คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คน เห็นสายสะดือที่ยังไม่หลุดก็กลัวว่าจะไปแตะต้องไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้ว หากไม่รักษาความสะอาด สะดือของทารกนั้นจะติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นการดูแลทำความสะอาดสะดือทารก จึงถือเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญมาก ๆ นะคะ โดยเฉพาะควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังอาบน้ำเจ้าตัวน้อย วิธีทำความสะอาดสะดือทารก สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ก็ไม่ยากอย่างที่คิด หลังคุณแม่พาลูกน้อยกลับบ้านแล้วจะดูแลทำความสะอาดสะดือทารกอย่างไร มาดูวิธีทำความสะอาดสะดือทารกกันค่ะ
สายสะดือทารก คืออะไร ?
สายสะดือเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างทารกในครรภ์กับรก ในระหว่างที่ทารกอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ สายสะดือเป็นส่วนหนึ่งทางสรีรวิทยาและพันธุกรรมของทารกในครรภ์ โดยปกติจะมีหลอดเลือดแดงสองเส้น (หลอดเลือดแดงสะดือ) และหลอดเลือดดำหนึ่งเส้น เส้นเลือดที่สะดือจะส่งเลือดที่อุดมด้วยออกซิเจน และสารอาหารจากรกให้กับทารกในครรภ์ ในทางกลับกัน หัวใจของทารกในครรภ์จะสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ และขาดสารอาหารผ่านหลอดเลือดแดงที่สายสะดือกลับไปยังรก
เลือดที่ไหลผ่านสายสะดือ จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำหนักของทารกในครรภ์
- 35 มล./นาที ที่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์
- 240 มล./นาที ที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
- 115 มล./นาที/กก. ที่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์
- 64 มล./นาที/กก. ที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์นั่นเองค่ะ
เมื่อลูกของคุณเกิดมา สายสะดือจะถูกตัดและเหลือแต่ตอเอาไว้ ตอสะดือที่เหลืออยู่ควรแห้ง และหลุดออกเมื่อลูกของคุณอายุ 5 ถึง 15 วัน รักษาสะดือให้สะอาดด้วยผ้าก๊อซ แอลกอฮอล์หรือน้ำยาสำหรับทำความสะอาดสะดือ และน้ำเท่านั้น และควรปล่อยให้ตอหลุดเองตามธรรมชาติ อย่าพยายามดึงออกแม้ว่าจะเป็นเพียงเศษสะดือเล็ก ๆ ที่ห้อยอยู่ก็ตาม
บทความที่เกี่ยวข้อง : 20 ภาพถ่าย กับเรื่องราว ความมหัศจรรย์ของ สายสะดือ
วิธีทำความสะอาดสะดือทารก ให้หมดจดทำอย่างไร
วิธีทำความสะอาดสะดือ การทำความสะดือที่เรียกว่า สะดือเปียกกับสะดือแห้ง แตกต่างกันคือ สะดือเปียก คือสะดือที่อยู่ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ส่วนสะดือแห้ง คือการทำความสะอาดสะดือประจำวันหลังคลอดไปแล้ว 24 ชั่วโมง ซึ่งขั้นตอนนี้คุณแม่สามารถทำเองได้หลังจากพาลูกกลับบ้าน
บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 สิ่งที่ห้ามใช้กับสะดือเด็กแรกเกิด ถ้าไม่อยากให้สะดือลูกติดเชื้อ
ขั้นตอนการทำความสะอาดสะดือทารก วิธีทำความสะอาดสะดือ
1. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดสะดือลูกในพร้อม ได้แก่ คอตตอนบัดหรือสำลี น้ำยาสำหรับเช็ดสะดือที่ทางโรงพยาบาลเตรียมมาให้ หรือแอลกอฮอล์ 70% หรือน้ำสะอาด และล้างมือให้สะอาดก่อนทำความสะดือทารก
