11 ขั้นตอน ปั๊มนมด้วยมือ ปั๊มได้ไม่ยาก ไม่ต้องง้อเครื่อง !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เวลาออกไปข้างนอก บางครั้งคุณแม่ให้นมอาจรีบไปบ้าง หยิบไปทุกอย่าง แต่ดันลืมเครื่องปั๊มนม จนเกิดความกังวล ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป หากคุณแม่รู้จัก หรือเรียนรู้วิธีการ ปั๊มนมด้วยมือ ทำได้ทุกที่ เพราะไม่ต้องง้อเครื่อง ไว้เอาไว้ทำตอนฉุกเฉิน รับรองว่าหายห่วงลูกน้อยแน่นอน จะทำได้อย่างไร วิธีไหนนั้น ลองอ่านในบทความนี้ดูได้เลย

 

ปั๊มนม ปั๊มด้วยมือ 

ปั๊มนม ปั๊มด้วยมือ ได้ไม่ต้องง้อเครื่อง ! ทุกครั้งที่ไปนอกบ้าน คุณแม่หลาย ๆ ท่านก็อาจจะติดปัญหาที่จะต้องพกเครื่องปั๊มนมไปด้วย จึงทำให้ไม่ได้ปั๊มนมไปนานหลายชั่วโมง  จนในบางครั้ง ทำให้นมของคุณแม่แข็งเป็นไต หรืออาจเตรียมเครื่องไป ซึ่งคุณแม่อาจยังไม่รู้ว่าถึงไม่ใช้เครื่อง ก็ยังสามารถปั๊มนมได้อยู่เหมือนเดิม หากรู้วิธีการทำที่ถูกต้อง ดังนั้นวันนี้เราจะนำวิธีการปั๊มนมด้วยมือมาเสนอกัน โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ใน 11 ขั้นตอน หากคุณแม่กลัวว่าจะทำตามไม่ถูกก็สามารถทำตาม Video ด้านล่างนี้ได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมถึงต้องปั๊มนม ตอบเหตุผลทำไมต้องปั๊ม เพื่อคุณภาพนมที่เหมาะสมกับลูกน้อย

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

11 ขั้นตอน ปั๊มนมด้วยมือ ทำได้ไม่ยาก

ขั้นตอนการปั๊มนมด้วยมือสามารถทำได้ ร่วมกับผ้าคลุมให้นม เพราะเมื่ออยู่ข้างนอก อาจมองหาสถานที่ปลอดสายตาผู้คนได้ยาก ผ้าคลุมให้นมที่นำมาปิดจึงเป็นทางเลือกที่ต้องพกติดตัวไว้ หากคุณแม่พร้อมแล้ว มาดูกันดีกว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง

 

  1. ขั้นตอนแรกเริ่มจากการเตรียมถุงเก็บน้ำนม หรือภาชนะใส่น้ำนมที่ผ่านการล้าง และต้มในน้ำเดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรคออกไป และควรเป็นขวดปากกว้างหรือถ้วยที่ทำจากแก้วหรือพลาสติกแข็ง ไม่ควรใช้ภาชนะโลหะ เนื่องจากเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในน้ำนมจะเกาะภาชนะ ทำให้ภูมิต้านทานที่ลูกน้อยจะได้รับนั้นมีปริมาณลดต่ำลง
  2. ทำจิตใจให้สบายเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย พยายามอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก วางภาชนะหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ใกล้ ๆ มือ
  3. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่ก่อนทำการบีบน้ำนม
  4. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมประมาณ 1 – 3 นาทีก่อนที่จะทำการบีบน้ำนม
  5. นวดเต้านม และคลึงเต้านมเบา ๆ ให้เป็นลักษณะวงกลม โดยเริ่มจากฐานเต้านมเข้าหาหัวนม จากนั้นค่อย ๆ ใช้นิ้วดึงหัวนม และคลึงเบา ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำนม
  6.  วางปลายนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ให้ห่างออกจากขอบของลานนมเล็กน้อย ในตำแหน่งที่ตรงข้ามกัน โดยจะมีลักษณะเป็นรูปตัว C และวางให้นิ้วห่างจากหัวนมประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร แล้วกดนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้เข้าหาผนังหน้าอก
  7. บีบนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้เข้าหากันเบา ๆ ลึกลงไปด้านหลังของลานนม แล้วปล่อยมือออกให้เป็นจังหวะ โดยการบีบจะเป็นการเลียนแบบลักษณะการดูดนมของลูก แต่อย่าบีบแต่ตรงปลายหัวนม และไม่ควรรีดคั้นเต้านม กดหัวนม หรือดึงหัวนม เพราะนั่นไม่ได้ช่วยให้น้ำนมไหลออกมามากขึ้น แต่อาจจะทำให้คุณแม่เจ็บหัวนมหรืออาจทำให้หัวนมอักเสบได้
  8. ค่อย ๆ ทำตามข้อ 7 ซ้ำ ๆ โดยคุณแม่ต้องใจเย็น ๆ เพราะน้ำนมอาจจะยังไม่ไหลออกมาเลยทีเดียว ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องทำไปถึง 1 หรือ 2 นาที กว่าน้ำนมจะไหล
  9. หากคุณแม่เริ่มรู้สึกว่าน้ำนมของคุณแม่เริ่มน้อยลงแล้ว ให้เปลี่ยนตำแหน่งของนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ที่กดลานนมไปรอบ ๆ ให้ทั่ว จากนั้นค่อย ๆ บีบน้ำนมออกมา
  10. เปลี่ยนไปนวดคลึง และบีบน้ำนมออกจากเต้านมอีกข้าง โดยปกติแล้ว จะใช้เวลาในการบีบน้ำนมข้างละประมาณ 5 – 10 นาที และหากคุณแม่มีอาการเมื่อยนิ้วมือ ก็สามารถลองเปลี่ยนมาใช้นิ้วมืออีกข้างได้
  11. คุณแม่ควรบีบน้ำนมสลับกันไปมาทั้ง 2 ข้าง จนกว่าจะรู้สึกว่าเต้านมนิ่มลง และรู้สึกว่าไม่มีน้ำนมแล้ว หรือจนกว่าจะได้น้ำนมตามปริมาณที่ต้องการ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 20 – 30 นาที

