อาหารที่สามารถเลี้ยงสมองได้ดี คือ การนอนให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายของลูก ได้พักผ่อน สามารถผลิตสารสร้างภูมิต้านทานโรค และทำให้ร่างกายพัฒนาการได้ดี แจ่มใส รวมถึง อารมณ์ดี มีความสามารถในการจดจำ และเรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ เพราะฉะนั้น คุณพ่อ คุณแม่ต้องให้ความสำคัญ ในการนอนหลับที่เพียงพอ แก่คุณลูก คุณแม่สังเกตลูกตอนลูกนอนบ้างหรือเปล่า ถ้า ลูกนอนหายใจทางปาก ลูกหายใจทางปาก อันตรายไหม ลูกอ้าปากตอนนอน สัญญาณโรคอะไรได้บ้าง วิธีแก้การนอนอ้าปากทำได้ยังไงบ้าง แม่ต้องรู้ ถ้า ลูกนอนหายใจทางปาก และมีอาการแบบนี้ ต้องรีบพาไปหาหมอด่วน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูกันเลย
ทารกนอนอ้าปาก ลูกหายใจทางปาก เกิดจากสาเหตุอะไร?
คุณแม่สังเกตว่า ตาต้า (นามสมมุติ) นอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปากแล้วหายใจเสียงดังผิดปกติมา 2 – 3 วัน จึงมาพบหมอ เมื่อได้ตรวจร่างกายแล้ว ก็พบว่า ตาต้า มีอาการหวัด คัดจมูก ร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อความอยู่ทางธรรมชาติ น้องจึง นอนอ้าปากหายใจ โดยหมอได้อธิบายให้คุณแม่ฟังเกี่ยวกับการนอนอ้าปากของทารกดังนี้
ลูกนอนหายใจทางปาก แบบไหนที่ต้องรีบไป รพ.
- เมื่อลูกหายใจทางปาก ร่วมกับหอบเหนื่อย หายใจเร็ว อกบุ๋ม ซี่โครงบาน
- มีอาการเขียว หรือซึมลง
- มีการนอนกรน ร่วมกับหยุดหายใจขณะหลับ (OSA : obstructive sleep apnea)
ผลเสียของการอ้าปากหายใจ นอกเหนือจากสาเหตุที่แท้จริงของโรคที่ไม่ได้รักษาแล้ว ยังทำให้เด็กมีอาการคอแห้ง หายใจได้ไม่เต็มที่เหมือนการหายใจทางจมูก มีโอกาสสำลักได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจ พาลูกไปตรวจที่ โรงพยาบาลได้เลย
วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care
ลูกหายใจทางปาก ทารกนอนอ้าปากหายใจเพราะเหตุใด?
โดยปกติเด็กควรจะหายใจทางจมูกเป็นหลัก เมื่อในที่นอนอ้าปากหายใจ แสดงว่ามีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น โดยเฉพาะโพรงจมูก เช่น
- หากเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้น ๆ มักเกิดจาก จมูกอักเสบจากการติดเชื้อ (ไข้หวัด)
- หากเกิดขึ้นเรื้อรังเป็นเดือน อาจเกิดจากจมูกอักเสบจากสาเหตุอื่น
- หากเป็นมาแต่กำเนิด อาจเกิดจาก clonal atresia ซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติแต่กำเนิดของโพรงจมูกทารก ทำให้ไม่มีรูเปิดที่ปกติของจมูก
นอกจากนี้ ทารกอาจนอนอ้าปากหายใจจากความผิดปกติอื่น ๆ ในโพรงจมูก ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวมหรือ ต่อมอะดีนอยด์ ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองด้านหลังโพรงจมูกมีการอักเสบ และ โตผิดปกติ ความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้าที่ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ทารกจึงจำเป็นต้อง อ้าปาก เพื่อหายใจทางปาก อันเป็นการช่วยเหลือตนเอง เพื่อความอยู่รอดนั่นเอง
ข้อควรระวัง หากทารกนอนอ้าปากหายใจ คืออะไร ?
การนอนอ้าปากในเด็ก มักจะพบร่วมกับ การนอนหายใจเสียงดัง หรือ นอนกรน ซึ่งอาจเกิดภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับจากการอุดกั้น เป็นภาวะแทรกซ้อนได้ “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น” อันเกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ต้องหายใจเข้ามากขึ้น เพื่อเอาชนะทางเดินหายใจ ที่ตีบแคบนั้น ทำให้เกิดอาการคือ นอนอ้าปาก หายใจเสียงดังมากกว่าปกติ หยุดหายใจ หายใจเฮือกเป็นพัก ๆ หน้าอกบุ๋ม ริมฝีปากเขียวคล้ำ ขณะนอนหลับ
ลูกนอนอ้าปาก วิธีแก้การนอนอ้าปากทำได้ยังไงบ้าง
หากลูกมีอาการ นอนอ้าปากหายใจ เป็นบ่อย ๆ หรือ เรื้อรัง ควรไปพบคุณหมอ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาอย่างถูกต้อง โดยคุณหมอซักถามประวัติอาการ แล้วตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุดังกล่าวข้างต้น เช่น หากสงสัย ต่อมอะดีนอยด์โต คุณหมออาจส่งตรวจเอกซเรย์ ดูขนาดต่อมอะดีนอยด์ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อทราบสาเหตุก็จะได้รีบทำการแก้ไขอย่างถูกต้อง เช่น การให้ยาช่วยลดจมูกบวม ล้างจมูก ดูดน้ำมูก หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียในจมูกก็จะได้รับยาปฏิชีวนะจนถึงการผ่าตัดในกรณีที่เกิดจากการผิดปกติอันทำให้เกิดการอุดกั้น ของโครงสร้างในระบบทางเดินหายใจ
การรักษาสำหรับทารกนอนอ้าปาก
หากลูกน้อยของคุณมีปัญหาในการหายใจหรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมกับการหายใจทางปากให้พิจารณานัดหมายกับกุมารแพทย์ของคุณ แพทย์ของบุตรหลานของคุณสามารถช่วยขจัดเงื่อนไขที่อาจขัดขวางทางเดินหายใจกำหนดยาสำหรับการติดเชื้อใด ๆ หรือสั่งการทดสอบเพิ่มเติม
คุณอาจลองทำสิ่งต่อไปนี้ที่บ้านเพื่อล้างความแออัด
- เครื่องทำให้ชื้น การเพิ่มความชื้นในอากาศสามารถช่วยคัดจมูกได้ เครื่องทำความชื้นแบบละอองเย็นเหมาะสมที่สุดสำหรับทารกและเด็กเล็กเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการไหม้ หากคุณไม่มีเครื่องเพิ่มความชื้นคุณอาจลองนั่งกับลูกน้อยในห้องน้ำในขณะที่อาบน้ำอุ่นเพื่อสร้างไอน้ำ
- หลอดฉีดยา น้ำมูกแม้เพียงเล็กน้อยในจมูกของลูกน้อยก็สามารถทำให้หายใจได้ยาก คุณสามารถดูดออกได้โดยใช้หลอดฉีดยาพื้นฐานหรือหนึ่งในตัวดูดน้ำมูกแฟนซีเช่น NoseFrida อ่อนโยนเพื่อไม่ให้ลูกน้อยเจ็บจมูก และทำความสะอาดเข็มฉีดยาของคุณทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่เป็นอันตรายก่อตัวขึ้น
- ล้างน้ำเกลือ. สเปรย์น้ำเกลือ (น้ำเกลือ) สองสามสเปรย์อาจช่วยบาง ๆ และคลายเมือกก่อนที่คุณจะดูดออก เมื่อลูกน้อยของคุณโตขึ้นคุณอาจลองหม้อเนติหรือน้ำเกลือล้างก็ได้ อย่าลืมต้มน้ำประปาและทำให้เย็นหรือใช้น้ำกลั่นเพื่อความปลอดภัย
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณดื่มนมแม่หรือนมผงในปริมาณมากเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดน้ำและให้น้ำมูกไหล
