ลูกชอบเล่นคนเดียว คุยคนเดียว
ลูกชอบเล่นคนเดียว ไม่สุงสิงกับใคร หากว่าเขาเป็นลูกคนเดียวยังพอเข้าใจได้ เพราะลูกอาจไม่มีเพื่อนเล่น แต่ถ้าเป็นเด็กที่มีพี่น้องแล้วเขาเข้ากับใครไม่ได้ เวลาจะพาลูกออกไปเที่ยวข้างนอก พาไปเล่นกับญาติพี่น้องแล้วลูกไม่ยอมไปไหน อย่าดีใจที่ลูกเป็นคนอยู่ติดบ้านไม่ชอบไปเที่ยว เพราะนั่นแสดงว่าลูกของคุณเริ่มเข้าข่ายของเด็กมีปัญหาซะแล้ว
ทำไมลูกถึงไม่ยอมไปไหน?
เด็กบางคนจะรู้สึกปลอดภัยเวลาที่อยู่บ้านเพราะเป็นสถานที่คุ้นเคยไม่น่ากลัว เจอคนที่คุ้นหน้า ไม่ต้องปรับตัวใหม่ ไม่ต้องหวาดระแวง และเข้ารู้สึกสบายใจกว่าการออกไปข้างนอก ทั้งยังชอบที่จะเล่นอยู่คนเดียวเสียอีก ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมลูก ถ้าเกิดปล่อยไปเด็กก็จะกลายเป็นคนไม่มีสังคม เข้ากับใครไม่ได้ และกลายเป็นเด็กมีปัญหาในที่สุด
วิธีปรับพฤติกรรมลูก
1. ดูว่าลูกไม่ชอบหรือกลัวอะไร
บางครั้งเด็กอาจมีความฝั่งใจกับบางอย่างโดยที่คคุณพ่อคุณแม่ไม่รู้ตัว เช่น ลูกน้อยเคยตกชิงช้ามาก่อนทำใให้เกิดการกลัวการเล่นชิงช้า แต่พ่อแม่ก็ยังชักชวนไปเล่นอีกจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกรักไม่ยิมออกไปไหน วิธีแก้คือ ลองชวนลูกไปเที่ยวที่อื่น เช่น สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ หรือบ้านญาติพี่น้องแทน
2. พูดคุยให้ลูกได้รับรู้
พ่อแม่อย่าเห็นว่าลูกเป็นเด็กจะพาไปไหนมาไหนก็ได้ เพราะเด็กวัยนี้เริ่มจะมีความต้องการเป็นของตัวเองแล้ว พออยู่ๆ บอกให้ลูกไปเด็กก้จะดื้อดึงไม่ยอมไปไหน ดังนั้น ก่อนจะพาลูกออกจากบ้านต้องบอกลูกน้อยก่อนว่าจะไปตอนไหน เมื่อไหร่ให้ลูกได้รับรู้ ดีกว่าเป็นการบังคับไปเดี๋ยวนั้นเลย และอย่าลืมเตือนเมื่อใกล้ถึงเวลา
3. หยิบของเล่นตัวเองไปด้วย
เด็กน้อยบางคนติดของเล่นของตัวเองมาก ไปไหนก็เอาไปด้วยเหมือนเป็นเพื่อน เวลาที่คุณพาลูกน้อยไปข้างนอกก้อย่าลืมหยิบไปด้วยล่ะ เพื่อสร้างอารมณืลูกให้ลูกสึกผ่อนคลาย
4. อย่ายัดเยียดกิจกรรมให้ลูก
วันหยุดพ่อแม่อาจก็ว่าลูกจะเหงาหรือเบื่อจึงขยันหากิจกรรมต่างๆ พาลูกไปนู้นมานี้ตลอดเวลาบางครั้งอาจทำให้ลูกน้อยเบื่อไม่อยากไปข้างนอกอีกเลย พ่อแม่ควรปล่อยให้เด็กมีอิสระบ้าง ให้ทำในสิ่งที่เขาอยากทำ ไม่ใช้ให้ลุกทำในสิ่งที่พ่อแม่อยากให้ทำอยากให้เป็น โดยการให้ลูกเป็นเรียนเพิ่มเติมมากมาย เพื่อให้ลูกน้อยได้รู้สึกอยากออกไปเที่ยวข้างนอกดีกว่าอุดอู้อยู่แต่บ้านแบบนี้
5. อย่าเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น
การถูกเปรียบเทียบเป็นใครก็ไม่ชอบทั้งนั้นแม้แต่ตัวของพ่อแม่ ต้องลองถามตัวเองว่าเวลาพ่อแม่พาลูกออกไปข้างนอกเคยเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่นไหม เช่น เวลาที่ลูกทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ งอแง หรือซน พอเห็นเด็กคนอื่นไม่ดื้อก็คอยเปรียบเทียบตลอดเวลา สิ่งนั้นอาจทำให้ลูกน้อยไม่ชอบใจและกลายเป็นต่อต้านไม่ยอมออกไปไหนได้
หากพ่อแม่ได้ลองทำทั้งหมดแล้ว จนลูกน้อยมีอายุถึง 3 ขวบครึ่ง แต่ลูกยังไม่ยอมออกจากบ้านอีกชอบเล่นคยเดียว คุยคนเดียว หงุดหงิดง่าย หวาดระแวง หรือมีการอาการตื่นตระหนก ควรหาทางพาลูกไปปรึกษาคุณหมอจิตแพทย์เด็กเพื่อหาแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อไป
พาลูกไปหาหมอจิตเวชต้องเตรียมตัวอย่างไร?
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า การมาพบจิตแพทย์เด็ก ไม่ได้แปลว่าลูกจะป่วยทางจิต เป็นโรคประสาทเสมอไป แต่นั่นหมายความว่าพ่อแม่ได้ใส่ใจในด้านจิตใจและความเป็นไปของลูก อยากให้ลูกเติบโตไปเป็นเด็กที่ดีมีคุณภาพ สามารถเข้ากับคนอื่นได้ดี สามารถอยู่รอดในสังคมได้ ซึ่งก่อนที่คุณจะพาลูกไปหาหมอ ต้องเตรียมตัวดังนี้
- รวบรวมประวัติของลูกตามช่วงวัย ทั้งด้านพัฒนาการ อาการต่างๆ เอกสารต่างๆ เช่น สมุดบันทึกสุขภาพและพัฒนาการ สมุดรายงานผลการเรียน ใบรายงานพฤติกรรมจากครู สมุดการบ้าน ประวัติการรักษาเดิม ยาเดิม เป็นต้น
- บอกเด็กแบบตรงไปตรงมา ว่าพาเขามาหาหมอด้วยเรื่องอะไร หรือเป็นห่วงเขาเรื่องอะไร การไปหลอกเด็กจะทำให้หมอทำงานยากขึ้น เด็กจะสูญเสียความไว้วางใจ และอาจไม่ยอมมาตามนัดอีก หากพ่อแม่คิดว่าบอกตรงๆแล้วเขาไม่ยอมมาแน่ๆโดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่น พ่อแม่อาจใช้วิธีมาคุยเบื้องต้นกับหมอก่อน ว่าจะมีวิธีบอกลูกและดูแลลูกเบื้องต้นอย่างไร
นอกจากนี้ พ่อแม่ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมหรือความสามารถในทักษะด้านอื่นๆ ดูว่าลูกของเรามีข้อบกพร่องดังต่อไปนี้หรือไม่ ถ้ามีก็สามารถเข้าไปปรึกษาคุณหมอได้เช่นกัน
- ปัญหาพัฒนาการล่าช้า เช่น พูดช้า ช่วยเหลือตนเองได้ช้ากว่าวัย
- ปัญหาทางอารมณ์ เช่น วิตกกังวัล ซึมเศร้า หวาดระแวง ตื่นกลัว
- ปัญหาพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว พูดปด หนึโรงเรียน
- ปัญหาการเรียน เช่น เรียนหนังสือไม่ได้ สมาธิสั้น ไม่อยากไปโรงเรียน
- ปัญหาเด็กติดเกม
- ปัญหาอื่นๆ เช่น ถอนผม ปัสสาวะรดที่นอน มีอาการกระตุก อิจฉาน้อง เป็นต้น
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
พ่อแม่หัวร้อน เขกกะโหลก ตบหัว รังแกลูกเหมือนในละครดราม่าอ่านไว้!!
อยากให้ลูกน่ารัก สำหรับคนอื่น จิตแพทย์แนะต้องสอนลูกให้จิตใจดี
ตีลูกดีไหม จะผิดไหมถ้ายังทำโทษลูกด้วยการตี!!!
ที่มา: familynetwork, Facebook: ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย, mamastory