 

อย่างไรก็ตาม เต้านมของแต่ละคนนั้น จะมีลักษณะรูปร่างที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นคุณควรลองขยับตำแหน่งของนิ้วมือตอนบีบนม แล้วดูว่าจุดไหนเหมาะสมที่สุด ที่สำคัญคือ ในการบีบน้ำนมแม่ด้วยมือนั้น ต้องทำอย่างนุ่มนวล และถูกวิธี จึงจะทำให้ไม่เจ็บ และมีน้ำนมออกมามากพอ เพราะปริมาณน้ำนมของคุณแม่นั้นจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการบีบกระตุ้นเต้านมโดยตรง ซึ่งคุณแม่ควรทำอย่างน้อยทุก 3 ชั่วโมง จึงจะได้ผลดีที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคและวิธีเลือกเครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่ต้องรู้ เวลาไม่อยู่บ้าน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ปั๊มนมด้วยมือเก็บรักษาอย่างไรให้ดีที่สุด ?

การเก็บรักษานมแม่ ไม่ว่าจะจากการปั๊มนมด้วยวิธีไหนก็ตาม มีการเก็บที่เหมือนกัน นั่นคือเก็บในตู้เย็นตามปกติ โดยการเลือกช่องในการเก็บนั้น จะทำให้รักษาอายุของนมแม่ได้แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เก็บน้ำนมแม้ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาที่ไม่มีของอื่นปน จะเก็บได้ประมาณ 5 วัน
  • เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา และมีสิ่งของอื่น ๆ วางปะปนอยู่ด้วย จะเก็บได้ประมาณ 2 – 3 วัน
  • น้ำนมแม้ที่เก็บไว้ในตู้เย็นช่องแข็ง และไม่มีอาหารอื่นวางอยู่ด้วย จะเก็บได้ประมาณ 2 อาทิตย์
  • นมแม่เก็บไว้ในตู้เย็นช่องแข็ง แต่มีอาหารอื่นปน จะเก็บได้ประมาณ 1-2 เดือน

 

นอกจากนี้หากคุณแม่ปั๊มนมด้วยมือไว้จำนวนเยอะ ๆ เมื่อจะนำออกมาให้ลูกกินอย่าลืมที่จะอุ่นก่อน และเรียงลำดับจากนมที่ปั๊มก่อน – หลังให้ดี เพื่อเลี่ยงการสูญเสียนมจากการหมดอายุโดยไม่จำเป็น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

4 เรื่องที่ควรรู้ไว้ก่อนซื้อเครื่องปั๊มนม หลังคลอดเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมแบบไหนดี

แนะนำ 8 เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าที่ดีที่สุด ปี 2023 ตอบโจทย์คุณแม่ที่มีเวลาน้อย

คู่มือปั๊มนมสำหรับคุณแม่ อยากสะสมน้ำนม สต็อกน้ำนม จะเริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี

ที่มา : Sikarin, Nakornthon

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth