พ่อให้ทารกดูด น้ำท่อม พร้อมแชร์ภาพลูกดูดขวด อ้างอยากรู้ว่าเลวร้ายจริงหรือ

เป็นพ่อแบบไหน! พ่อให้ทารกดูดน้ำท่อมพร้อมโพสต์ภาพอวดโลกออนไลน์ อ้างอยากรู้ว่า เลวร้ายจริงหรือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อให้ทารกดูด น้ำท่อม

เพจหมอแล็บแพนด้า โพสต์อันตรายน้ำใบกระท่อมหลังมีภาพ พ่อให้ทารกดูด น้ำท่อม โดยเตือนว่า ให้เด็กกินน้ำท่อมแบบนี้ไม่ได้นะครับ น้ำท่อม มันมีสารเสพติดไมทราไจนีน (Mitragynine) ที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง หลังจากดื่มไปประมาณ 10 นาที ช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะดูร่าเริง สดใส กระปรี้กระเปร่า ไม่งอแง ไม่อยากอาหารหรืออยากนม เหมือนจะดูดีนะ แต่ถ้ากินไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะทำให้ ปากแห้ง ฉี่บ่อย เบื่ออาหาร ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อน นอนไม่หลับ และยิ่งถ้าเสพเยอะเป็นระยะเวลานาน จะทําให้มึนงง คลื่นไส้ คือเมาน้ำท่อมนั่นแหละครับ!! ต่อมาผิวจะเริ่มคล้ำขึ้น เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้าย และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง

 

และถ้าเลิกกินน้ำท่อมหรือใบกระท่อมก็จะส่งผลเสียอีก  น้ำท่อม ทำให้ร่างกายมีปัญหาหลายอย่าง เช่น

  • มีความดันสูง ตัวร้อนกว่าปกติ
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตัว ปวดกระดูก
  • ซึมเศร้า เซื่องซึม ไม่พูด หรืออาจจะก้าวร้าวไปเลยก็ได้
  • นอนไม่หลับ กระวนกระวาย

 

ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย แต่ตอนนี้อย่าให้เด็กกินอีก ให้ลูกกินนมกินสิ่งที่มีประโยชน์สิครับ

พ่อให้ทารกดูดน้ำท่อมพร้อมแชร์ภาพลูกดูดขวด อ้างอยากรู้ว่าเลวร้ายจริงหรือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทารกควรกินอะไร

อาหารที่เหมาะกับวัยทารก (แรกเกิด – 1 ปี)

  • วัยแรกเกิด – 6 เดือน อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กในวัยนี้มีเพียง “นมแม่” เท่านั้น การให้นมแม่ไม่มีการกะเกณฑ์ปริมาณที่ตายตัว คุณแม่ควรยึดหลัก “กินอิ่มหลับสบาย” แต่คุณแม่สามารถประมาณการให้นมแต่ละครั้งนานไม่น้อยกว่า 20 – 30 นาที และให้นมอย่างน้อย 8 ครั้ง / วัน
  • วัย 6 – 7 เดือน ในวัยนี้นอกจากนมแม่แล้ว ควรให้อาหารเสริมซึ่งเป็นอาหารบดวันละ 1 มื้อ เพื่อแทนนมอาจให้อาหารเสริมในช่วงมื้อเช้าหรือมื้อกลางวัน ในช่วงวัย 6 – 7 เดือนนี้ ระบบการย่อยของเด็กเริ่มแข็งแรงขึ้น ดังนั้น ควรเพิ่มเนื้อสัตว์สุกบด เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา นอกจากนี้ควรให้เกเริ่มรับประทานผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซีบำรุงเหงือกและฟัน เพราะวัยนี้ฟันเริ่มขึ้นแล้ว ผลไม้ที่ให้รับประทานเป็นมะละกอสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ เงาะฝานชิ้นบางแล้วยีให้ละเอียดอีกครั้ง หรือจะเป็นองุ่นลอกเปลือกออก หั่นครึ่งนำเมล็ดออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ควรให้ลูกกินในปริมาณน้อย ๆ ก่อน เมื่อเริ่มคุ้นเคยค่อยเพิ่มปริมาณ
  • วัย 8 – 9 เดือน ในช่วงวัยนี้รับประทานอาหารเสริมแทนนมแม่ 2 มื้อ สำหรับอาหารเสริมให้รับประทานอาหารเสริมเหมือนช่วงวัย 6 – 7 เดือน แต่ควรเพิ่มรับประทานผักบดเพิ่มด้วย และเพิ่มผลไม้เป็นอาหารว่าง
  • วัย 10 – 12 เดือน ในช่วงวัยนี้ควรฝึกให้เด็กเริ่มรับประทานอาหารด้วยตนเอง แม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ตาม อาหารเสริมในวัยนี้เนื้อจะเริ่มหยาบขึ้นเพราะเริ่มมีฟันสำหรับบดเคี้ยวได้มากขึ้น อาหารเสริม เช่น ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ สปาเกตตี โดยคุณแม่ต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาต้มสุก ใส่น้ำซุปที่มีเนื้อสัตว์และผัก เพิ่มเพิ่มรสชาติและฝึกการบดเคี้ยว สำหรับอาหารว่างนอกจากผลไม้แล้ว อาจเป็นขนมปังเวเฟอร์เพิ่มเติมก็ได้

สำหรับทารกแรกเกิดควรกินนมแม่ จนถึง 6 เดือนแรกของชีวิต แล้วค่อย ๆ เสริมอาหารที่เหมาะสมตามวัย เพื่อให้ลูกแข็งแรง พ่อแม่ต้องใส่ใจในการเลือกอาหารสำหรับลูกนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีแก้ปัญหาลูกสะอึก หลังกินนม ทารกสะอึกทําไงให้หาย ให้นมลูกเสร็จแล้วลูกสะอึก
ภาษากายทารก หิว เบื่อ ง่วงนอน มีอาการอย่างไร ลูกทำท่านี้หมายความว่าอะไร
อาหารทำร้ายลูก 4 อย่าง ที่แม่ท้องควรหลีกเลี่ยง
ตัดเล็บโดนเนื้อถึงได้รู้! ลูกป่วยโรคเลือดไหลไม่หยุด พบได้แค่ 1 ในล้าน!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya