วอนสังคมช่วยเหลือเด็กชาย 7 ปี ป่วยธาลัสซีเมีย และม้ามโต ไร้เงินรักษา
โลกโซเชียลพากันแชร์และพร้อมใจกันให้การช่วยเหลือเด็กชายวัย 7 ปี ป่วยธาลัสซีเมีย โรคม้ามโต และโรคหลอดเลือดคอโป่งพอง และปราศจากเงินรักษา
หลังจากที่มีการแชร์เรื่องราวของเด็กชายสิรภัทร สาวินัย อายุ 7 ปี ผ่านเฟสบุ๊คของ นายอั๋น น้องอ๋อม ร๊ากคุนนู๋กิ๊ก โดยมีข้อความว่า
ช่วยกันแชร์หน่อยคับ …!!!
เด็กชายสิรภัทร สาวินัย อายุ7 ปี
น้องเรียนอยุ่ที่โรงเรียนบ้านโนนม่วง ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพช ร
เมื่อวานพอดีผมได้ไปเข้าพบ ผอ.โรงเรียนจะไปติดต่อขอมอบกีต้าของบริษัทให้กับโรงเรียน พอดี ผอ.ให้บอกว่าเกิดเหตุมีเด็กอวจเป็นเลือดออกมา พึ่งเรียกกู้ภัยมาชาวยนำส่งโรงพยาบาล เห็นรูปที่อาจารย์เอาให้ดูเลยสงสารอยากอยากให้น้องหายครับ
สอบถามทางอาจารย์มากะพอจะรู้ว่าน้องเค้าป่วยเป็น “โรคทารัสซีเมีย” และ “โรคม้ามโต” และ “หลอดเลือดคอโปร่งพอง”
น้องอาศัยอยู่กับยาย พ่อแม่แยกทางกัน บ้านยากจน เวลาหมอนัดไปโรงพยาบาลก็ไม่ได้ไปเพราะไม่มีเงิน แล้วถ้าน้องไม่ได้ไปหาหมอตามนัดน้องกะจะมีอาการแบบนี้ อวกเป็นเลือดก้อนๆออกมา น้องต้องไปรัษาตัวที่โรงพยาบาลที่พิษณุโลก มันต้องใช้เงินในการเดินทางและค่ารักษาเยอะ ยายกะไม่ค่อยมี เลยอยากจะขอวานผู้ใจบุญที่อยากจะช่วยเหลือน้องสิรภัทร ให้หายจากอาการที่เป็นอยู่แล้วกลับมาเรียนกับเพื่อนๆ ทั้งนี้สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดอาการ กับผู้ปกครองน้องได้นะรับ
@คุณยายน้องสิรภัทร
โทร 084-6194496
@ผอ.โรงเรียนบ้านโนนม่วง
โทร 086-4087101 อ.จุฑารัตน์
—– ทั้งนี้ก่อนที่ผมจะเอาเรื่องและประวัติน้องมาเผยแพร่ได้ขออนุญาติทั้งทางผู้ปกครองและโรงเรียนที่น้องศึกษาอยู่มาแล้วนะครับ—–
@ช่วยกันแชร์เรื่องน้องด้วยนะคับ เพื่อเด็กจะได้มีอนาคตเป็นรั้วของชาติต่อไป@ ขอบพระคุณเป็นอย่างมากจากผู้ปกครองน้องสิรภัทร
ล่าสุดได้เลขบัญชีของน้องแล้วนะคะ ท่านใดที่สนใจอยากจะช่วยค่ารักษาพยาบาลก็สามารถโอนเงินไปได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี่เลยค่ะ
ธนาคารกรุงไทย
ชื่อบัญชี น.ส. พรทิพย์ ครุชพันธ์ เพื่อ ด.ช. สิรภัทร สาวินัย
บัญชีเลขที่ 620-0-83533-0
มารู้จักโรคธาลัสซีเมียกันค่ะ
โรคธาลัสซีเมีย
ในขณะนี้บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไปคงได้ยินคำว่า โรคโลหิตจางโรคธาลัสซีเมียกันบ่อยขึ้น โรงเรียนแพทย์ต่างๆ และกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับโรคนี้เป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นโรคที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมากที่สุดในประเทศไทย ประมาณว่ามีคนไทยเป็นพาหะของโรคนี้ ร้อยละ 30 ของประชากรหรือประมาณ 18 – 20 ล้านคน ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคมาจากการที่เกิดจากความผิดปกติของยีนในการควบคุมการสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นสารสำคัญในเม็ดเลือดแดง
ยีน หมายถึงอะไร
ยีนต่าง ๆ ก็คือสารพันธุกรรมที่ควบคุมตัวของเราให้ทำงานได้ตามปกติและอยู่บนโครโมโซม คนปกติมีโครโมโซม 23 คู่ (ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากบิดาทางตัวอสุจิและจากมารดาทางไข่) ถ้าบิดาหรือมารดามีความผิดปกติก็จะมีโอกาสถ่ายทอดให้บุตรได้ ถ้าได้รับมาจากคนใดคนหนึ่งเท่านั้นเราเรียกว่าเป็นพาหะของโรค จะมีอาการเหมือนคนปกติ ไม่มีอาการซีด ตับม้ามโต แต่ถ้ารับมาจากทั้ง 2 คน และเป็นแบบที่เสริมความรุนแรงซึ่งกันและกันก็จะเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ซึ่งมีอาการซีด ตับม้ามโต อาจจำเป็นต้องให้เลือดเป็นระยะๆ บางชนิดทารกอาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ธาลัสซีเมียแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. อัลฟา – ธาลัสซีเมีย (a – thalassemia)
2. เบต้า – ธาลัสซีเมีย (b – thalassemia)
ถ้าผู้ใดรับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมชนิด อัลฟา -ธาลัสซีเมียหรือ เบต้า -ธาลัสซีเมียมาจากบิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายเดียว ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นพาหะอัลฟาธาลัสซีเมีย พาหะฮีโมโกลบินคอนแสตนสปริงค์ พาหะเบต้าธาลัสซีเมีย หรือพาหะฮีโมโกลบินอี แต่ถ้าผู้ใดได้รับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมชนิด อัลฟา – ธาลัสซีเมีย มากจากทั้งบิดาและมารดา หรือชนิด เบต้า – ธาลัสซีเมีย มากจากทั้งบิดาและมารดา ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นโรคธาลัสซีเมีย เช่น โรคฮีโมโกลบินเฮช โรคฮีโมโกลบินบาร์ท โรคเบต้าธาลัสซีเมีย หรือ โรคเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบิน เป็นต้น
ผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคหรือพาหะ คือ
1. ตัวซีด และอาจตรวจพบตับม้ามโตร่วมด้วย
2. ตัวซีดลงอย่างรวดเร็วเมื่อมีการป่วยไข้อย่างรุนแรง
3. มีประวัติคนในครอบครัวตัวซีด ตับม้ามโต
4. เคยมีบุตรเป็นพาหะ หรือโรคธาลัสซีเมีย
5. เคยมีบุตรเสียชีวิตในครรภ์เนื่องจากภาวะทารกบวมน้ำ
6. ตรวจพบขนาดเม็ดเลือดแดงเล็กกว่าปกติ (MCV < 80 fL.)
7. ตรวจเลือด Osmotic fragility test (OF) ให้ผลบวก Dichlorophenolindolphenol precipitation test (DCIP) ให้ ผลบวก
หากท่านมีข้อบ่งชี้อาการข้อใดข้อหนึ่งดังที่กล่าวมา ก็ควรตรวจวินิจฉัยยืนยันว่าเป็นโรคหรือพาหะโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ รวมถึงคู่ที่กำลังจะแต่งงาน และวางแผนเพื่อมีบุตรหรือกำลังตั้งครรภ์อ่อน ๆ ก็ควรได้รับการตรวจด้วยเช่นกัน เพื่อประเมินตัวเองและโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือพาหะของบุตรในครรภ์ ซึ่งสูติแพทย์มีวิธีการตรวจเพื่อให้ทราบว่าบุตรในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงหรือไม่ จะได้มีการวางแผนการดูแลบุตรในครรภ์ร่วมกันระหว่างมารดาและสูติแพทย์ต่อไป
เมื่อเป็นโรคธาลัสซีเมียจะปฏิบัติตัวอย่างไร
ผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นพาหะโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาใด ๆ แต่ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียจะมีอาการของโรคแตกต่างกัน บางคนตัวซีดมาก ตับม้ามโตมาก อาจจะต้องได้รับการให้เลือดและยาขับธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกายเป็นระยะ ๆ หรือผ่าตัดม้ามออกเพื่อลดการทำลายเม็ดเลือดแดง ส่วนบางคนจะมีอาการซีดไม่มาก จะรักษาตามอาการ สามารถให้รับประทานกรดโฟลิก แต่ไม่จำเป็นต้องให้ยาบำรุงเลือด (ธาตุเหล็ก) เนื่องจากมีธาตุเหล็กใน ร่างกายเกินปกติอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถนำมาสร้างเม็ดเลือดแดงเองได้
โรคธาลัสซีเมียอาจดูน่ากลัว แต่ความจริงแล้ว หากเราสามารถดูแลตนเองให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมต่อการเผชิญโรค ก็จะสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
ป่วยธาลัสซีเมีย
ที่มา: ํYouLike (คลิปเด็ด) และ นายอั๋น น้องอ๋อม ร๊ากคุนนู๋กิ๊ก
และ https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=206
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ครม. เห็นชอบแก้กฎหมาย ผู้หญิง ไม่พร้อมมีครรภ์ สามารถทำแท้งได้
5 วิธีเช็คความสมบูรณ์ของลูกในท้อง
ประสบการณ์จริง คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ ลูกอยู่รพ.เกือบ 2 เดือน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!