วิธีเลี้ยงลูกสมาธิสั้น ลูกสมาธิสั้น ก้าวร้าว สมาธิสั้นทําไงดี 7เทคนิคดูแลลูกสมาธิสั้น

แม่กลุ้มใจ ลูกสมาธิสั้น ก้าวร้าว จนหมดปัญญา ไม่รู้จะเริ่มดูแลลูกยังไงดี ถึงจะมีความสุข มาดูวิธีเลี้ยงลูกสมาธิสั้น ลดปัญหาลูกสมาธิสั้น ก้าวร้าว พร้อม 7 เทคนิคดูแลลูกสมาธิสั้น

วิธีเลี้ยงลูกสมาธิสั้น ลูกสมาธิสั้น ก้าวร้าว อ่าน! เลี้ยงลูกสมาธิสั้นอย่างไร ให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข กรมสุขภาพจิตแนะให้พ่อแม่ที่มีลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ใช้รูปแบบการเลี้ยงแบบประชาธิปไตย

 

วิธีเลี้ยงลูกสมาธิสั้น ลูกสมาธิสั้น ก้าวร้าว

 

เด็กไทยเป็นโรคสมาธิสั้น กว่า 4 แสนคน

ผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตล่าสุดใน พ.ศ.2555 พบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 มีอัตราป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นร้อยละ 8.1 หรือคาดว่ามีประมาณ 470,000 คนทั่วประเทศ ภาคใต้มีความชุกสูงสุดร้อยละ11.7 รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 9.4 ภาคกลางร้อยละ 6.7 กทม.ร้อยละ 6.5 ต่ำสุดที่ภาคเหนือ ร้อยละ 5.1เป็นชายมากกว่าหญิง 3 เท่าตัว

อาการของเด็กสมาธิสั้น เป็นอย่างไร?

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ปัญหาการเจ็บป่วยทางจิตเวชในเด็กไทยที่พบมากอันดับต้น ๆ คือโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) หรือที่มักเรียกว่าโรคไฮเปอร์ตามอาการของเด็กที่มีลักษณะเฉพาะ 3 ด้านคือ

  • ขาดสมาธิ (Inattention )
  • ซุกซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
  • หุนหันพลันแล่น (Impulsivity)

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การเรียน การเข้าสังคมอยู่ร่วมกับคนอื่น โดยเด็กที่ป่วยมักจะถูกตำหนิ ดุด่า หากจัดการปัญหาไม่ถูกวิธีจะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : การฝึกสมาธิลูก ง่ายกว่าที่คิด

วิธีแก้เด็กสมาธิสั้น ทำได้อย่างไรบ้าง?

การรักษาโรคสมาธิสั้น ที่ได้ผลดีที่สุดคือการใช้ยาร่วมกับการปรับพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้น

ปัญหาเรื่องการเข้าสังคมในเด็กสมาธิสั้นเป็นเรื่องที่รักษายากซับซ้อนกว่าการรักษาด้วยยาและการปรับพฤติกรรมทั่ว ๆ ไป โดยทักษะสังคมที่จะต้องสร้างให้เด็กสมาธิสั้นเพื่ออยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมอย่างมีความสุข มี 7 ด้านได้แก่

  1. ความเชื่อมั่นตนเอง
  2. การควบคุมตัวเอง
  3. การจัดการปัญหาที่ถูกต้อง
  4. การเรียนรู้สิ่งใหม่
  5. การสื่อสารกับคนอื่น
  6. การสร้างสัมพันธภาพคนอื่น
  7. การแก้ไขความขัดแย้ง

ทักษะสังคมเหล่านี้ได้มาจากการฝึก การปลูกฝังและรูปแบบการเลี้ยงดูของพ่อแม่ จากผลการวิจัยของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งศึกษาในกลุ่มเด็กอายุ 6-12 ปี ที่เข้ารักษาที่สถาบันฯในปี 2559-2560 จำนวน 221 คน พบว่า รูปแบบการเลี้ยงดูเด็กสมาธิสั้นที่สัมพันธ์กับทักษะสังคมในด้านความเชื่อมั่นในตัวเองของเด็กที่สุดคือการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

