ผ่าคลอด มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ผ่าคลอดแนวขวางหรือแนวตั้งดีกว่ากัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การคลอดบุตรนั้นมีทั้งแบบคลอดธรรมชาติ และ ผ่าคลอด ซึ่งการคลอดทั้ง 2 แบบ จะมีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป และคุณแม่บางรายตัดสินใจเลือกการคลอดแบบธรรมชาติ แต่เมื่อถึงเวลาก็มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนเป็นการผ่าคลอดด้วยเหตุผลนานัปการ แต่คุณแม่บางราย ก็เลือกที่จะทำการผ่าคลอดตั้งแต่แรก ซึ่งการศึกษาเกี่ยวกับการผ่าคลอดเอาไว้ก่อนนั้น จะทำให้ตัวคุณแม่ไม่เกิดความประหม่า มีการเตรียมพร้อมในการผ่าคลอด และการที่เรารู้ข้อดี – ข้อเสีย ก่อนนั้น จะทำให้ตัวคุณแม่ จะสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

 

 

ผ่าคลอด เป็นยังไง มีปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่แม่ท้องควรรู้

โดยปกติแพทย์ผู้ดูแลมักจะแนะนำให้คุณแม่คลอดแบบธรรมชาติก่อน เพราะการคลอดเองตามธรรมชาตินั้น นอกจากจะเสียเลือดน้อย และฟื้นตัวไวแล้ว กระบวนการคลอดแบบธรรมชาติยังสร้างแบคทีเรียชนิดดีที่ทำให้ลูกน้อยได้รับภูมิคุ้มกันเพิ่มโดยอัตโนมัติอีกด้วย

แต่การผ่าคลอดนั้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการคลอดบุตร ที่คุณหมอมักแนะนำให้แก่คุณแม่ที่มีแนวโน้มว่าจะคลอดยาก หรือมี ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในขณะตั้งครรภ์ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายหากคลอดตามธรรมชาติ เช่น ลูกตัวใหญ่มาก, รกเกาะต่ำ, ลูกอยู่ท่าก้น, ปากมดลูกไม่เปิด หรืออื่น ๆ ซึ่งการเทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้การผ่าคลอดนั้น มีความปลอดภัยทั้งต่อคุณแม่และลูก ไม่ต้องกังวลเรื่องอันตรายใด ๆ

คุณพ่อคุณแม่บางครอบครัว มีความเชื่อในเรื่องของฤกษ์วันคลอด หรือมีความกังวลเกี่ยวกับการเบ่งคลอดด้วยตนเอง จึงเลือกที่จะผ่าคลอดเพื่อความสบายใจ ซึ่งพบว่าปัจจุบัน มีหลายครอบครัวที่เลือกวิธีผ่าคลอดด้วยเหตุผลเหล่านี้เช่นกัน

 

 

ผ่าคลอด มีกี่รูปแบบ มีข้อดี – ข้อเสียต่างกันอย่างไร

การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดบริเวณหน้าท้องเพื่อการคลอดบุตร (Cesarean section) เป็นการผ่าตัดเพื่อทำการเปิดช่องท้อง และผนังมดลูกของคุณแม่เพื่อนำทารกออกจากถุงน้ำคร่ำ จากนั้นแพทย์จะทำการนำรกออกจากครรภ์ให้หมด แล้วจึงเย็บปิดปากแผลบริเวณมดลูก และหน้าท้องของคุณแม่ ซึ่งจะใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 45 นาที – 1 ชั่วโมง สำหรับรูปแบบการผ่าคลอดนั้น โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 วิธีการ ซึ่งมีข้อดี ข้อเสีย และความแตกต่างกัน ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • การผ่าคลอดแนวยาวตรง หรือแนวตั้งกลางตัวคุณแม่ (Vertical Midline Incision)

ปัจจุบัน การผ่าคลอดแนวตั้ง เป็นวิธีการที่ไม่นิยมมากนัก แพทย์จะพิจารณาให้ผ่าตัดลักษณะแนวตั้งในกรณีที่คุณแม่บางรายมีภาวะฉุกเฉิน หรือมีข้อบ่งชี้ต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องผ่าคลอดในแนวตั้ง เพราะใช้เวลาไม่นานก็สามารถนำเด็กออกมาได้โดยง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อื่นช่วยในการทำคลอดมากนัก

