ลูกไม่ยอมกินนมแม่ ไม่เข้าเต้า เพราะอะไร แก้ปัญหาอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ทุกคนต่างรู้กันดีอยู่ว่า “น้ำนมแม่” เป็นอาหารที่มีคุณค่ามหาศาลกับลูกน้อยขนาดไหน เด็กที่ได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน จะได้รับวัคซีนนมแม่เป็นภูมิต้านทานที่ดี เสริมให้ร่างกายแข็งแรงและดีต่อสุขภาพจิตของทารกด้วย แต่ถ้า ลูกไม่ยอมกินนมแม่ จู่ ๆ ลูกก็หยุดกินนมกะทันหันซะงั้น จะทำยังไงดี?

 

ลูกไม่ยอมกินนมแม่ คืออาการอะไร เกิดจากอะไร

อาการลูกไม่กินนมแบบกะทันหัน (Nursing strike) ที่อยู่ ๆ ลูกเบือนหน้าหนีไม่ยอมเข้าเต้ากะทันหัน ไม่ยอมดูดนมแม่ แม้ก่อนหน้านี้ลูกจะกินนมแม่ได้ดี กินได้มากก็ตาม อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ร่างกายมีอาการผิดปกติ : อาจมีอาการป่วย เช่น เป็นหวัด หูอักเสบ มีกรดไหลย้อนทำให้กินนมแล้วปวดท้อง นมแม่เยอะ น้ำนมพุ่งจนทำให้ลูกกลืนไม่ทัน ส่งผลให้มีอาการสำลัก และไม่ยอมดูดนมจากเต้า ทารกแพ้อาหารหรือไวต่ออาหารหรือยาที่แม่กินที่ได้รับผลกระทบมาทางน้ำนม มีไข้หลังพาลูกไปฉีดวัคซีน มีแผลในปาก เชื้อราในปาก หรืออาการเจ็บปากจากฟันที่กำลังจะขึ้น เป็นต้น
  • หัวนมบอด : อาการหัวนมบอดของคุณแม่ คือ อาการที่เต้านมไม่มีหัวนมออกมาเด่นชัด เพราะท่อนมสั้น หรือพังผืด ทำให้ทารกน้อยดูดนมได้ยากลำบาก ไปจนถึงดูดนมไม่ได้เลย อย่างไรก็ตามอาการนี้สามารถแก้ไขได้ เพื่อให้หัวนมเป็นลักษณะปกติ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา โดยการรักษาจะใช้เวลาพอสมควร
  • สิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก : เช่น อารมณ์ของทารกในขณะนั้น อาจได้รับการกระตุ้นมากเกินไป ให้นมตามตารางมากไป มีการรบกวนตอนที่ทารกกำลังดูดนม เสียงตะโกน เสียงดังจนลูกตกใจ การดุด่าว่าเมื่อลูกเผลอกัดนม การปล่อยให้ลูกร้องไห้นานเกินไป ซึ่งทำให้ลูกเกิดอารมณ์หงุดหงิดและมีความเครียด นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงตารางชีวิต เช่น ต้องเดินทางไกล ย้ายบ้าน แม่กลับไปทำงาน หรือการห่างที่แม่จากลูกนาน ๆ ก็มีผลต่อการที่ลูกจะเบือนเต้าไม่เอานมแม่ได้
  • ให้ลูกกินนมขวด และจุกหลอกบ่อย : เป็นพฤติกรรมความเคยชิน หากคุณแม่ให้ลูกกินจากขวดบ่อยมากกว่าการเข้าเต้า การใช้จุกหลอกบ่อยก็เช่นกัน พฤติกรรมเหล่านี้มีส่วนทำให้ลูกปฏิเสธการเข้าเต้าได้ อย่างน้อยถ้าลูกจะกินนมจากขวด ก็ควรเป็นนมคุณแม่ที่ปั๊มออกมาเก็บไว้ อย่างไรก็ตาม การเอาลูกเข้าเต้าเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเสมอ เพราะจะช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ได้ดี

 

ลูกไม่ยอมกินนมแม่ส่งผลกระทบอย่างไร

ปัญหาเรื่องลูกกินนมแม่ได้น้อย ไม่ยอมเข้าเต้า ไม่ใช่เรื่องเล็กแน่นอน เพราะนมแม่เป็นอาหารธรรมชาติของทารก ซึ่งจะส่งผลต่อทั้งทารก และคุณแม่ ดังต่อไปนี้

  • เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้ เนื่องจากอาหารที่ดีที่สุด คือ นมแม่ โดยเฉพาะน้ำนมเหลือง ที่มีสารอาหารหลากหลาย เปรียบได้กับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันของลูกน้อย
  • พัฒนาการของลูกที่ล่าช้า เป็นผลกระทบสืบเนื่องมาจากการที่ลูกได้สารอาหารไม่ครบถ้วน อาจทำให้ลูกมีพัฒนาการไม่เป็นไปตามมาตรฐานของช่วงวัย
  • ส่งผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำนมของคุณแม่ ทำให้เสี่ยงต่อการเจอปัญหาน้ำนมน้อย เพราะไม่ได้รับการกระตุ้นตามธรรมชาติ จากการเข้าเต้าของทารกมากพอนั่นเอง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8 วิธีแก้ไขเมื่อเจอ Nursing strike จากเจ้าตัวน้อย

เพื่อเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีการรับมือ เมื่อลูกเกิดอาการ Nursing strike เรามีวิธีแนะนำในการแก้ปัญหาหลายวิธีที่อยากจะแชร์กับคุณแม่

 

1. เริ่มจากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน

ก่อนที่จะทำอย่างอื่น คุณแม่ควรปรึกษา รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติม กรณีที่มีอาการอื่น ๆ หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ จะได้ทำการรักษาแก้ไขได้ไปในเวลาเดียวกันด้วย หากรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว คุณแม่สามารถใช้วิธีอื่น ๆ ร่วมด้วยตามข้อต่อ ๆ ไปที่เรากำลังจะกล่าวถึง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. เสริมแวดล้อมให้ลูกเข้าเต้าอย่างมีความสุข

หาวิธีสร้างอารมณ์และบรรยากาศในการกินนมแม่ของลูก เช่น อุ้มลูกมากอดตรงหน้าอกเพื่อให้ได้กลิ่นนมแม่ ชวนคุย หัวเราะ จ้องตา ทำช่วงเวลาของความผูกพันระหว่างแม่ลูกให้มีความสุข จะช่วยลดการเกิด nursing strike ได้

 

3. ความสนิทของแม่และลูก

ในเวลาที่ไม่ได้ให้นมลูก ควรใช้เวลาเหล่านี้กอด เล่น ลูก สัมผัสกันให้นานที่สุด วิธีนี้จะทำให้เจ้าตัวน้อยและคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ฮอร์โมนความสุขที่หลั่งออกมาจากตัวคุณแม่จะทำให้ลูกสัมผัสความรักจากตัวคุณแม่ และยอมรับการดูดนมจากเต้ามากขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. นำลูกเข้าเต้าในเวลาที่เค้าง่วง

ทารกบางคนยอมรับเต้าได้ในตอนที่กำลังง่วง ๆ ผ่อนคลาย ลองให้นมตอนที่ลูกนอนหลับกลางวัน ใช้ท่าเข้าเต้าที่ลูกชอบที่สุด หรือท่าเข้าเต้าที่มักได้ผลคือ แม่นอนเอียง ๆ หลัง ให้ลูกวางบนตัวแม่ ท้องแนบท้อง ให้ลูกกินจากเต้าท่านี้จนหลับและผ่อนคลายไปด้วยกัน

 

5. กระตุ้นน้ำนมก่อนนำลูกเข้าเต้า

สำหรับคุณแม่ที่น้ำนมน้อย ช่วยได้โดยการปั๊มนมก่อนที่จะให้ลูกเข้าเต้า หรือบีบนมใส่ริมฝีปากลูก ถ้าลูกยอมกินจากเต้าแต่แค่แป๊บเดียว ลองใช้ไซริงค์หยอดนมที่มุมปากลูกเพื่อกระตุ้นการดูดและกลืน และทำซ้ำอีกถ้าลูกจะออกจากเต้าอีก

 

 

