหากไม่มีสัญญาณอันตรายอื่นร่วมด้วยแล้วละก็ จะมีส่งผลกระทบต่อคุณแม่และลูกที่อยู่ในครรภ์ ส่วนภาวะแทกซ้อนที่พบได้บ้าง เช่น
ในช่วงไตรมาสแรก
- ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก คือภาวะที่ตัวอ่อนไปฝังตัวนอกโพรงมดลูก เช่นที่ ปีกมดลูก หรือท่อนำไข่ รังไข่ หรือ ปากมดลูก โดยอาการที่คุณแม่จะรับรู้ได้คือ ปวดท้องอย่างหนัก คลื่นไส้และอาเจียน มึนเวียนศีรษะ และไม่มีแรงค่ะ ให้รีบไปพบคุณหมอให้ด่วนที่สุด
- ครรภ์ไข่ปลาอุก หรือ Molar pregnancy คือ ภาวะแทกซ้อนที่เจอได้ยากมาก โดยจะมีเนื้องอกจากรกแบ่งตัวมากจนผิดปกติ ส่งผมให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตได้ สาเหตุมาจากเชื้ออสุจิที่มีโครโมโซมผิดปกติ คุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง และเป็นตะคริวได้ง่ายค่ะ
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ไตรมาสหลัง หรือช่วงไตรมาสที่ 3
- รกเกาะต่ำ คือปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการเลือดออกระหว่างการตั้งครรภ์ อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อตัวรกเองครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของปากมดลูก แพทย์จะเห็นได้จากการอัลตราซาวนด์ ซึ่งส่วนให่แล้วรกจะเคลื่อนตัวออกจากบริเวณนั้นเองได้ก่อนการคลอด แต่ในบางกรณีอาจจะเป็นสาเหตุของภาวะเส้นเลือดสายสะดือทอดผ่านปากมดลูก หรือ vasa previa ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสายสะดือไปอุดกั้นปากมดลูกเอาไว้ คุณแม่ควรรีบพบแพทย์ค่ะ
- รกลอกตัวก่อนกำหนด มักจะเกิดขึ้นในช่วง 2 ไตรมาสหลังของการตั้งครรภ์ และมักจะอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 การแยกตัวของรกจากผนังมดลูกนั้นคุณแม่จะมีอาการปวดท้อง หรือรู้สึกหน่วงๆ เจ็บเล็กน้อนบริเวณหน้าท้องหรือก้นกบ ถ้ารกลอกตัวเพียงเล็กน้อยก็จะไม่มีอันตราบ แต่ถ้าลอกตัวเยอะ คุณแม่และลูกในท้องก็อาจจะมีเสี่ยงที่สูงขึ้นมากค่ะ และควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อหาหนทางแก้ไขต่อนะคะ
- คลอดก่อนกำหนด จากสัปดาห์ที่ 20 – 37 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีอาการเป็นเหน็บชาบ่อยขึ้น ปวดหลัง ปวดท้อง ให้รีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดนะคะ
สิ่งที่คุณแม่ควรพึงระลึกไว้ก็คือ หากมีเลือดออกเพียงเล็กน้อยเป็นเรื่องปกติระหว่างการตั้งครรภ์ค่ะ และคุณแม่บางคนแม้จะมีเลือดออกเยอะ แต่ก็คลอดลูกออกมาได้สมบูรณ์ดีนะคะ แต่ถ้าหากคุณแม่ไม่สบายใจ ก็ควรปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์นะคะ
ที่มา whattoexpect
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทำไมมีเซ็กส์ตอนท้องแล้วเลือดออก
อาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์บอกอะไร?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!