ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด พักฟื้นตัวที่บ้านยังไง ให้แผลผ่าตัดสมานตัวได้เร็ว

หลังคุณแม่ออกจากห้องคลอดจะทำการพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล อย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้คุณหมอได้คอยดูแลตรวจเช็กร่างกายคุณแม่หลังคลอด แต่หลังจากกลับบ้านแล้วคุณแม่ต้อง ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ยังไงไม่ให้เจ็บแผลและทำให้แผลหายได้เร็ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีดูแลตัวเอง หลังผ่าคลอด พักฟื้นตัวที่บ้านยังไงให้แผลผ่าตัดสมานตัวได้เร็ว เพราะหลังผ่าคลอดใหม่ ๆ คุณแม่อาจจะมีอาการปวดตามมา ตั้งแต่ตอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล คุณหมอจะดูแลควบคุมอาการปวดหลังจากการผ่าตัด ซึ่งอาจต้องให้ยาแก้ปวดทางสายน้ำเกลือ คอยเฝ้าระวังการติดเชื้อของแผลผ่าตัด การเคลื่อนไหว รวมทั้งปริมาณน้ำที่ดื่ม และการทำงานของกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของคุณแม่ที่ต้อง ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด กันแล้วล่ะ

 

กิจวัตรประจำวันหลังผ่าคลอด

หลังจากผ่าคลอดทางหน้าท้อง คุณแม่ควรพลิกตัวบ่อย ๆ เพื่อช่วยให้ลำไส้ฟื้นตัวเร็วขึ้นและลดอาการท้องอืด พยาบาลจะเข้ามาวัดความดันโลหิตทุกๆ 30 นาที ในระยะแรกหลังคลอด ถ้ารู้สึกเจ็บหรือปวดแผล ควรแจ้งพยาบาลเพื่อที่จะให้หมอสั่งยาลดปวด คุณแม่สามารถให้น้ำนมลูกได้เลยเมื่อคุณแม่พร้อม

  • วันแรก หลังผ่าคลอดคุณแม่ควรขยับตัวให้เร็วที่สุดหลังคลอด เช่น ลุกนั่ง หรือยืนข้าง ๆ เตียง แต่ถ้ามึนศีรษะ ควรนอนราบบนเตียง คุณแม่อาจจะเดินไปรอบ ๆ ห้อง เพื่อป้องกันท้องอืด และทำให้ลำไส้ได้ขยับและกลับมาทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้น และจะช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็ว
  • วันที่ 2 เป็นต้นไปคุณแม่อาจจะนั่งหรือยืนได้เอง อย่างไรก็ดี คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บแปลบที่แผลผ่าตัดได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ หากไอ ควรใช้มือหรือหมอนกดที่แผล หายใจลึก ๆ กลั้นไว้ก่อน แล้วจึงค่อยไอออกมาแรงๆ 2 - 3 ครั้งเพื่อกำจัดเสมหะ

 

8 วิธีดูแลตัวเอง หลังผ่าคลอด มาดูกันว่า 8 วิธีนั้นมีอะไรบ้าง ?

1. คุณแม่ควรพยายามลุกขึ้นเดิน

เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวเพื่อจะได้ช่วยให้แผลผ่าตัดสมานตัวได้เร็วขึ้น แต่ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ควรหลีกเลี่ยงการยกของด้วยท่าย่อตัว หรือ ยกของที่น้ำหนักมากกว่าน้ำหนักลูกน้อย

 

2. ใช้ผ้าพันบริเวณหน้าท้อง

การใส่ผ้ารัดหน้าท้อง จะช่วยในเรื่องอาการเจ็บแผลหลัง การผ่าคลอด และ กระชับบริเวณแผล เพื่อให้แผลสมานติดกันได้ดี คุณแม่ สามารถเริ่มใส่ได้ตั้งแต่หลังคลอดประมาณ 1 วัน เพื่อช่วยให้เกิดการกระชับตรง ตำแหน่งแผลผ่าคลอดล็อคไว้ ไม่ให้หน้าท้องโยนตัวไปมาเวลาที่เคลื่อนไหว ใส่ในตอนทำกิจกรรม แม้กระทั่งตอนนอนก็ใส่ได้ เพราะขั้นตอนในการสมานแผลต้องใช้เวลามากกว่า แผลผ่าคลอดจะติดกันสนิทอาจใช้เวลา 2 - 3 เดือน ถ้าใส่เป็นประจำทุกวันในระยะยาวจะช่วยทำให้หน้าท้องกระชับได้ง่ายขึ้น มดลูกเข้าอู่เร็ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เช็กด่วน 7 สัญญาณใกล้คลอด พร้อมเคล็ดลับดูแลร่างกายหลังคลอด แข็งแรงไว เบาใจเรื่องแผลเป็นจากการผ่าคลอด

 

3. ดื่มน้ำให้มาก

ดื่มทั้งน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือน้ำซุปต่าง ๆ ให้ได้ปริมาณอย่างน้อย 7 - 10 แก้วต่อวัน การดื่มน้ำช่วยป้องกันอาการท้องผูกหลังคลอดได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ คลอดลูกแบบผ่าตัด หลังคลอดอาจมีอาการท้องผูกซัก 1 - 2 อาทิตย์ เพราะลำไส้อาจจะคืนสภาพ ทำงานปกติได้ช้า อันเป็นผลเนื่องมากจากการผ่าตัด และ กลัวการเบ่งที่อาจทำให้แผลกระทบกระเทือน น้ำจะช่วยให้กากอาหารในลำไส้มีความอ่อนตัว สามารถเคลื่อนไปตามลำไส้ได้สะดวก และ ทำให้ถ่ายง่ายขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4.ใช้ยาบรรเทาปวดเท่าที่จำเป็น

โดยแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยา พาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดแผล ซึ่งยาแก้ปวดส่วนใหญ่จะปลอดภัยกับการให้นมลูก แต่ทางที่ดีหากคุณแม่ปวดแผลไม่มาก เลี่ยงที่จะไม่กินยาได้เป็นดีที่สุด

 

5. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

ถ้าหากคุณแม่อยากให้แผลผ่าคลอดสมานตัวเร็ว ก็ควรอดใจกับการกุ๊กกิ๊กหลังผ่าคลอดไปซักประมาณ 4 – 6 สัปดาห์หลังจากผ่าคลอดก่อน เพื่อความปลอดภัยของแผล ถ้าหากมีเซ็กส์เร็วเกินไปหลังจากผ่าคลอด อาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อและทำให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดได้เนื่องจากการที่แผลยังไม่หายสนิท

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

6. หลีกเลี่ยงการขับรถอย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังผ่าคลอด

เนื่องจากแผลผ่าคลอดนั้นจะอยู่บริเวณตรงกับเข็ดขัดนิรภัยพอดี การไปเสียดสีหรือหากมีการเบรกรถอย่างกะทันหันอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่แผลซ้ำได้

 

7. พักผ่อนให้มาก ๆ

ไม่มีอะไรจะดีไปเท่ากับการให้ร่างกายหลังคลอดได้พักผ่อนเยอะ ๆ เท่าที่เป็นไปได้ หลังจากออกจากโรงพยาบาล โดยทั่วไปประมาณ 5 - 6 สัปดาห์ ร่างกายคุณแม่ก็เริ่มเข้าที่กลับคืนเข้าสู่สภาพปกติ สามารถประคับประคองและช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง คุณแม่ควรได้พักผ่อน กินอาหารย่อยง่าย รสไม่จัด ดูแลตัวเองหลังคลอดดีก็จะช่วยทำให้แผลหายเร็ว ๆ

 

8.เรื่องอาหาร

คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ แล้วจึงค่อย ๆ เริ่มจิบน้ำ หรือของเหลว หรือ
อาหารใส ๆ เช่น ซุป หรือน้ำแกงใส ๆ ทีละนิด ก่อนจะค่อยเพิ่มเป็นอาหารเหลว หรือโจ๊ก (ที่โรงพยาบาลจัดให้) หลังจากนั้นจึงค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารย่อยง่ายรสจืด พยายามเลี่ยงการดื่มนมหรือน้ำอัดลม เพราะจะทำให้ท้องอืด คุณแม่ควรงดอาหารรสจัด อาหารหมักดอง แอลกอฮอล์ กาแฟ ชา และน้ำอัดลมหรือมีคาเฟอีน

 

