ภายหลังจากที่เพื่อนบ้านหนึ่งในสมาชิกเฟสบุ๊คนามว่า “ซ้อ นุ๊ก” ได้โพสต์ขอความช่วยเหลือผู้ใจบุญผ่านเพจปลวกแดง City ก็ได้มีผู้คนให้ความสนใจเข้าช่วยเหลือและร่วมกันแชร์เป็นจำนวนมาก
โรคท้าวแสนปม
ทารกแรกเกิด แม่ป่วยเป็น โรคเท้าแสนปม
จากการสอบถามเจ้าของโพสต์ทราบว่า ตนอยู่ในหมู่บ้านเดียวกับน้องแตงกวา รู้สึกสงสารน้องที่คุณแม่ไม่มีน้ำนมมากพอที่จะให้น้องได้ และคุณแม่ของน้องยังมาป่วยเป็นโรคท้าวแสนปมอีก จึงอยากวอนขอผู้ใจบุญเข้าให้การช่วยเหลือ และบริจาคข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ของเด็กอ่อน รวมถึงนมผงยี่ห้อเนสท์เล่ บีบี ช่วงวัยแรกเกิดถึงหนึ่งปีที่น้องกำลังทานอยู่ให้แก่น้องด้วย
แม่ป่วยเป็น โรคเท้าแสนปม เครดิตรูปภาพจาก Bella Bella หนึ่งในสมาชิกเฟสบุ๊คที่ได้ให้การช่วยเหลือน้อง
โดยน้องแตงกวาหรือเด็กหญิงพิมชนก วงสิงห์ อาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 16/2 ม.7 ต.หนองกุงแก้ว อ.ศรีบุญเรือง. จ.หนองบัวลำภู 39180 หากผู้ใดสนใจเข้าช่วยเหลือสามารถส่งข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นไปให้ได้ตามที่อยู่ข้างต้น หรือสามารถโอนเงินได้ที่
บัญชีธนาคารออมสิน
ชื่อบัญชี: นายแดง วงสิงห์
เลขที่บัญชี: 020 178 042 311
มาทำความรู้จักกับโรคท้าวแสนปม
โรคท้าวแสนปม หรือ Neurofibromatosis (NF) เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติที่กระดูก ระบบประสาท เนื้อเยื่ออ่อน และผิวหนัง ความผิดปกติต่าง ๆ จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในรายที่รุนแรงจะมีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท และอาจเกิดเป็นมะเร็งได้
โรคท้าวแสนปมแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ชนิดแรกเรียกว่า Neurofibromatosis 1 (NF-1) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด บางครั้งอาจเรียกว่า Peripheral NF ส่วนชนิดที่สอง เรียกว่า Neurofibromatosis 2 (NF-2)หรือ Central NF โรคท้าวแสนปมชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบบ่อย พบประมาณ 1 ใน 2,500 ถึง 3,500 คน สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โดยพบอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ใน 7 อาการ
- ปานสีกาแฟใส่นมอย่างน้อย 6 ตำแหน่ง
- พบก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง 2 ตุ่มขึ้นไป
- พบกระที่บริเวณรักแร้ หรือขาหนีบ
- พบเนื้องอกของเส้นประสาทตา
- พบเนื้องอกของม่านตา 2 แห่งขึ้นไป
- พบความผิดปกติของกระดูก
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
และในปัจจุบันพบว่า ที่สถาบันโรคผิวหนังพบผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคท้าวแสนปมชนิดที่ 1 เฉลี่ย 10-15 รายต่อปี หรือจำนวนคน 20,000 คนจากประชากรทั้งประเทศ ส่วนโรคท้าวแสนปมชนิดที่ 2 นั้น พบได้น้อยกว่าคือ ราว 1 ใน 50,000 ถึง 120,000 คน จะไม่มีอาการทางผิวหนัง สามารถวินิจฉัยโรคได้ โดยตรวจพบเนื้องอกของหูชั้นใน และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
ที่มา: Bangkokhealth เพจปลวกแดง และ ซ้อ ‘นุ๊ก’
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ยาต้องห้ามสำหรับแม่ให้นมลูก
แม่อ้วนมีผลต่อการให้นมลูก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!