ทั้งนี้ หากลูกนอนหายใจทางปาก ทารกชอบนอนอ้าปาก หรือนอนกรน และมีอาการผิดปกติต่าง ๆ อันบ่งถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น คุณพ่อ คุณแม่ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็ว เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนขณะหลับ อันมีผลต่อสมอง พัฒนาการ และ การเจริญเติบโตของลูกได้
รู้กันไปแล้ว ว่าลูกนอนหายใจทางปาก อาจจะทำให้ ป่วยเป็นอะไรได้บ้าง และทำไมถึงต้องรีบพบแพทย์ เพราะอาจจะไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป มาโหวตกันหน่อยว่า ปัญหาสำหรับลูกเล็ก ที่คุณแม่พบเจอบ่อยคืออะไร ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่
สาเหตุที่เป็นไปได้ของการหายใจทางปากมีดังต่อไปนี้
-
เสมหะและน้ำมูก
ลูกน้อยของคุณอาจหายใจทางปากโดยไม่จำเป็นหากมีอาการคัดจมูกหรือมีน้ำมูกอุดตัน พวกเขาอาจเป็นหวัดเมื่อเร็ว ๆ นี้หรืออาจแพ้บางสิ่งบางอย่างในสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าในกรณีใดเด็กทารกไม่สามารถล้างน้ำมูกได้เองโดยง่ายดังนั้นจึงอาจชดเชยด้วยการหายใจทางปาก
-
หยุดหายใจขณะหลับ
การหายใจโดยใช้ปากเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับซึ่งโดยพื้นฐานแล้วหมายความว่าทางเดินหายใจส่วนบนของทารกถูกอุดกั้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สำหรับทารกและเด็กมักเกิดจากต่อมทอนซิลโตหรือต่อมอะดีนอยด์ อาการอื่น ๆ ได้แก่ การนอนกรนการกระสับกระส่ายระหว่างการนอนหลับการหยุดหายใจและการไอหรือสำลัก
-
กะบังเบี่ยงเบน
บางครั้งการหายใจทางปากอาจเกิดจากความผิดปกติของกระดูกอ่อนและกระดูกที่แยกรูจมูกของทารกออกจากกัน สิ่งนี้อาจนำไปสู่ปัญหาในการหายใจทางจมูกและอาจพบได้บ่อยในผู้ที่มีขากรรไกรบนแคบ (รวมถึงการหายใจด้วยปากด้วย)
อาการผิดปกติที่พบได้ในลูกวัยทารก
ลูกวัยแรกเกิด – 3 เดือนแรก คุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักกังวลไปตั้งแต่เรื่องกิน นอน ขับถ่าย เรียกว่าห่วงร้อยแปดพันประการกัน ยิ่งถ้าเป็นเรื่องสุขภาพของเจ้าตัวเล็กแล้วละก็เรื่องใหญ่เชียว จึงถือโอกาสพาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไปทำความรู้จักโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับลูกเล็กวัยแรกเกิดถึง 3 เดือน
เริ่มจากส่วนบนสุดของร่างกายไล่ลงไปถึงหน้าอกของลูก ช่วงแรกนี้มีระบบการทำงานของร่างกายที่สำคัญ คือ ระบบการหายใจและระบบการทำงานของหัวใจ ซึ่งโรคที่มักพบได้บ่อยมีดังนี้
-
ระบบหายใจ