2. เทน้ำยาสำหรับเช็ดสะดือลงบนปลายคอตตอนบัดให้พอชุ่ม
3. จับที่ปลายสะดือลูก และใช้คอตตอนบัดรูดเช็ดบริเวณโคนสะดือ ถึงปลายทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ซึ่งอาจมีเศษเนื้อเยื่อรอบสะดือยังติดอยู่ให้สะอาด และเปลี่ยนคอตตอนบัดก้านใหม่มาเช็ดซ้ำ
4. วิธีทำความสะอาดสะดือ ใช้สำลีเช็ดวนรอบสะดือ โดยเช็ดบริเวณโคนสะดือ และบริเวณผิวหนังรอบ ๆ สะดือ จากด้านในออกมาด้านนอก และไม่เช็ดย้อนไปย้อนมา เช็ดเที่ยวเดียวแล้วเปลี่ยนสำลีใหม่เช็ด
5. หลังเช็ดควรปล่อยให้สะดือแห้งทุกครั้ง ไม่ใช้แป้ง หรือยาโรยสะดือทุกชนิดกับทารก และไม่ควรให้เสื้อผ้า หรือผ้าอ้อมทับบริเวณสะดือ หากเป็นไปได้ พยายามใส่ผ้าอ้อมให้ต่ำกว่าสะดือของลูกน้อย เพราะหากสะดือไม่แห้งและอับชื้น จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและติดเชื้อง่าย
บทความที่เกี่ยวข้อง : สายสะดือพันคอ อันตรายไหม? จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อสายสะดือพันคอเด็ก?
สัญญาณของการติดเชื้อที่สะดือ
- มีกลิ่นเหม็น
- น้ำเหลืองออกมาเยอะผิดปกติ หรือมีหนอง
- แดง บวม บริเวณผิวหนังรอบ ๆ สะดือ
ระวังสัญญาณของการติดเชื้อที่รุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์
- กินนมได้น้อยลง
- มีไข้ 38 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า
- ง่วงซึมมากผิดปกติ
- หากดึงสายสะดือออกเร็วเกินไป อาจมีเลือดออกได้ หมายความว่าทุกครั้งที่คุณแม่เช็ดแล้วมีเลือดออก พอเช็ดอีกก็จะมีเลือดไหลออกมาอีกเรื่อย ๆ หากตอสายสะดือยังมีเลือดไหลอยู่ ให้พาลูกน้อยไปหาคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ
- บางครั้ง แทนที่แผลจะแห้งสนิท สายสะดือจะสร้างเนื้อเยื่อแผลเป็นสีชมพูที่เรียกว่าแกรนูโลมาขึ้นมา แกรนูโลมาจะระบายของเหลวสีเหลืองอ่อน ส่วนใหญ่มักจะหายไปในประมาณ 1 สัปดาห์ หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็ควรไปหาคุณหมอค่ะ
- หากตอของทารกไม่หลุดภายใน 4 สัปดาห์ (และน่าจะเร็วกว่านี้) ก็ควรไปหาคุณหมอเช่นกัน เพราะอาจมีปัญหาเกี่ยวกับกายวิภาค หรือระบบภูมิคุ้มกันของทารกได้นั่นเองค่ะ
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไม่ต้องกังวลว่า การเช็ดทำความสะอาดสะดือนั้น จะทำให้ลูกน้อยเจ็บนะคะ สามารถเช็ดทำความเบา ๆ ตามขั้นตอนได้ เพราะบริเวณรอบสะดือไม่มีประสาทรับความรู้สึก ควรเช็ดทำความสะอาดสะดืออย่างน้อยหลังอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง โดยทั่วไป สายสะดือทารกจะแห้งหลุดประมาณ 7-14 วันหลังคลอด หลังสะดือหลุดแล้ว อาจจะมีน้ำเหลือง หรือเลือดออกมาบ้างเล็กน้อย ถือเป็นเรื่องปกติ ควรทำความสะอาดต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าสะดือจะแห้ง และยุบเข้าไปเหมือนสะดือปกติทั่วไปค่ะ
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสะดือทารก ได้ที่นี่!
การดูแลตอสะดือลูก ต้องทำอย่างไรบ้างคะ ทำความสะอาดยังไงบ้างคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีดูแลผิวทารก ทำอย่างไรให้ลูกผิวดี สดใส ไร้ขุย
ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด อันตรายแค่ไหน
ที่มา : 1, mountsinai, wikipedia
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!