6. จัดเต้าให้ถูกท่าเมื่อเอาลูกเข้าเต้า

การให้นมลูกอย่างถูกท่าและถูกวิธีด้วยการช่วยลูกขยับปากให้ลูกได้อมถึงลานนมมากขึ้น หรือเด็กบางคนชอบกินนมตอนที่แม่เดินหรือโยกตัว ถ้านั่งให้นมหรือนอนให้นมมันไม่เวิร์กคุณแม่ลองเปลี่ยนท่าด้วยการเดินหรือแกว่งตัวไปมาดูนะคะ เมื่อลูกเข้าเต้าได้ดีขึ้น ให้ใช้เวลาตรงนั้นให้ดีที่สุด โดยปล่อยให้ลูกได้กินนมจนหลับหรือปล่อยปากหลุดออกจากเต้าเอง

 

7. เมื่อลูกแสดงอาการหิวไม่ปล่อยให้ลูกร้องนาน

ทารกจะกินนมได้ดีเมื่ออยู่ในอารมณ์สงบ สบาย แต่อาจจะไม่ยอมกินนมเมื่อรู้สึกหิวเกินไป เครียด หงุดหงิด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8. แก้วิธีลูกไม่เอาเต้าเอาแต่ขวด

ด้วยการสับขาหลอก โดยเริ่มจากให้นมขวดในท่าให้นมปกติ เมื่อทารกเริ่มดูดดีและกลืนนม ให้เอาขวดนมออกแล้วนำหัวนมแม่ใส่ปากแทน เด็กบางคนก็ยอมดูดต่อโดยดี

 

ต้องรีบแก้ปัญหา เพราะนมแม่คือภูมิคุ้มกันของทารก

การที่ลูกมีปัญหาไม่ยอมเข้าเต้า หากรีบแก้ได้ต้องรีบแก้ ทางที่ดีที่สุด คือ ปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เลย หรือสอบถามแพทย์ไว้ก่อนกรณีที่อาจเกิดปัญหานี้ เพราะนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก โดยเฉพาะ น้ำนมเหลือง (Colostrum) หลังคลอด 1-3 วัน ที่มี แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทำหน้าที่เสมือนเป็นวัคซีนธรรมชาติที่แม่ส่งต่อให้ลูกผ่านนมแม่ สามารถกำจัดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่บริเวณลำไส้ได้ดี ซึ่งจะพบ แลคโตเฟอร์ริน ได้มากที่สุดในระยะน้ำนมเหลือง, MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมัน ที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง และ DHA เมื่อได้ทานร่วมกันกับ MFGM จะสร้างเสริมพัฒนาการทางสมองตั้งแต่วัยแรกเกิดถึงวัยเข้าเรียน ทำให้ลูกน้อยมี IQ และ EQ ของที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรกของชีวิต 

ปัญหาหรือความกังวลที่ลูกไม่ยอมกินนมแม่ ลูกกินนมได้น้อย เป็นปัญหาที่คุณแม่มือใหม่พบได้บ่อย คุณแม่อาจจะต้องลองสังเกตพฤติกรรมลูกดู ว่าเขาชอบแบบไหน แล้วค่อย ๆ ปรับ ค่อย ๆ เรียนรู้นิสัยใจคอกัน อดทนกับการแก้ปัญหาสักหน่อย ที่สำคัญอย่าเพิ่งท้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้เจ้าตัวน้อยได้กินนมแม่อย่างยาว ๆ  แต่ถ้ารู้สึกว่าลูกกินนมได้น้อย หรือมีน้ำหนักลดลง คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อรับคำแนะนำในการเสริมโภชนาการที่เหมาะสมนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

8 อาหารเพิ่มน้ำนมคุณแม่ ให้มีน้ำนมพอ รวมมาให้หมดแล้ว !

นมผงแต่ละสูตรต่างกันอย่างไร ก่อนเปลี่ยนนมให้ลูกแม่ต้องรู้อะไรบ้าง

แลคโตเฟอร์ริน คืออะไร พบได้ในนมแม่ มีส่วนสำคัญกับทารกมากกว่าที่คิด

ที่มา : enfababy, healthline

บทความโดย

Sutthilak Keawon