ลูกEQดีตั้งแต่แรกเกิดเริ่มได้ที่นมแม่

นมแม่อาหารมหัศจรรย์สำหรับทารก ช่วยทั้งเพิ่มไอคิวและอีคิว (IQ&EQ) ได้เคยกล่าวถึงเรื่อง นมเแม่เสริมสร้างไอคิวให้ลูกรักกันไปแล้ว มาในบทความนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงนมแม่สร้างอีคิว (EQ ความฉลาดทางอารมณ์)ให้กับลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิดมาดูกันค่ะว่า สร้างอย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูก EQ ดีตั้งแต่แรกเกิดเริ่มได้ที่นมแม่

แม้ว่าในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ได้ดูแลตนเองรวมไปถึงการกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ การฟังเพลง การทำสมาธิ รวมไปถึงการใช้ไฟฉายกระตุ้นการมองเห็นของทารกในครรภ์ ถือว่าเป็นสิ่งดี ๆ ที่แม่ได้ให้แก่ลูกน้อยตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้อง

เมื่อทารกน้อยคลอดออกมาแล้ว การพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจยังต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอีกเช่นกัน คราวนี้นมแม่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการให้แก่ทารกน้อย โดยเฉพาะการเสริมสร้าง IQ และ EQ แม้ว่าผู้เขียนจะเคยเขียนถึงเรื่อง ไอคิวกับนมแม่มาแล้วนะคะ ขอสรุปคร่าว ๆ อีกครั้งหนึ่ง ก่อนเข้าสู่เนื้อหา การสร้างอีคิวให้ลูกน้อยจากนมแม่ ติดตามอ่านกันเลยค่ะ

นมแม่เพิ่มไอคิว (IQ)

แพทย์หญิงยุพยง แห่งเชาวนิช เลขาธิการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า หนึ่งในทางออกของปัญหาเด็กไทยไอคิวต่ำ ต้องกลับมาแก้ที่ภาวะโภชนาการของเด็ก ซึ่งผลสำรวจพบว่า ระยะเวลาการดื่มนมแม่ มีผลต่อระดับคะแนนไอคิวที่สูงขึ้น คือ เพราะสารอาหารต่าง ๆ ในนมแม่ คือ แหล่งรวมสารส่งเสริมพัฒนาการของสมอง ภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน อนุมูลอิสระที่จำเป็นสำหรับทารก ช่วยป้องกันความเจ็บป่วย และทำให้ทารกเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ ส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เสริมสร้างระดับสติปัญญา (ไอคิว) ในเด็กให้เพิ่มขึ้นได้

บทความแนะนำ นมแม่ช่วยเพิ่มไอคิว (IQ) ให้ลูกได้

นมแม่เสริมสร้างสมอง

ทารกมีฮอร์โมนซึ่งใช้ในการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านสมองและร่างกายยังมีจำนวนน้อย แต่นมแม่สามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ได้ค่ะ เพราะในน้ำนมแม่จะมีฮอร์โมนอยู่หลายชนิด

1. ทารกแรกเกิดที่คลอดตามกำหนดจะมีระบบประสาทและสมองพร้อมที่จะสื่อสารกับแม่ได้ไม่ว่าจะเป็นรูป รส กลิ่น เสียง หรือสัมผัสก็ตามและธรรมชาติต้องการให้ปลายประสาทของทารกได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมตั้งแต่แรกเกิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. การกระตุ้นจะทำให้ระบบประสาทและสมองทุกส่วนของทารกทำงาน แรงกระตุ้นจะทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้ เพราะร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับคืน ดังนั้น หลังจากที่ทารกคลอดออกมาจากท้องของคุณหมอจึงให้คุณแม่โอบกอดลูกน้อยภายใน 30 นาทีแรกคลอดเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกระตุ้นสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกอย่างต่อเนื่อง

จากการศึกษา พบว่า ทารกที่ได้รับการกระตุ้นน้อยหรือไม่ได้รับการอุ้มชูอย่างเพียงพอนั้นสมองจะมีขนาดเล็กกว่าเด็กที่ได้รับการอุ้มชูอย่างเพียงพอถึง 20 – 30 % ทีเดียว

IQ จากนมแม่ ทำให้ลูกน้อยมี EQ

ลูกEQ ดี (ความฉลาดทางอารมณ์) นมแม่สร้างได้

พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กหรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า EQ (Emotional Quotient) คือ ความฉลาดทางอารมณ์เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและควรพัฒนาให้แก่ลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงสามขวบปีแรก เพราะในระยะนี้เป็นระยะที่สำคัญต่อการพัฒนาอารมณ์ของเด็กเป็นอย่างมาก และนมแม่ก็มีบทบาทสำคัญต่อความฉลาดทางอารมณ์ของลูกตั้งแต่แรกเกิดเลยนะคะ มาดูกันค่ะว่า EQ (ความฉลาดทางอารมณ์) จากนมแม่เป็นอย่างไร

1. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างแม่กับลูก แม้ว่าในระยะแรกเกิด ทารกน้อยจะนอนเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อตื่นขึ้นมาหากเกิดอาการไม่สบายตัวหรือหิว จะแสดงอาการกระสับกระส่ายหรือดูดปาก และส่งเสียงร้องเป็นสัญญาณว่าหนูหิวแล้วค่ะแม่ !!! และคุณแม่เองก็รู้ใจเจ้าหนูและตอบสนองความต้องการของลูกด้วยการอุ้มและดูดนมจากอกแม่

2. การอุ้มลูกแนบอกและทารกน้อยได้ดูดนมแม่ ลูกได้เรียนรู้ว่าดูดนมแม่จากอก ได้รับทั้งความอบอุ่นและความอิ่มหนำสำราญ ลูกจะซึมซับเอาความรักและความอาทรของแม่จากสัมผัสอันอ่อนโยน ลูกได้เรียนรู้ถึงการเสียสละ การให้โดยปราศจากเงื่อนไข ความประทับใจ และนำไปสู่การพัฒนาทางอารมณ์ต่อไป ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นได้กับทารกจริง ๆ นะคะ แม้เจ้าหนูจะไม่สามารถบอกได้ออกมาเป็นคำพูดแต่ความรู้สึกที่ลูกน้อยมีต่อคุณแม่ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. เมื่อทารกน้อยเริ่มเติบโตขึ้น นอนหลับได้นานขึ้น เมื่อลูกยังไม่หิวคุณแม่ยังไม่ต้องให้ลูกดูดนมในทันทีนะคะ ควรฝึกให้ลูกรู้จักรอคอย ด้วยการให้เล่นไปพลาง ๆ ก่อน นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง การระงับอารมณ์ของคุณแม่ต้องทำให้สม่ำเสมอ อารมณ์สงบ ไม่เครียด อารมณ์ดีและมีชีวิตชีวา เพราะเจ้าตัวน้อยสามารถซึมซับอารมณ์ของคุณแม่ได้นะคะ

4. การที่คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่จะมีโอกาสได้อยู่กับลูกอย่างใกล้ชิด จึงเป็นโอกาสทองของการสร้ารากฐานให้ลูกมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด (IQ) สูงและยังมีโอกาสในการสร้างความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) อีกด้วย

5. คำแนะนำที่อยากฝากไว้คือ การให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยถึง 6 เดือน และให้กินนมแม่ต่อเนื่องหลังจากนั้นและเสริมด้วยอาหารเสริมอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามวัยจนถึงสองขวบ จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้แก่ลูกได้อย่างดี

บทความแนะนำ ทำไมต้องให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

เรื่องน่ารู้ : วิธีเลี้ยงดูลูกที่ช่วยเสริมสร้าง EQ (ความฉลาดทางอารมณ์)

1. ในช่วงแรกเกิด – ขวบปีแรก พ่อแม่ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ ไวในการรับรู้ และตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างถูกต้อง จะทำให้เกิดการยอมรับตนเอง (self-acceptance)และความไว้วางใจในสังคมแวดล้อม (social trust)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. อายุ 1 – 2 ปี สร้างความสามารถควบคุมตนเอง ( Self-Control) โดยฝึกหัดการควบคุมร่างกายในการกิน นอน และขับถ่ายอย่างเหมาะสม ไม่เข้มงวดเกินไป ให้เด็กมีโอกาสเล่นและสำรวจสิ่งแวดล้อมโดยพ่อแม่คอยดูแลป้องกันอันตรายอยู่ใกล้ เด็กจะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง (autonomy) เกิดขึ้น

3. อายุ 3 – 5 ปี พัฒนาความคิดริเริ่ม( initiative) ส่งเสริมให้มีโอกาสเล่นสมมติ เล่นแบบใช้ จินตนาการ เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็น และรับฟัง สนใจ และตอบคำถามที่เด็กถาม

บทความแนะนำ เสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อยด้วยการเล่น

4. อายุ 6 -12 ปี พัฒนาความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน (industry) ให้โอกาส และส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ และฝึกฝนในการกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ทั้งรับผิดชอบตัวเองในกิจวัตรประจำวัน การเรียน และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในงานส่วนรวมในบ้าน

ได้ทราบถึงประโยชน์ของนมแม่ทั้งในด้านการเสริมสร้างไอคิว (IQ)และอีคิว(EQ)กันแล้วนะคะ ช่วงเวลาของการให้นมแม่ถือเป็นรากฐานชีวิตที่สำคัญที่แม่มอบให้แก่ทารกน้อย ทั้งด้านสติปัญญาและด้านอารมณ์ อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาดี ๆ แบบนี้ผ่านไป มาสร้างไอคิวและอีคิวให้ลูกด้วยนมแม่กันเถอะค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.si.mahidol.ac.th/

เอกสาร ดูแลเจ้าตัวเล็ก แผนกกุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชันแนล

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ลูทีนในนมแม่เกราะป้องกันดวงตาของทารก

สารพันเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนมแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา