วิธีเริ่มอาหารเสริม สำหรับเด็ก เริ่มอย่างไรให้ลูกห่างไกลจากการแพ้อาหาร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่า วิธีเริ่มอาหารเสริม สำหรับลูกน้อยควรเริ่มอย่างไร เพราะเมื่อลูกยังเด็กนั้น การแพ้อาหาร เป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก หากไม่ทันสังเกต ก็อาจเป็นอันตรายแก่ลูกได้ วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาคุณพ่อคุณแม่มาดูกันว่า การเริ่มอาหารเสริมสำหรับเด็กควรเริ่มอย่างไร และมีวิธีสังเกตอาการแพ้อาหารของลูกได้อย่างไรบ้าง อย่ารอช้า ไปดูกันค่ะ

 

วิธีเริ่มอาหารเสริม สำหรับเด็ก

สำหรับวิธีการเริ่มอาหารเสริมสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันอาการแพ้ คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้

  • ป้อนอาหารทีละอย่าง : เมื่อลูกเริ่มทานอาหารอย่างอื่นได้นอกจากนม คุณแม่อาจตื่นเต้น และอยากให้เจ้าตัวน้อยได้ลองชิมอาหารที่หลากหลาย แต่การเริ่มอาหารหลายอย่างพร้อมกันจะทำให้ยากต่อการจะบอกได้ว่าลูกแพ้อาหารชนิดไหน ดังนั้น ควรเริ่มต้นป้อนอาหารทีละชนิดทุก 3-4 วัน และ สังเกตว่า ลูกแพ้อาหารนั้น ๆ หรือไม่
  • ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหาร : เริ่มด้วยข้าว ผัก ผลไม้ แล้วจึงตามด้วยเนื้อสัตว์ที่เหมาะสมกับอายุ ถ้าเป็นไปได้ควรให้เจ้าตัวน้อยได้กินอาหารที่คุณพ่อคุณแม่ทำเอง เพื่อความมั่นใจในความสดใหม่ และสะอาดค่ะ

 

อาการแพ้อาหารสังเกตอย่างไร?

ปฎิกิริยาที่เกิดจากการแพ้อาหารมักเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงหลังจากกินอาหารนั้น ๆ โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • ผิวเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือเกิดผื่น
  • ลมพิษ
  • มีอาการบวมบริเวณใบหน้า ลิ้น หรือ ริมฝีปาก

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบสัญญาณอาการแพ้อาหารข้างต้น ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการทดสอบอาการแพ้ Skin test

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกแพ้อาหารต้องทำอย่างไร เคล็ดลับการดูแลลูกแพ้อาหารในแต่ละช่วงวัย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การสะกิดผิวหนัง หรือ Skin Test คืออะไร ?

การนำสารสกัดของอาหารที่สงสัยว่าแพ้มาสะกิดที่ผิวหนัง สังเกตดูอาการนูนแดงที่ 15-20 นาที โดยการตรวจวิธีนี้ เด็กต้องหยุดยาแก้แพ้ต่าง ๆ อย่างน้อย 7 วันก่อนทำการทดสอบ หากมีลักษณะนูนแดง และสัมพันธ์กับอาหาร และเวลาที่กิน แสดงว่าแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ หรือเจาะเลือดเพื่อวัดระดับการแพ้ (Specific IgE) โดยแพทย์จะทดสอบกับอาหารที่เด็กมักจะแพ้ เช่น นมวัว ไข่แดง ไข่ขาว แป้งสาลี ถั่วเหลือง เป็นต้น หากผลตรวจไม่พบภาวะไวต่ออาหารแต่ละชนิด แนะนำให้เด็กสามารถทานอาหารเสริมได้ปกติที่บ้านถ้าอาการไม่รุนแรง แต่หากตรวจแล้วพบภาวะไวต่ออาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง แพทย์แนะนำให้มาทดสอบทานอาหารชนิดนั้น ๆ ภายในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม ผื่นอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ จึงไม่ควรจำกัดการกินอาหารของลูกโดยไม่จำเป็น หรือ เป็นการทำ Oral Food Challenge Test ในกรณีที่มีอาการรุนแรงและฉับพลัน

โดยแพทย์จะให้เด็กทานอาหารที่สงสัยว่าอาจจะแพ้ ด้วยชนิด และปริมาณที่เหมาะสม ค่อย ๆ ให้เด็กทานในช่วงเวลาหนึ่ง แล้วคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงจะทราบแน่ชัดว่าเด็กแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ หรือไม่ และหากมีอาการแพ้อาหารแสดงเป็นลักษณะใด รุนแรงแค่ไหน มีอาการแพ้ที่ปริมาณอาหารเท่าไหร่ และ แนะนำแนวทางในการปฏิบัติตัว นัดติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสมต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อดีของการทำ Oral Food Challenge Test

  • เป็นการทดสอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ภายในโรงพยาบาล ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และปลอดภัย
  • เมื่อทราบว่าเด็กแพ้อาหารชนิดใดแล้วก็ไม่จำเป็นต้องงดอาหารที่เสี่ยงทั้งหมด แต่งดเฉพาะที่แน่ใจแล้วว่าแพ้จริง ๆ เท่านั้น เพราะจะทำให้เด็กขาดสารอาหารโดยที่ไม่จำเป็นและเสียโอกาสที่ไม่ได้ทานอาหารนั้น ๆ ด้วย
  • ลดความกังวลของคุณพ่อคุณแม่และตัวเด็กเอง เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ชีวิตในสังคม และเตรียมความพร้อมก่อนเด็กเข้าโรงเรียน
  • หากพบว่า แพ้อาหารชนิดใดแล้ว แพทย์จะนัดติดตามอาการทุก ๆ 3-6 เดือน เพื่อประเมินโอกาสที่จะหายจากอาการแพ้อาหาร รวมถึงติดตามเรื่องการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารเสริมตามวัยสำหรับเด็ก มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การสังเกตอาการ แพ้อาหารอย่างรุนแรง

อาการของภาวะแพ้รุนแรงสามารถเกิดอาการได้ทุกระบบของร่างกาย โดยเฉพาะผิวหนัง ทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือด ซึ่งควรต้องสงสัย หากอาการต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นในเวลาเป็นนาทีถึงชั่วโมงหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้

  1. อาการของระบบหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ความดันโลหิตต่ำ ช็อก
  2. อาการของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว
  3. อาการระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หายใจเสียงดัง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  4. อาการของระบบผิวหนัง ได้แก่ ผื่นลมพิษ หนังตาบวม ปากบวม

โดยผู้ป่วยมักมีอาการในระบบต่าง ๆ ของร่างกายเหล่านี้ อย่างน้อย 2 ระบบขึ้นไป เช่น เป็นลม ร่วมกับมีผื่นขึ้น หรือมีแค่ความดันโลหิตต่ำเพียงอย่างเดียวหลังจากไปสัมผัสสารที่เคยมีประวัติแพ้ ก็จะได้รับการวินิจฉัยจากคุณหมอว่า มีภาวะแพ้รุนแรงได้ ซึ่งต่างจากอาการแพ้ธรรมดาที่ผู้ป่วยมักมีอาการเพียงระบบใดระบบหนึ่ง และอาการไม่รุนแรงค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารตามวัย เด็กแต่ละเดือนกินอะไรได้บ้าง ถ้าลูกแพ้อาหารจะดูยังไง

 

 

อาหารกลุ่มเสี่ยงต่ออาการแพ้มากที่สุด

อาหารบางชนิด เสี่ยงต่อการแพ้มากกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ คุณแม่ควรเริ่มหลังจากที่กินอาหารเสริมอื่น ๆ ได้ และ ไม่มีความผิดปกติ และควรหยุดกินอาหารต่อไปนี้ทันที หากมีอาการผิดปกติ และ ปรึกษากุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ทันที

  • นมวัว
  • ไข่
  • ถั่วเหลือง
  • ถั่วลิสง
  • ข้าวสาลี
  • วอลล์นัท หรืออัลมอนด์
  • อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา

ทั้งนี้ กุมารแพทย์มักแนะนำให้หลีกเลี่ยงการกินนมวัวครบส่วน (นมสดบรรจุกล่อง) ในขวบปีแรก เนื่องจาก มีผลต่อการทำงานของไต และมีธาตุเหล็กต่ำ หลีกเลี่ยงถั่วที่เป็นเม็ด เนื่องจาก อาจเกิดอันตรายจากการสำลักเข้าหลอดลม รวมถึง หลีกเลี่ยงอาหารทะเล ยกเว้นปลา จนกว่าจะอายุ 1 ปี หากคุณแม่สงสัยเกี่ยวกับการเริ่มต้นอาหารและการแพ้อาหารของลูกควรปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 เมนูเด็ก 3 ขวบ อาหารรสชาติอร่อย ทำง่าย กินง่าย ลูกชอบ !

อาหารเสริมเพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ที่ดีที่สุด15 ประเภท ภูมิคุ้มกันแข็งแรง

ข้าวบดอาหารเสริม แม่ควรเตรียมให้ลูกเมื่อไร? และมีวิธีทำอาหารด้วยตัวเองอย่างไร?

ที่มา : theindusparent, โรงพยาบาลพญาไท