พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 5 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการลูกวัย 5 ขวบ 5 เดือน มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 5 เดือน

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 5 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร ลูกในวัย 5 ปี 5 เดือน เติบโตแค่ไหน

 

พัฒนาการเด็ก 5 ปี 5 เดือน

เจ้าตัวน้อยในวันนั้น เติบโตไปมากในวันนี้ ลูกวัย 5 ปี 5 เดือน ใกล้จะเข้า 6 ปีเข้าไปทุกที พัฒนาการของลูกเพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งด้านร่างกาย สมอง และทักษะด้านต่าง ๆ มาอัพเดตกันดีกว่าว่า ลูกทำอะไรได้บ้างแล้ว

 

พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ของเด็กวัย 5 ขวบ 5 เดือน

ทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ และทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาขึ้นอย่างมาก การทำงานประสานกันระหว่างมือกับตาก็ดีขึ้น รวมไปถึงทักษะการทรงตัวของลูกด้วย จึงไม่แปลกที่เด็กวัยนี้จะชอบกระโดดไปมา ทั้งกระโดดแบบสองขา หรือกระโดดขาเดียว

พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว 5 ขวบ 5 เดือนที่ทำได้

  • ลูกสามารถใช้ช้อนส้อม ทานอาหารด้วยตัวเองได้อย่างมั่นใจ
  • การจับดินสอหรือจับปากกาของลูก จะจับได้อย่างถูกวิธี
  • ขาและแขนทำงานประสานกันได้อย่างดี
  • เด็กวัยนี้ชอบกระโดด และมักจะกระโดดสลับขาได้ดี ไม่ล้มเหมือนตอนยังเล็ก

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 5 ขวบ 5 เดือน

  • ให้ลูกขีดเขียน วาดรูป ระบายสี เพื่อเพิ่มพูนทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  • เพิ่มเวลาออกกำลังกาย หากิจกรรมกลางแจ้งให้ลูกเข้าร่วม และลดเวลาการเล่นคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ต

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 5 ขวบ 5 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • หากลูกยังวิ่งแล้วล้ม เดินแล้วสะดุด
  • ไม่สามารถยืนด้วยขาข้างเดียวได้ หรือทรงตัวได้ไม่ดี
  • ถ้าการมองเห็นหรือการได้ยินของลูกมีปัญหา
  • หากลูกสูญเสียทักษะที่เคยมี เมื่อตอนยังเล็ก

 

พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 5 ขวบ 5 เดือน

เด็กที่เข้าเรียนอนุบาลแล้ว มักจะมีทักษะหลายอย่างที่ดีขึ้น ลูกจะเริ่มคิดเป็น มีเหตุมีผลมากขึ้น และชอบที่จะค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง การซักถามของลูกเป็นการต่อยอดการเรียนรู้ ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ลูกยิ่งถาม ยิ่งได้เรียนรู้ อย่าเบื่อที่ลูกถามบ่อย ๆ เลยนะแม่

พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็ก 5 ขวบ 5 เดือนที่ทำได้

  • ช่วงวัยนี้ลูกจะชอบเถียง แต่การโต้เถียงของลูกเป็นการสะท้อนความคิด และต่อยอดการใช้เหตุผลของเด็ก
  • ทำตามคำสั่งหรือคำแนะนำง่าย ๆ ได้
  • ลูกเริ่มเข้าใจความหมายของคำว่า ถูก และ ผิด
  • นับเลขได้อย่างน้อย 1-20
  • รู้จักชื่อของตัวเอง เด็กบางคนเขียนชื่อ นามสกุลได้คล่องแล้ว เด็กบางคนรู้จักชื่อพ่อ ชื่อแม่ ของตัวเองด้วย
  • เข้าใจเรื่องรูปร่าง ลักษณะ และสีสัน
  • จดจำเหตุการณ์ในอดีตได้

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 5 ขวบ 5 เดือน

  • เมื่อลูกเริ่มโต้เถียง ให้ถามลูกเพิ่ม เพื่อกระตุ้นให้ลูกอธิบาย ฝึกการใช้ศัพท์
  • เพื่อเพิ่มความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ลูกควรเล่นของเล่นเสริมพัฒนาการ ของเล่นเสริมทักษะให้เหมาะสมกับวัย จำพวกตัวต่อบล็อคหรือเกมปริศนา ที่สำคัญ พ่อแม่ควรอยู่ใกล้ ๆ คอยสังเกตการณ์ ส่งเสียงเชียร์ให้กำลังใจ ไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งเล่นเหงา ๆ
  • พาลูกออกนอกบ้าน ไปเที่ยวทะเล ชมพิพิธภัณฑ์ เดินเล่นสวนสัตว์ สถานที่เหล่านี้จะช่วยพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของลูก การเรียนรู้นอกบ้านนั้น ทำให้เด็กได้ฝึกการสังเกต เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ ด้วยความสนุกสนาน
  • ชวนลูกเล่นเกมต่าง ๆ เช่น เกมตอบคำถามเร็ว โดยคุณแม่เลือกคำถามง่าย ๆ อย่างนิทานที่ลูกชอบ แล้วถามให้ลูกตอบ

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 5 ขวบ 5 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ถ้าลูกมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจโลกภายนอก เก็บตัวเงียบ
  • หากไม่สามารถนับ 1-20 ได้ หรือไม่รูู้จักตัวอักษร

 

พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 5 ขวบ 5 เดือน

จากเด็กน้อยขี้อาย เด็กหลาย ๆ คนก็มีเพื่อนเยอะขึ้น แถมเด็กบางคนยังเป็นศูนย์กลางของกลุ่ม หรือหัวหน้าแก๊งอีกด้วย เด็กน้อยวัยนี้มีทักษะการเข้าสังคมที่เพิ่มขึ้นแล้ว เริ่มมีเพื่อนสนิท หรือเพื่อนที่ชอบเล่นด้วยบ่อย ๆ มาดูพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของลูกกัน

พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็ก 5 ขวบ 5 เดือนที่ทำได้

  • เด็กวัยนี้เข้าใจแล้วว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร ลูกจะแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อคนอื่น ๆ และเมื่อรู้ตัวว่าได้ทำร้ายจิตใจ ทำให้ใครเสียใจ ก็จะทำตัวดีขึ้น แก้ไขพฤติกรรม ขอโทษหรือขอคืนดี
  • แม้ว่าลูกจะรู้สึกเป็นอิสระ แต่พ่อแม่ก็ยังต้องคอยส่งกำลังใจและความรักให้ลูกอยู่เสมอ ในบางครั้งถ้าลูกต้องการกำลังใจก็จะวิ่งเข้าหาพ่อแม่
  • ตอนที่เล่นกับเพื่อน ลูกอาจจะเป็นหัวหน้ากลุ่มหรือผู้นำของกลุ่ม และยังชอบที่จะเล่นกับเด็กเพศเดียวกันกับตัวเอง
  • เด็กจะชอบเล่นกับเพื่อนเสมอ แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่ลูกจะอยากเล่นเพียงลำพัง
  • เจ้าตัวน้อยจะชอบพูดคุย มีนิสัยเป็นมิตร ทั้งกับคนรู้จักหรือแม้แต่คนแปลกหน้า
  • บางครั้งลูกจะโกหก หรือเล่านิทาน (เล่าเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องจริง)
  • ชอบมุกตลก มีอารมณ์ขัน

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 5 ขวบ 5 เดือน

  • ถ้าจับได้ว่าลูกพูดโกหก หรือกำลังเล่านิทาน ไม่ควรไปต่อว่าให้ลูกอาย เพราะนี่คือส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กวัยนี้ ลองพูดคุยเพื่อให้ลูกอธิบายว่า ทำไมถึงโกหกหรือเล่าเรื่องที่ไม่จริง แล้วค่อย ๆ สอนลูกว่าการพูดโกหกไม่ดีอย่างไร
  • สอนลูกเรื่องอันตรายจากคนแปลกหน้า ไม่ควรไปกับคนแปลกหน้า ไม่ควรรับของจากคนแปลกหน้า
  • แสดงความรัก กอดลูก หอมลูก เพื่อให้ลูกสัมผัสได้ถึงความรักของพ่อแม่เสมอ การแสดงความรักจะทำให้ลูกมีสุขภาพใจและอารมณ์ที่ดี
  • การปล่อยให้ลูกไปเล่นกับเพื่อนเป็นเรื่องดี แต่ก็ต้องมีระเบียบวินัย มีการกำหนดช่วงเวลาด้วย

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 5 ขวบ 5 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ถ้าลูกขี้อายมาก ไม่มีความมั่นใจ ไม่อยากพูดคุยกับคนอื่น ๆ ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว
  • หากลูกยังไม่เข้าใจเรื่องอารมณ์หรือความรู้สึกที่หลากหลาย
  • เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ หรือมีแนวโน้มว่าจะมีพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 5 เดือนเสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็กวัย 5 ขวบ 5 เดือน

แม้จะเป็นคำง่าย ๆ แต่ลูกน้อยก็เปล่งเสียงออกมาได้อย่างชัดเจนแล้วนะ! ในวัยนี้ พ่อแม่อาจจะประหลาดใจกับถ้อยคำหรือสําบัดสํานวนที่เจ้าตัวน้อยเอามาใช้ เพราะเด็กน้อยที่เคยพูดไม่ชัดในวันนั้น ในวันนี้เรียนรู้คำศัพท์ได้เยอะแล้ว

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็ก 5 ขวบ 5 เดือนที่ทำได้

  • ลูกจะพูดเป็นประโยคมากขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น แม้แต่คนแปลกหน้าฟังก็ยังเข้าใจ
  • วัยนี้ลูกจะเข้าใจเรื่องของ ขั้นตอน และ คำแนะนำ แล้ว ทั้งยังสามารถให้คำแนะนำกับคนที่อายุน้อยกว่า ญาติ หรือเพื่อนได้ด้วย
  • การเรียนภาษาที่ 2 ในช่วงวัยนี้ หากยังไม่เคยให้ลูกเรียน ก็สามารถเริ่มต้นได้ เพราะช่วงวัยนี้ลูกจะพร้อมเรียนรู้ภาษาอื่นได้
  • ลูกสามารถจดจำคำศัพท์ต่าง ๆ ในหนังสือหรือนิทานเล่มโปรดได้ บางครั้งก็พูดประโยคตอบโต้ที่จำได้จากหนังสือ
  • หากเคยอ่านบทกลอน บทกวี หรือร้องเพลงบ่อย ๆ ลูกก็จะจำได้และร้องตาม

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 5 ขวบ 5 เดือน

  • ลูกไม่ใช่เด็กน้อยอีกต่อไป ลองเลือกใช้คำศัพท์ใหม่ ๆ ในการพูดคุย จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ และควรพูดทุกคำอย่างชัดเจนด้วยประโยคง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
  • ก่อนนอน ให้ลูกลองเล่าเรื่องราวในแต่ละวัน เพื่อให้ลูกฝึกฝนพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
  • หมั่นสอบถามลูกเพื่อกระตุ้นให้ลูกพูดได้ดียิ่งขึ้น
  • เลือกหนังสือที่เหมาะสมกับวัยให้กับลูก การสนับสนุนให้ลูกรักการอ่านตั้งแต่ยังเล็ก ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
  • สอนลูกร้องเพลงใหม่ ๆ หรืออ่านบทกลอน บทกวี

 

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 5 ขวบ 5 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • พูดตะกุกตะกักหรือพูดติดอ่าง
  • ถ้ายังพูดไม่เป็นประโยค พูดได้เป็นคำ ๆ
  • การพูดของลูกยังไม่ชัดเจน
  • ไม่ยอมพูดเลย
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยทำได้ตอนยังเล็ก

 

สุขภาพและสารอาหาร

เด็กทุกช่วงวัยควรได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ การให้ลูกได้รางวัลเป็นขนม เค้ก หรือไอศกรีมบ้างเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ควรให้อย่างมีเหตุผล เว้นระยะห่าง และให้ลูกกินในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน โดยแคลอรี่ที่ลูกควรได้รับในแต่ละวันอยู่ที่ 1200 กิโลแคลอรี่ รวมถึงดื่มน้ำให้เพียงพอด้วย

 

สารอาหาร ปริมาณ ไอเดียมื้ออาหาร
แคลอรี่ 1,200-2,000 กิโลแคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโต และกิจกรรมที่ลูกทำ แซนวิช, ข้าวต้มไก่, ผัดผัก
โปรตีน 0.5 ถ้วย ไก่ย่าง ปลานึ่ง หมูต้ม หรือไข่ต้ม
ผลไม้ 1-1.5 ถ้วย มื้อที่กินซีเรียลหรือมูสลี่ สามารถใส่ผลไม้หั่นชิ้นพอดีคำใส่ลงไปด้วยได้ หรือใส่ผลไม้หลากชนิดลงในโยเกิร์ต
ผัก 1.5-2.5 ถ้วย เลือกผักที่มีไฟเบอร์และธาตุเหล็กสูง เช่น ผักโขม แครอท และบีทรูท

ในแต่ละวันควรให้ลูกกินผัก 2-3 ชนิด

ข้าวและธัญพืช 3/4 ถ้วยตวง ข้าว ขนมปังโฮลวีต หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว
ผลิตภัณฑ์จากนม 2.5 ถ้วย นมสด 1 แก้ว หรือเลือกโยเกิร์ต

 

  • ควรให้ลูกดื่มน้ำเปล่าเป็นอย่างแรก แต่ถ้าแม่อยากให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ แนะนำน้ำผลไม้คั้นสดจะดีที่สุด
  • อาหารของลูกควรเป็นอาหารที่ปรุงสุก สด ใหม่ ดีกว่าอาหารค้างคืนหรืออาหารแช่แข็ง
  • เริ่มให้ลูกกินอาหารที่ใกล้เคียงกับอาหารของผู้ใหญ่ เพื่อให้ลูกเรียนรู้รสชาติใหม่ ๆ
  • สอนมารยาทบนโต๊ะอาหาร

 

วัคซีนและอาการป่วยของเด็ก 5 ขวบ 5 เดือน

ลูกในช่วงวัยนี้ ควรพาไปพบทันตแพทย์อย่างต่อเนื่อง และคอยดูแลสุขภาพของลูก ส่วนวัคซีนก็ต้องสอบถามกับคุณหมอเพิ่มเติมว่า ควรฉีดวัคซีนเสริมตัวไหนอีกบ้าง โดยเฉพาะวัคซีนประจำปี

 

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 5 เดือนจะแตกต่างกัน เด็กบางคนทำได้แล้ว แต่พัฒนาการเด็กบางคนยังทำไม่ได้ เป็นเรื่องปกติ แต่ก็ต้องระวังลูกพัฒนาการช้า ด้วยการสังเกตว่าลูกมีพัฒนาการตามวัยหรือไม่ และมีอะไรที่น่ากังวลหรือเปล่า ถ้าพ่อแม่รู้สึกไม่สบายใจกับพัฒนาการของลูก อย่าลังเลที่จะปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ

 

 

ที่มา: sg.theasianparent

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 3 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

แบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก แต่ละช่วงอายุ ตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี [ออนไลน์] เช็กเลย!

ลดการเล่นโทรศัพท์ แบ่งเวลาเล่นโทรศัพท์ มาเล่นกับลูก ลดการใช้มือถือต้องทำทั้งครอบครัว

 

บทความโดย

Tulya