รู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยเป็นหวัดVSไซนัสอักเสบ

อากาศร้อน ๆแบบนี้อย่าคิดว่าไข้หวัดจะถามหาไม่ได้นะคะ เจ้าตัวน้อยอาจจะพบกับหวัดแดดจนเกิดเป็นไข้หวัด น้ำมูกไหลย้อยได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจเป็นไซนัสอักเสบได้เช่นกัน มาดูกันว่า ระหว่างเป็นหวัดกับไซนัสอักเสบแตกต่างกันอย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความแตกต่างระหว่าง ไข้หวัด หรือไซนัสอักเสบ

เจ้าตัวน้อยอาจมีอาการผิดปกติทางจมูก ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูกไหล  เสียงหายใจครืดคราด  คัดแน่นจมูก  จามหรือไอมากผิดปกติ   อาการเหล่านี้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความกังวลอยู่บ้างว่าลูกจะเป็นไข้หวัดหรือไซนัสอักเสบกันแน่

หวัด  คือ  อาการคัดจมูก  น้ำมูกไหล  ส่วนมากจะเป็นเพียงไข้หวัด  ซึ่งจะมีอาการไม่นานสามารถหายได้เองภายใน 7 – 10 วัน

ไซนัสอักเสบ  คือ  โพรงอากาศที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะบริเวณส่วนใบหน้ามีรูขนาดเล็กเชื่อมต่อกับโพรงจมูก  สาเหตุของไซนัสอักเสบ  คือ  การติดเชื้อไวรัส  หรือเชื้อแบคทีเรียหรือเยื่อบุโพรงไซนัสบวมอักเสบจากภูมิแพ้ นอกจากนี้สิ่งแปลกปลอมในจมูกมีก้อนเนื้อหรือริดสีดวงจมูกก็ทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้

บทความแนะนำ  ระวัง! โรคไข้หวัดใหญ่คร่าชีวิตเด็กชายสุขภาพดีวัย 5 ขวบ

รู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยเป็นหวัดหรือไซนัสอักเสบ

ลูกมีอาการน้ำมูกไหล  คัดจมูก  คันจมูก  แต่หายได้เองภายใน 7 – 10 วัน  อาการแบบนี้เรียกว่า หวัด ถ้าหลังจาก 10 วันไปแล้ว จะมีโอกาสเกิดการอักเสบเข้าสู่โพรงไซนัส  นอกจากนี้จะมาการไข้สูง  ไอ  น้ำมูกเขียว  รวมไปถึงปวดบริเวณใบหน้า  อาการแบบนี้เรียกว่าไซนัสอักเสบเฉียบพลัน   ต้องรีบพาไปพบคุณหมอนะคะ  เพื่อให้คุณหมอทำการรักษา  โดยจัดยาปฏิชีวนะ  ยาพ่นจมูก  หรือน้ำเกลือล้างจมูก ตามอาการที่เกิดขึ้น

บทความแนะนำ เผยเกร็ด เคล็ดลับ ล้างจมูก ลูก Happy (มีคลิป)

คุณหมอฝากบอก

ตามปกติแล้วมากกว่า 90 % อาการคัดจมูก  น้ำมูกไหลในเด็กจะเป็นเพียงไข้หวัดหรือโรคหวัด  แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าอาการน้ำมูกไหล คัดจมูกมีระยะเวลานานผิดปกติ  รวมถึงการเป็นแบบเรื้อรัง คือ  กลับมาเป็นซ้ำ ๆ ควรพาลูกไปพบคุณหมอจะดีที่สุด  การซื้อยาปฏิชีวนะมาทานเองอาจทำให้เกิดการดื้อยา  ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานการรักษาจะยากขึ้น  และอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงตามมาได้

นอกจากนี้ยังมีอาการภูมิแพ้จมูกกับไซนัสอักเสบ  “ภูมิแพ้จมูก” กับ “ไซนัสอักเสบ”  มีอาการใกล้เคียงกัน  หากลูกน้อยมีน้ำมูกไหลไม่หายขาดนานติดต่อกัน 3 เดือน ก็มีโอกาสเป็นภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบเรื้อรัง  ต้องพบคุณหมอให้ตรวจวินิจฉัย  เพราะอาจจะเป็นทั้งสองอาการร่วมกันได้  ที่สำคัญการรักษาภูมิแพ้จมูกและไซนัสอักเสบมีการรักษาที่แตกต่างกัน

อย่ามองข้าม : อันตรายที่เกิดจากไซนัสอักเสบ

อันตรายจะเกิดขึ้นตามความรุนแรงของโรคหากเกิดการอักเสบเฉียบพลันจากเชื้อแบคทีเรียรุนแรง  มีโอกาสที่จะติดเชื้อลามสู่อวัยวะใกล้เคียง  เช่น  ตาและสมอง  แต่หากไซนัสอักเสบเกิดจากเนื้องอกฟันผุ  มีสิ่งปลกปลอมในจมูก หรือมีความผิดปติของภูมิคุ้มกัน  หากไม่ได้รับการรักษามีโอกาสที่จะเป็นโรคแทรกซ้อนได้สูงและอาการจะแย่ลงเรื่อย ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากไซนัสอักเสบ

1. การติดเชื้อที่อาจลุกลามเข้าไปในกระบอกตาซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อรอบ ๆ ตาอักเสบและเกิดเป็นฝีรอบตา (Periorbital abcess) ความรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้เลยทีเดียว โดยจะพบว่า มีอาการตาบวมข้างเดียว แดงรอบ ๆ และในลูกตา หนังตาบวมกดเจ็บ ลูกตาโปน สามารถรักษาได้โดยการฉีดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม และการผ่าตัด

2.โรคแทรกซ้อนขึ้นสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีใต้เยื่อหุ้มสมอง ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อรุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน

3.ริดสีดวงจมูก คือ ก้อนในจมูกที่เกิดจากภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือเกิดจากภูมิแพ้ ไม่ลุกลามไปที่อื่น แต่เบียดกระดูก หากทานยาแก้แพ้จะทำให้ยุบลงได้บ้าง การรักษาทำได้ด้วยการผ่าตัด

แต่อาการแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้ไม่บ่อยนัก ในรายที่มีอาการเรื้อรังอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางปอด หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบได้

สัญญาณเตือน  : หากลูกมีอาการดังนี้ต้องไปพบคุณหมอ

1. คัดจมูกน้ำมูกไหลเพียงข้างเดียว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. มีอาการเกี่ยวกับตาร่วมด้วย เช่น ตาบวม ตามัว

3. มีอาการปวดฟัน ปวดเหงือก ร่วมด้วย

4. มีอาการซึมลง ไม่สดใสร่าเริงเหมือนปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 ได้ทราบกันแล้วนะคะ  ความแตกต่างระหว่างหวัดกับไซนัสอักเสบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  สังเกตอาการได้จากสิ่งใด  สิ่งสำคัญหากลูกเป็นหวัดเรื้อรังบ่อยๆ หรือเป็นหวัดนานไม่หายควรพาไปพบคุณหมอนะคะ  ไม่ควรซื้อยามทานเองอาจทำให้เกิดการดื้อยาได้

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.doctor.or.th

https://health.kapook.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

10 อาหารต้านหวัดให้ลูกน้อยไม่ป่วยบ่อย

ลองยัง? รักษาหวัดให้ลูกแบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องกินยา