ซึ่งลักษณะของแผลผ่าคลอดจะเป็นเส้นตรงแนวดิ่งตรงช่วงกลางลำตัว โดยเริ่มจากบริเวณต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย ยาวลงมาจนจรดบริเวณเหนือหัวหน่าว ความยาวของแผลจะยาวประมาณ 10 เซนติเมตร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ข้อดีของการผ่าคลอดแนวตั้ง

  • เป็นแนวแผลมาตรฐาน สามารถผ่าตัดอวัยวะอื่นในช่องท้องได้ด้วย
  • ใช้เวลาในการผ่าตัดเพื่อเข้าสู่ช่องท้องได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับคุณแม่ที่ต้องการความเร่งด่วนหรือมีปัจจัยจำเป็นในการคลอด
  • สามารถขยายแผลได้ง่ายหากมีกรณีจำเป็น
  • ผ่าตัดง่าย สะดวก
  • ช่วยคลอดทารกได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะกรณีที่ทารกอยู่ผิดท่า หรือ ตัวใหญ่กว่าปกติ
  • มีภาวะแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัดน้อยกว่า

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อเสียของการผ่าคลอดแนวตั้ง

  • เจ็บแผลผ่าตัดมากกว่า เนื่องจากแผลเป็นแนวตั้ง ทำให้ขยับตัวยากเมื่อลุกขึ้น
  • ฟื้นตัวช้ากว่า
  • มีแผลเป็นมากกว่า เห็นรอยแผลได้ชัดเจน

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้ก่อนพร้อมก่อน 5 สิ่งที่แม่ท้องทุกคนต้องรู้ก่อนผ่าคลอด และ เทคนิคดูแลแผลผ่าคลอดให้สวยเนียน

 

 

  • การผ่าคลอดแนวขวาง หรือ แนวบิกินี่ (Tranverse Incision)

การผ่าคลอดแนวขวาง เป็นแนวทางการผ่าคลอดที่ได้รับความนิยมมากกว่าแนวตั้ง โดยแพทย์จะผ่าเป็นแนวขวางที่ผนังหน้าท้องด้านล่าง ตำแหน่งอยู่เหนือกระดูกหัวหน่าวประมาณ 2 เซนติเมตร หรือบริเวณขอบบิกินี่ ซึ่งทำให้คุณแม่ที่ชอบใส่บิกินี่ หรือมีความกังวลเกี่ยวกับรอยแผลเป็นมีความมั่นใจมากขึ้น เพราะรอยแผลผ่าคลอดจะมีขนาดเล็ก และมองเห็นไม่ชัดนัก

วิธีผ่าคลอดในลักษณะนี้จะใช้เวลาผ่าตัดยาวนานกว่าแบบการผ่าแนวตั้ง และจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์อื่นเข้าช่วยด้วย และไม่เหมาะหากจำเป็นจะต้องผ่าตัดอวัยวะอื่นในขณะเดียวกัน

 

ข้อดีของการผ่าคลอดแนวขวาง

  • เจ็บแผลผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าคลอดแนวตั้ง เนื่องจากมีบาดแผลแนวนอนตามรอยพับของหน้าท้อง ทำให้รู้สึกเจ็บแผลน้อยกว่าเวลาขยับตัว
  • แผลเป็นน้อยกว่า เล็กกว่า เพราะลงมีดตามแนวรอยพับของพุง สามารถปิดบังแผลได้ดีในกรณีใส่เสื้อเอวลอย

 

ข้อเสียของการผ่าคลอดแนวขวาง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ใช้เวลาในการผ่าตัดเข้าสู่ช่องท้องนานกว่า ผ่าตัดได้ยากกว่า โดยเฉพาะในกรณีที่มีพังผืดในช่องท้องร่วมด้วย
  • เหมาะแก่การผ่าตัดคลอดที่ไม่เร่งด่วนมาก
  • ช่วยคลอดทารกได้ยากกว่า เนื่องจากรอยแผลอยู่ต่ำ ต้องเพิ่มการใช้อุปกรณ์ช่วยคลอดศีรษะทารก
  • หากมีการผ่าตัดอื่นในช่องท้องร่วมด้วยจะทำได้ยากกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด พักฟื้นตัวที่บ้านยังไง ให้แผลผ่าตัดสมานตัวได้เร็ว

 

 

การผ่าคลอดเหมาะกับใคร

โดยปกติแพทย์ผู้ดูแล มักจะแนะนำคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ให้คลอดด้วยวิธีธรรมชาติก่อน หากแต่ถ้าคุณแม่มีความเสี่ยงต่าง ๆ เกิดขึ้น แพทย์จะเลือกการคลอดด้วยวิธีผ่าตัดให้โดยทันที เช่น

 

  • มีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องทำการคลอดโดยเร็ว เช่นสายสะดือย้อย (Umbilical Cord Prolapsed) เป็นต้น
  • ทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น ทารกอยู่ในท่าขวาง (Transverse Lie) ท่าก้น (Breech Presentation) หรือกรณีที่เป็นครรภ์แฝด
  • ทารกอยู่ในภาวะวิกฤติ เช่น ครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง มีการแตกของมดลูก (Uterine Rupture) เสียงหัวใจทารกเต้นช้าผิดปกติ (Fetal Distress)
  • มีความผิดปกติของรก เช่น รกเกาะต่ำขวางปากมดลูก (Placenta Previa) หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placental Abruption) ทำให้มีการตกเลือดก่อนคลอด
  • มารดาเคยผ่าตัดคลอดมาก่อนแล้ว (Previous Uterine Scare) ซึ่งหากคลอดธรรมชาติ ก็จะเคยความเสี่ยงต่อการแตกของมดลูกได้
  • การติดเชื้อของมารดา เช่น มารดาเป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศ การคลอดแบบธรรมชาติ จะทำให้เด็กเกิดการติดเชื้อได้
  • ภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารก และอุ้งเชิงกราน (Cephalopelvic Disproportion : CPD) ทารกมีลำตัวใหญ่เกินไป ศีรษะใหญ่เกินไป ทำให้เด็กไม่สามารถลอดผ่านเชิงกรานของแม่ออกมาได้
  • คุณแม่อยู่ในภาวะคลอดยาก (Obstructed labor) หรือคลอดเนิ่นนาน (Prolong of Labor) ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ เช่น ช่องคลอดฉีกขาด เสียเลือดมาก มดลูกแตก ทารกเกิดการบอบช้ำจากการคลอดยาก เป็นต้น

 

 

การผ่าคลอดอันตรายจริงหรือไม่?

แม้ว่าการผ่าคลอดในปัจจุบันจะมีความปลอดภัยสูง และถ้าเทียบกับการคลอดแบบธรรมชาติแล้ว การผ่าตัดคลอดนั้นนับว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการผ่าตัดคลอดนั้น จะทำให้ร่างกายเกิดบาดแผลขึ้นทั้งภายนอก และภายในร่างกาย จึงทำให้มีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งระยะการตั้งครรภ์ในครรภ์ถัดไปที่ต้องเว้นช่วง หรือแม้แต่การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด

 

 

ข้อดีของการผ่าคลอดมีอะไรบ้าง

แม้ว่าการผ่าคลอดจะทำให้เกิดบาดแผลที่ไม่น่าพึงพอใจสำหรับผู้หญิง แต่ข้อดีของการผ่าคลอดก็มีมากพอที่จะให้คุณแม่หลายคนตัดสินใจเลือกวิธีนี้ ได้แก่

 

  • สามารถกำหนดเวลาได้อย่างชัดเจน : บางครอบครัวถือเรื่องฤกษ์ยามทั้งวัน และเวลาในการคลอด เพื่อความเป็นสิริมงคลสำหรับตัวเด็ก ทั้งนี้แพทย์ผู้ดูแลจำเป็นจะต้องดูความพร้อมของเด็กในครรภ์เป็นหลัก ว่าร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เหมาะสมกับเวลาคลอดนั้น ๆ หรือไม่
  • ไม่ต้องรอคลอดนาน : เนื่องจากการผ่าคลอดนั้น จะเน้นที่ตัวเด็กเป็นหลัก ถ้าหากมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์สามารถทำการผ่าคลอดได้ แพทย์ก็จะทำการผ่าคลอดให้ได้โดยทันที โดยไม่จำเป็นจะต้องรอให้ปากมดลูกเปิด เหมือนการคลอดแบบธรรมชาติ
  • ลดความเจ็บปวดขณะคลอด : กระบวนการการผ่าคลอดนั้นจำเป็นจะต้องวางยาสลบให้กับคุณแม่ หรือบล็อกหลัง ทำให้คุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดในขณะที่คลอด แม้ว่าจะเจ็บแผลผ่าตัดหลังคลอด แต่คุณแม่จะสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
  • ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ : การคลอดแบบธรรมชาติคุณแม่จะต้องใช้แรงเบ่งในการคลอด จึงส่งผลให้เกิดการยืดของกะบังลมบริเวณเชิงกราน การใช้แรงเบ่งที่มากกว่าปกติ อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้
  • ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการคลอดธรรมชาติ : ในการคลอดแบบธรรมชาติบางครั้ง อาจเกิดความเสี่ยงในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถเบ่งคลอดได้ หรือปากมดลูกไม่เปิด หรือเด็กไม่กลับตัว การผ่าคลอดจะสามารถช่วยข้อจำกัดเหล่านี้ไปได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผ่าคลอดท้องแรก แต่คลอดธรรมชาติท้องสอง ทำได้หรือ?

 

 

การผ่าคลอดต้องรอให้เจ็บท้องก่อนหรือไม่?

การผ่าตัดคลอดนั้นไม่จำเป็นจะต้องรอให้เจ็บท้องคลอด หรือรอให้มีอาการน้ำเดิน เหมือนการคลอดแบบธรรมชาติ ทั้งนี้แพทย์ผู้ดูแล จะทำการประเมินจากสุขภาพของทารกในครรภ์ และคุณแม่เป็นหลัก ซึ่งการผ่าคลอดนั้น เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ

 

  • ผ่าคลอดฉุกเฉิน

ในกรณีนี้แพทย์จะทำการพิจารณาว่ามีความจำเป็นต่อการผ่าตัดคลอดอย่างเร่งด่วน เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ และทารกในครรภ์

 

  • การวางแผนผ่าคลอด

หากแพทย์ตรวจพบว่า คุณแม่ หรือทารกในครรภ์มีความเสี่ยง และไม่สามารถคลอดด้วยวิธีธรรมชาติได้ ในกรณีนี้ ทางแพทย์จะเป็นจะต้องวางแผนการผ่าคลอดเอาไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้จะไม่นับรวมกรณีที่คุณแม่แจ้งความประสงค์ว่าตนเองต้องการเลือกการผ่าคลอดด้วยเหตุผลส่วนตัว ซึ่งคุณหมอจะทำการพิจารณาการร้องขอเป็นกรณีไป

 

ทั้งนี้แม้ว่าคุณหมอจะแนะนำการคลอดแบบธรรมชาติให้กับคุณแม่เป็นทางเลือกต้น ๆ ซึ่งอาจทำให้คุณแม่บางส่วนเกิดความกังวลใจไปบ้าง แต่อย่าเพิ่งวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการฝากครรภ์ และเข้าพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่อง สำหรับการคลอดนั้น จะมีการประเมิน และพูดคุย เพื่อตัดสินร่วมกันระหว่างคุณแม่ และแพทย์ผู้ดูแล เพื่อเลือกวิธีคลอดที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ และทารกในครรภ์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กผ่าคลอด กับ คลอดธรรมชาติ พัฒนาการต่างกันอย่างไร

ผ่าคลอดเจ็บไหม กี่วันหาย ผ่าได้กี่ครั้ง ตอบคำถามทุกข้อสงสัยจากการผ่าคลอด

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด ปฏิทินฤกษ์คลอดบุตร ประจำปี 2566 ปีกระต่ายทอง

ที่มา : bangkokhospital, paolohospital, nakornthon

บทความโดย

Arunsri Karnmana