ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์นั้น แม่ท้องสามารถเป็นเบาหวานได้นะคะ และอันตรายด้วย โดยหากเป็นเบาหวานขึ้นมาก็จะมีผลกระทบทั้งตัวแต่แม่ท้อง และ ลูกในครรภ์ วันนี้ theAsianparent พามาศึกษา 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล อันตรายแค่ไหน ควรจะมีค่าน้ำตาลเท่าไหร่ มาดูกัน
ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 35 ทำไมแม่ท้องต้องระวังน้ำตาล
ระดับน้ำตาลในแม่ท้องนั้น จะบอกได้เลยว่าคนท้องมีโอกาสเป็นเบาหวานหรือไม่ เพราะว่าปัญหาที่คนท้องส่วนใหญ่พบเจอก็คือเรื่องของเบาหวานนั่นเอง สาเหตุที่ทำให้คนท้องเป็นเบาหวานได้ง่ายก็มาจากฮอร์โมนในรก เพราะว่ารกจะคอยสร้างฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) ที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ก็ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนั่นเอง
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
การเป็นเบาหวาขณะตั้งครรภ์ นั้นหมายถึงภาวะที่แม่ท้องมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ เพราะในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนบางชนิด ซึ่งส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับร่างกาย เช่น น้ำหนักเพิ่ม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลกจะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลิน ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน โดยแม่ท้องทุกคนจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้เล็กน้อย ในช่วงตั้งครรภ์ บางคนอาจจะสามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ แก้ไขปัญหาภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ แต่แม่ท้องบางงคนอาจจะไม่สามารถทำได้ เลยทำให้เกิดโรคเบาหวานได้นะคะ
โรคเบาหวานที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์
แม่ท้องต้องระวังน้ำตาล
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์คือ ความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจพบระดับตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่รกผลิตออกมามีผลต่อประสิทธิภาพของอินซูลิน หรือ (ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ของแม่ ปกติตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมาแต่ในกรณีนี้ตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลเลยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น โดยโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นในคนท้องมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์: อาการนี้คุณแม่จะเป็นเบาหวานหลังจากที่ตัวเองตั้งครรภ์ และจะหายไปหลังจากที่ลูกเกิดค่ะ
- โรคเบาหวานก่อนตั้งครรภ์: ซึ่งจะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ
- เบาหวานประเภทที่ 1 เป็นเบาหวานประเภทที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูอินได้ ทำให้ต้องฉีดอินซูลินเพื่อใช้ในการผลิตน้ำตาลในเลือด
- เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นเบาหวานประเภทที่ร่างกายไม่มีอินซูลินเพียงพอ หรือร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน
ลักษณะอาการของคนเป็นเบาหวาน
เวลาที่คนท้องเป็นโรคเบาหวานร่างกายจะแทบไม่แสดงอาการออกมาเลย เพราะบางครั้งก็มีอาการคล้ายกับคนท้องปกติ เช่น กินอาหารเก่ง หิวบ่อย กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น ซึ่งโดยปกติแล้วคุณหมอจะทำการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเป็นประจำอยู่แล้วหากคุณแม่เข้ารับการตรวจครรภ์ตามปกติ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- มีน้ำหนักตัวเกินขนาด
- เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
- มีพ่อแม่ พี่น้อง เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มาก่อน
- มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ซึ่งหมายถึงมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
- เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome (PCOS))
คนท้องเป็นเบาหวานลูกในท้องอันตรายอย่างไร
แม่ท้องต้องระวังน้ำตาล
ในการตั้งครรภ์รกจะคอยให้สารอาหารและน้ำสำหรับลูกน้อยในท้องที่กำลังเติบโต รวมถึงผลิตฮอร์โมนบางชนิดที่ส่งป้องกันอินซูลินได้ โดยจะเริ่มผลิตเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 20-25 สัปดาห์ เมื่อรกผลิตฮอร์โมนพวกนี้มากขึ้น ตับอ่อนก็จะสร้างอินซูลินมากขึ้นทำให้เป็นเบาหวานได้ เมื่อคนท้องเป็นเบาหวานก็ก็จะทำให้ทารกน้อยในครรภ์มีความเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ ตามไปด้วย ทั้งในระหว่างที่อยู่ในท้องแม่และหลังจากคลอด
ความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะได้รับขณะอยู่ในท้อง ได้แก่
- การพิการแต่กำเนิดและการแท้งบุตร (สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์)
- น้ำตาลในเลือดสูง
- ความดันต่ำ
- ธาตุเหล็กต่ำ
- ความดันโลหิตสูง
- หัวใจขยายใหญ่
- ระบบประสาทพัฒนาได้ไม่ดี
- ปอดพัฒนาได้แย่
- ทารกเสียชีวิตในครรภ์
ความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะได้รับหลังคลอด ได้แก่
- ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่
- น้ำตาลในเลือดต่ำ
- แคลเซียมในเลือดต่ำ
- ธาตุเหล็กในเลือดต่ำ
- เซลล์เม็ดเลือดแดงสูง เลือดมีความข้ร
- หัวใจ หลอดเลือด สมอง และไขสันหลังบกพร่อง
- คลอดก่อนกำหนด
- หัวใจขยายใหญ่
- ปัญหาการหายใจ
- โรคอ้วนหรือโรคเบาหวาน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!