 

เลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตย แก้โรคสมาธิสั้น

ทางด้านแพทย์หญิงหทัยชนนี บุญเจริญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้พบว่าครอบครัวของเด็กส่วนใหญ่ร้อยละ 56.4 จะเลี้ยงแบบประชาธิปไตย คือการเลี้ยงด้วยความรัก ให้ความอบอุ่น ส่งเสริมให้เด็กมีอิสระทางความคิด ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยพ่อแม่คอยให้เหตุผลส่งเสริมทำให้สิ่งที่ถูกต้อง ห้ามทำในสิ่งที่ผิด ผลการวิจัยพบว่าเป็นรูปแบบการเลี้ยงดูที่สัมพันธ์กับความเชื่อมั่นตัวเองของเด็ก ซึ่งส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง ดังนั้น จึงเชื่อว่าหากครอบครัวเลี้ยงดูเด็กสมาธิสั้นแบบประชาธิปไตย จะเอื้อต่อประสิทธิภาพของการดูแลรักษาได้ผลดีมากขึ้น

ส่วนรูปแบบการเลี้ยงดูอีก 3 รูปแบบที่พบในการศึกษาครั้งนี้ด้วยคือ การเลี้ยงดูแบบรักตามใจ เด็กทำตามสิ่งที่อยากทำไม่ต้องอยู่ในกฎเกณฑ์พบร้อยละ 5.7 การเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจควบคุมพ่อแม่กำหนดกฎเกณฑ์ ออกคำสั่งให้ทำตาม หากไม่ทำตามก็จะลงโทษพบร้อยละ 30.8 และการเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยไม่สนใจความเป็นอยู่ของลูก เด็กขาดความใส่ใจ ไม่ได้รับความช่วยเหลือพบร้อยละ 7.1

ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า การเลี้ยงดูที่มีความสัมพันธ์ในแง่ลบกับทักษะสังคมของเด็กสมาธิสั้นมากที่สุดคือ การเลี้ยงแบบปล่อยปละละเลย ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะเด็กขาดคำแนะนำที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาหรือการแก้ไขความขัดแย้ง อีกทั้งยังขาดแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตในสังคมจากผู้ที่ใกล้ชิด และสำคัญกับเด็กที่สุดคือ ครอบครัว

ทั้งนี้ ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีเพียงร้อยละ 31 เท่านั้นที่มีปัญหาสมาธิสั้นบกพร่องเพียงอย่างเดียว ที่เหลืออีกร้อยละ 69 จะมีปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้ การประสานของกล้ามเนื้อที่ไม่ดี ดื้อต่อต้าน เป็นต้น ดังนั้น หากเด็กสมาธิสั้นขาดทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกับสังคมด้วย อาจทำให้ปัญหาต่าง ๆ รุนแรงขึ้น และเกิดความเครียดในครอบครัวเพิ่มขึ้น

 

7 เทคนิคดูแลลูกสมาธิสั้น

 

1.ลดสิ่งเร้ารอบข้าง

พ่อแม่ควรจัดบ้านให้เรียบง่าย ไม่ควรมีลวดลายสีฉูดฉาด จัดที่เงียบสงบไว้ให้เด็กได้ทำงาน หรือทำการบ้าน ต้องห่างจากโทรทัศน์ไม่ให้มีเสียงเข้ามารบกวน พูดกับเด็กด้วยน้ำเสียงที่เบาๆ ไม่ตะโกน

 

2.เฝ้ากระตุ้น

เตือนเด็กเมื่อหมดเวลาเล่น หรือเตือนเมื่อต้องไปทำงาน เขียนข้อความสำคัญไว้ในที่ที่เด็กเห็นได้ง่าย ตั้งนาฬิกา หรือตั้งเครื่องจับเวลาให้เด็กเห็นชัด ให้เด็กรู้ระยะเวลาได้ดีขึ้น และตั้งใจทำงานให้เสร็จทันเวลา เวลาทำงานให้แบ่งงานให้สั้นลง โดยให้เด็กได้พักเป็นช่วง ๆ

 

3.หนุนนำจิตใจ

เด็กมักทำสิ่งต่างๆ ไม่สำเร็จ เพราะว่าได้รับแต่คำตำหนิจากผู้อื่น ทำให้หมดความมั่นใจในการกระทำสิ่งนั้นๆ เด็กจึงต้องการกำลังใจอย่างมากจากพ่อแม่ และคุณครู ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดมากกว่าที่จะจับผิด และเข้มงวดกับเด็ก หาจุดอ่อนของเด็กและช่วยเด็กหาวิธีแก้ไขจุดอ่อน ชมเด็กบ่อยๆ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมไปในทางที่ดี

 

4.เด็กที่สมาธิบกพร่อง

มักจะขาดความอดทน และเบื่อง่าย แต่หากมีรางวัลเป็นสิ่งจูงใจ เด็กจะรู้สึกท้าทาย และตั้งใจในการทำงานมากขึ้น โดยการให้รางวัล ควรให้แบบง่าย ๆ บ่อย ๆ มากกว่าที่ให้เด็กทั่วไป และต้องให้ในทันที ขั้นตอนการให้รางวัล ระบุพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นทดแทนพฤติกรรมปัญหา, ให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ดีในทุกครั้งที่เห็น, ใช้วิธีการให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ และหลังจากฝึกได้ 1-2 สัปดาห์ ควรเริ่มใช้การลงโทษแบบไม่รุนแรง เช่น Time out ตัดสิทธิ์ อดรางวัล

 

5.การพูดกับเด็ก

บอกกับเด็กสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าต้องการให้ทำอะไรในตอนนี้ หากไม่แน่ใจว่าเด็กฟังอยู่หรือเปล่า เข้าใจหรือไม่ พ่อแม่ควรให้เด็กทบทวนว่าสิ่งที่สั่ง หรือที่พูดไปคืออะไรบ้าง หากเด็กไม่ทำตามคำสั่ง พ่อแม่ควรใช้วิธีเดินเข้าไปหา จับมือ แขน หรือไหล่ สบตาเด็ก พูดสั้น ๆ จากนั้นให้เด็กพูดทวนคำสั่ง หากเด็กไม่ทำตามให้พาไปทำด้วยกัน หลีกเลี่ยงการบังคับ

 

6. นับสิ่งดี หาเวลาหยุดพักสั้น ๆ ในแต่ละวัน

เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า เด็กไม่ได้ตั้งใจทำตัวให้มีปัญหา แต่เด็กมีความผิดปกติในการทำงานของสมอง ทำให้คุมตัวลำบาก หยุดตัวเองได้ยาก และไม่มีใครอยากเป็นแบบนี้ ให้อภัยแก่เด็ก ตัวเราเอง และทุกคนที่อาจไม่เข้าใจในพฤติกรรมของลูก

 

7.มีขอบเขต มีตารางเวลา

หรือรายการสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้เด็กรับรู้ในขีดจำกัดของตัวเอง เรียงลำดับกิจกรรมให้ชัดเจน และแน่นอน เช่น เวลาตื่น เวลานอน เวลาทำการบ้าน อ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ตามใจเด็กมากเกินไป

 

ที่มา : 1 และ 2

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นอัจฉริยะ เก่ง ฉลาด นิสัยดี

9 วิธีเล่นกับลูก ฉลาดทั้งปัญญา อารมณ์ดี ช่วยลูกคิดเป็น ต่อยอดได้

เผยสาเหตุ ลูกก้าวร้าว ที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เคยรู้มาก่อน

แม่ปวดหัวหนัก ลูก 3 ขวบ งอแง ลูก 2 ขวบ ก้าวร้าว เอาแต่ใจ ปราบยังไงดีให้อยู่หมัด!

 

บทความโดย

Tulya