หายใจเสียงดังเป็นช่วง ๆ อาทิตย์แรกและอาทิตย์ที่ 2 หลังคลอด ลูกอาจจะจาม หายใจเสียงดัง หรือหายฮึดฮัดเป็นช่วง ๆ ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร อาจเป็นเพราะลูกยังเล็กจึงยังหายใจทางปากไม่เป็น เลยหายใจทางจมูกได้ทางเดียว เมื่อจมูกมีขี้มูกอุดตันตรงบริเวณโพรงจมูก ก็จะทำให้เกิดเสียงดัง แต่ถ้าลูกหายใจเสียงดังมาก ๆ เหมือนนอนกรน ต้องมาพบคุณหมอ เพราะลูกอาจจะมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อหลอดลมอ่อนตัว ทำให้เวลาหายใจเข้า-ออก กล้ามเนื้อเปิด-ปิดไม่สัมพันธ์กันจนเกิดเสียงดัง หากเกิดจากกรณีที่ขี้มูกอุดตัน คุณแม่ควรใช้คัตตอนบัตชุบน้ำอุ่นเช็ดจมูกลูกหลังอาบน้ำทุกครั้ง แต่ถ้าเกิดจากสาเหตุอื่นให้คุณแม่ลองเปลี่ยนท่านอนของลูกใหม่ จากนอนหงายหรือนอนตะแคงเป็นนอนคว่ำอาจจะทำให้ดีขึ้น แต่ถ้าลูกหายใจเสียงดังมากควรพบคุณหมอจะดีที่สุด
-
หวัด
แรกเกิด – 3 เดือน ลูกเล็กเมื่อเป็นหวัดก็จะมีอาการหายใจอึดอัด คัดจมูก อาจมีน้ำมูกไหล และเริ่มมีอาการไอตามมา คนที่นำเชื้อโรคมาแพร่กระจายให้ลูกไม่ใช่ใครอื่น ก็คุณพ่อคุณแม่หรือคนในบ้านนั่นแหละ เพราะลูกเล็กไม่ได้ออกไปนอกบ้านอยู่แล้ว ด้วยความที่ภูมิคุ้มกันโรคของลูกยังต่ำอยู่พอมีคนนำเชื้อมาให้ถึงที่ก็เลยทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ลูกเล็กเป็นหวัดนี่แนะนำให้มาหาคุณหมออย่างเดียวเลย ห้ามซื้อยาให้ลูกกินเองเด็ดขาด ส่วนคนที่ต้องดูแลลูกเล็กหรือคนในบ้าน ถ้าเป็นหวัดไม่ควรเข้าใกล้ลูก ควรใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกตัวเอง และควรล้างมือให้สะอาดก่อนอุ้มลูกด้วย ระบบการทำงานของหัวใจ
-
โรคหัวใจ
ส่วนใหญ่ถ้ามีอาการรุนแรงคุณหมอมักตรวจเจอตั้งแต่แรกเกิด ดูจากอาการทั่วไปอาจจะไม่รู้ว่าลูกเป็นโรคหัวใจ แต่ถ้าคุณแม่สังเกตจะเห็นว่า ลูกที่เป็นโรคหัวใจเวลาร้องไห้แล้วรอบปากจะเขียว หรือกินนมแล้วเหนื่อยกว่าปกติ เช่น ดูด ๆ แล้วก็หยุด ดูดต่อเนื่องได้ไม่นานอย่างเคย แต่ถ้าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วบางชนิดอาจจะไม่มีอาการเขียว คุณแม่ต้องสังเกตอาการอย่างอื่น ๆ ประกอบ โรคหัวใจในเด็กเล็กเกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจและทางเดินหลอดเลือดหัวใจ หากลูกเป็นโรคหัวใจอย่างรุนแรงมักมีอาการเร็ว แต่โรคหัวใจรั่วบางชนิดช่วงแรกอาจจะไม่มีอาการหรือไม่ได้ยินเสียงผิดปกติ แต่พอโตขึ้นจะเริ่มมีอาการหรือฟังเสียงหัวใจผิดปกติได้ ทำให้แพทย์ตรวจเจอความผิดปกติของหัวใจได้ที่สุด หมั่นสังเกตอาการลูกน้อยเวลาดูดนมหรือเมื่อร้องไห้มาก ๆ และต้องพาลูกมาพบคุณหมอตามเวลาที่นัดตรวจสุขภาพ เพราะตรวจสุขภาพแต่ละครั้งคุณหมอจะตรวจหัวใจด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกนอนแบบไหนผิดปกติ พร้อมวิธีสังเกตความผิดปกติ เรื่องที่พ่อแม่ทุกคนต้องรู้
10 วิธี ฝึกลูกนอนเร็ว เทคนิคที่ทำให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้น วิธีให้ลูกนอนง่าย ๆ
6 วิธี ทำให้ลูกนอนนาน นอนหลับได้ตลอดคืน ถ้าทำได้เหมือนถูกลอตเตอรี่ชุดใหญ่!!
ที่มาข้อมูล : mccormickhospital