วิธีฝึกลูกพลิกคว่ำ (Tummy Time)
วิธีฝึกลูกพลิกคว่ำ (Tummy Time) เป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามค่ะ เพราะการให้ลูกได้พลิกคว่ำ จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อคอ มือ แขน ขา หรือระบบประสาท ด้วยการใช้หน้าท้องของตัวเอง ทั้งยังเป็นกิจกรรมสนุกๆ ที่เรียกเสียงหัวเราะให้กับทารกด้วยค่ะ โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือ ช่วงที่น้องตื่นตัวเต็มที่ หรือหลังจากที่อาบน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมค่ะ
เริ่มฝึกลูกคว่ำอย่างไร
- เริ่มจากให้ลูกนอนคว่ำบนที่นอน แล้วปล่อยให้ลูกน้อยได้ลองฝึกขยับด้วยตัวเองค่ะ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้อยได้เสริมสร้างความแข็งแรงของศีรษะ ลำคอ ลำตัว กล้ามเนื้อหน้าท้องค่ะ ก่อนที่จะจับลูกพลิกมาเหมือนเดิม
- เมื่อลูกน้อยเริ่มประคองตัวเองได้ คุณแม่ลองปล่อยให้ลูกน้อยนอนคว่ำ ประมาณ 1-2 นาที วันละ 2-3 ครั้ง หากลูกน้อยสามารถยกศีรษะได้นานขึ้น แนะนำให้ปล่อยให้ลูกน้อยพลิกค่ำครั้งละ 10-15 นาทีได้ค่ะ
จับลูกพลิกคว่ำ (Tummy Time)
ลูกไม่ยอมพลิกคว่ำควรทำอย่างไร
หากพ่อแม่จับลูกพลิกคว่ำแล้ว ลูกไม่มีอาการที่จะยกศีรษะขึ้น หรือเล่นได้ไม่นาน คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีเหล่านี้เข้าช่วย
1. ใช้ของเล่นล่อ:
ให้พ่อแม่วางของเล่นที่ลูกชอบไว้ข้างหน้า โดยให้มีระยะห่างที่ลูกสามารถเอื้อมไปจับได้ค่ะ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวร่างกาย และฝึกการยกแขนและยกหัวขึ้นด้วย
2.ใช้หนังสือภาพ:
ให้คุณพ่อคุณแม่เปิดหนังสือภาพให้ลูกดู พร้อมๆ กับอ่านนิสานหรือพูดคุยกับลูก วิธีนี้จะช่วยดึงดูดความสนใจ และช่วยให้ทารกคว่ำได้นานยิ่งขึ้นค่ะ
ฝึกลูกพลิกคว่ำ (Tummy Time)
3.ใช้กระจก:
การใช้กระจกว่างไว้ด้านหน้าของทารกจะช่วยให้น้องเห็นภาพของตัวเองในกระจก และจะเกิดความสนใจเมื่อเห็นภาพตัวเองอยู่ข้างในกระจกค่ะ
4.พูดคุยกับลูก:
โดยที่คุณแม่คุณพ่อนอนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับลูกในระดับสายตา แล้วลองพูดคุยหรือร้องเพลงให้ลูกน้อยฟัง ระหว่างนั้นอาจจะลูบหลัง หรือจับมือลูกเพื่อให้กำลังลูกน้อยด้วยค่ะ
5.นำลูกมาพาดที่ขา:
หากลูกนอนราบที่พื้นแล้วรู้สึกไม่ชอบใจ คุณแม่อาจนำลูกน้อยมาพาดบริเวณขาของตัวเอง แล้วลองลูบที่หลังน้องดูนะคะ หรือจะใช้ผ้าลองเพื่อช่วยพยุงตัวน้องค่ะ
การให้ลูกคว่ำนอกจากจะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย การเคลื่อนไหวร่างกายที่ดีแล้ว ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกมีศีรษะที่แบน หรือเบี้ยวด้วยค่ะ หากคุณแม่อยากให้ลูกมีศีรษะที่สวย หัวทุย ต้องจับลูกคว่ำด้วยนะคะ
ที่มา: raisingchildren
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ตารางการนอนทารกแรกเกิด – 15 เดือน ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ นอนกี่ครั้งต่อวัน
ตารางอาหารทารกขวบปีแรก ลูกน้อยในแต่ละวัยควรกินอะไร เท่าไหร่ ถึงจะพอดี?
ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารก เกิดอะไรขึ้นกับลูกบ้าง แม่มือใหม่ต้องทำยังไง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!