แผลผ่าคลอดเป็นอย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว การผ่าตัดศัลยกรรมจะทำให้เกิดรอยแผลแก่ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด เช่นเดียวกับสตรีมีครรภ์ส่วนใหญ่ที่ผ่าคลอด โดยมักปรากฏรอยเย็บแผลยาว 4 - 6 นิ้ว เป็นแนวนอนตามแนวขอบกางเกงชั้นในหรือแนวตั้งใต้สะดือ ขึ้นอยู่กับลักษณะการลงแผลตอนผ่าคลอด ในสัปดาห์แรกหลังจากผ่าคลอด ผิวชั้นนอกของแผลจะเริ่มติดกัน จากนั้นแผลจึงปิดสนิทและเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงอยู่นานประมาณ 6 เดือน ก่อนจะค่อย ๆ จางลงเป็นสีขาวและเรียบขึ้น ส่วนแผลที่กล้ามเนื้อท้องและมดลูกอาจใช้เวลานานหลายเดือนจึงจะหายดี ทั้งนี้ ผู้ผ่าคลอดบางรายอาจเกิดแผลเป็นคีลอยด์ แต่พบได้ไม่บ่อยนัก อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้ารับการผ่าคลอดควรหมั่นดูแลรักษาแผลให้ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผล โดยหากสังเกตพบสัญญาณของการติดเชื้อดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

 

  • เจ็บบริเวณแผลหรือมดลูกมากกว่าปกติ
  • เกิดรอยแดง บวม และแสบร้อนที่แผล
  • มีหนองสีเขียวหรือเหลืองไหลออกมาจากแผล
  • ตกขาวมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดปริมาณมากหรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ออกมาด้วย
  • ขาบวมหรือเจ็บ
  • ไข้ขึ้นสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ควรดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

คุณแม่จะได้รับการดูแลแผลหลังผ่าคลอด โดยแพทย์จะทำแผลให้เรียบร้อย และเปลี่ยนผ้าพันแผลให้ในกรณีที่มีเลือดซึมออกมาจากแผล นอกจากนี้ คุณแม่ควรดูแลแผลด้วยตนเองตามคำแนะนำโดยปฏิบัติตามดังนี้

 

  • ไม่ยกของหนักในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังผ่าคลอด
  • หมั่นล้างแผลและทำความสะอาดผิวอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผิวบริเวณเชิงกราน
  • ล้างมือก่อนสัมผัสแผลหรือทำแผลทุกครั้ง
  • ไม่ดึงปลายไหมเย็บแผลที่โผล่ออกมา ควรแจ้งแพทย์ให้เล็มปลายไหมให้ เพื่อป้องกันไหมเย็บแผลเกี่ยวเสื้อผ้า
  • อาบน้ำฝักบัวแทนการแช่น้ำในอ่าง
  • อาบน้ำด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์อ่อน และไม่ถูสบู่ เจลอาบน้ำ หรือทาแป้งลงบนแผลโดยตรง
  • ซับแผลให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาด
  • สวมเสื้อผ้าและกางเกงชั้นในที่หลวม ไม่รัดแน่น เพื่อป้องกันการเสียดสีที่แผล
  • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากินหรือยาทาสำหรับรักษาแผลผ่าคลอดทุกครั้ง
  • คุณแม่อาจต้องหลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือเครื่องสำอางบางชนิดระหว่างอยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกได้
  • หมั่นเช็ดบริเวณผิวหนังที่เป็นรอยพับเหนือแผลผ่าตัดให้แห้งอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้บริเวณดังกล่าวชื้นเหงื่อ
  • ควรพบแพทย์ทันทีในกรณีที่พบสัญญาณการเกิดแผลติดเชื้อ เช่น เกิดรอยแดงที่แผล มีไข้ขึ้นสูง เป็นต้น
  • หลังแผลแห้งปิดสนิท ทาวิตามินอีที่แผลเพราะวิตามินอีจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินอีเข้มข้นสูงเป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล, อัลเลียม ซีปาจะช่วยลดอาการอักเสบ และซิลิโคนจะช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการเกิดแผลเป็นคีลอยด์

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : อาหารบำรุงหลังผ่าคลอด / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 56

 

ป้องกันแผลผ่าคลอดติดเชื้ออย่างไร

หลังจากผ่าคลอด คุณแม่ควรหมั่นดูแลแผลเพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ ดังนี้

 

  • ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ รวมทั้งซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลแผลให้เข้าใจ
  • หากได้รับยาปฏิชีวนะ ควรรับประทานจนครบกำหนด ไม่หยุดยาหรือลดปริมาณยาเองโดยปราศจากคำแนะนำจากแพทย์
  • ทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าพันแผลอย่างสม่ำเสมอ
  • ควรซักถามแพทย์เกี่ยวกับคำแนะนำในการอุ้มและให้นมบุตร เพื่อเลี่ยงแผลถูกกดทับขณะอุ้มหรือให้นม
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นหรือทาครีมบริเวณแผลผ่าคลอด
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังบริเวณแผลผ่าตัดเสียดสีกัน
  • ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายทันที หากรู้สึกไม่สบายหรือมีไข้
  • รีบไปพบแพทย์ทันที ในกรณีที่สงสัยว่าแผลติดเชื้อ

 

นอกจากนี้ ผู้ที่วางแผนมีบุตรและต้องการผ่าคลอดมีโอกาสเตรียมป้องกันแผลติดเชื้อได้ โดยดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อลดความเสี่ยงนี้ ได้แก่ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ รักษาปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ให้หายดีก่อนตั้งครรภ์

 

เมนูอาหารแม่หลังคลอด

ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ แน่นอนว่า คุณแม่หลายคน จะต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินที่ต้องเลือกพอสมควร ทานแต่ของที่มีประโยชน์ ซึ่งมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงทั้งสุขภาพของคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ จนถึงเวลาคลอด คุณแม่หลายคน อาจลืมให้ความสำคัญกับการดูแลร่างกายหลังคลอด เลยกินอาหารที่ไม่ค่อยได้บำรุงหลังพักฟื้นสักเท่าไหร่ แต่รู้ไหมว่า คุณแม่หลังคลอด ก็ควรเลือกทานอาหารเพื่อบำรุงให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งอาหารที่เหมาะสม จะต้องมีวิตามิน และแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบสำคัญ เรามาดู 3 เมนูอาหารแม่หลังคลอด ที่ดีต่อสุขภาพกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

 

1. แกงจืดตำลึง

คุณแม่หลังคลอด ไม่ควรทานอาหารรสจัดมาก แกงจืดตำลึง จึงเป็นทางเลือกที่ดี เพราะใบตำลึง มีเส้นใยอาหารปริมาณมาก ช่วยในกระบวนการบำรุงน้ำนม บำรุงเลือด บำรุงสายตา บำรุงระบบประสาท และยังมี มีวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 3 ที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ โปรตีน เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว และยังมีแคลเซียม บำรุงกระดูกและฟัน และมีธาตุเหล็กด้วย

 

2. ไก่ผัดขิง+ แกงเหลืองมะละกอ

อีกหนึ่งเมนูที่ทำได้ง่าย ซึ่งขิง มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนม เพิ่มพลังงานในร่างกาย เร่งน้ำนมได้ดี ส่วนมะละกอ เป็นตัวช่วยปลุกระบบขับถ่าย ผสมกับความเปรี้ยวของแกงเหลือง จึงช่วยขับถ่ายได้คล่องตัวขึ้น

 

3. รังนกตุ๋นแปะก๊วย

อาหารเสริมสำหรับคุณแม่หลังคลอด เพราะรังนก สามารถบำรุงให้ฟื้นตัวเร็วขึ้นได้ เมนูทำเองง่ายๆแบบนี้ ก็มีประโยชน์มากเช่นกัน รังนก มีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตต่างๆ มีสารอาหารที่พบได้ในนมแม่ โดยสารไซอะลิค แอซิดมีส่วนช่วยสร้างเซลล์ผิวใหม่ทดแทนเซลล์เก่า ทำให้ผิวพรรณสดใส ดูอ่อนกว่าวัย ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน และ ระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นการหลั่งสารภูมิต้านทานต่างๆ รวมถึง ช่วยเพิ่มการทำงานของสมอง ให้มีความจำดีขึ้นด้วย ส่วนแปะก๊วย มีวิตามินบี และ แร่ธาตุสูง เพิ่มพลังงานให้ร่างกาย ช่วยให้คุณแม่อารมณ์ดีขึ้นด้วย

 

 

แหล่งอ้างอิงจาก : www.samitivejhospitals.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เตรียมรับมือ 11 เรื่องจริงของร่างกาย หลังคลอดลูก ที่แม่ต้องเผชิญ

หลังคลอดบุตรแม่ควรพักฟื้นประมาณกี่วัน ?

อาหารแม่หลังผ่าคลอด สารอาหารแบบไหนที่แม่หลังผ่าคลอดควรได้รับ?

บทความโดย

Tulya