ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่ ให้ลูกกินนมผสมน้ำได้ไหม?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกจะเริ่มดื่มน้ำได้เมื่อไหร่? เป็นคำถามที่คุณแม่หลายคนถามกันเข้ามาอยู่บ่อย ๆ โดยทั่วไปแล้ว ทารกยังไม่ต้องการน้ำเปล่า เนื่องจากในน้ำนม ก็มีปริมาณน้ำ เพียงพอต่อความต้องการของลูกอยู่แล้ว การให้ลูกทารกดื่มน้ำเปล่ามากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกมากกว่า เพราะน้ำจะไปทำให้ลูกอิ่ม และไม่อยากดื่มนม ทั้งนมผง และนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตในช่วงวัยทารกเป็นอย่างมาก

 

ทารกเริ่มดื่มน้ำเปล่าได้ตอนไหน

ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ยังไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำเพิ่มเติมจากนมแม่ หลังจาก 6 เดือนแรกผ่านไปนั้น คุณแม่จึงสามารถให้ลูกเริ่มดื่มน้ำเปล่าที่สะอาด ในอุณหภูมิห้องได้ แต่ก็อย่าให้มากกว่า 60 - 120 มิลลิลิตรต่อวัน และไม่กระทบกับการดื่มนมของลูก เนื่องจากการดื่มนมแม่นั้นเป็นอาหารหลักสำหรับเด็กวัยทารก ไปจนถึง 12 เดือน หลังจากนั้น เมื่อลูกอายุได้หนึ่งขวบ คุณแม่สามารถหัดให้ลูกดื่มน้ำ หรือนมจากแก้วได้ ถ้าหากลูกเริ่มทานอาหารเสริมจากนมแม่อื่น ๆ บ้างแล้ว สามารถให้ลูกจิบน้ำระหว่างมื้ออาหาร เพื่อช่วยในการขับถ่าย และลดอาการท้องผูก

 

ประโยชน์ของการดื่มน้ำ

เมื่อลูกเริ่มกินอาหารเสริมได้แล้ว ลูกอาจจะท้องผูกได้ การดื่มน้ำจะช่วยให้อุจจาระนุ่มลง และป้องกันปัญหาท้องผูก เมื่อลูกอายุมากกว่า 6 เดือนแล้ว น้ำปริมาณเล็กน้อยที่คุณให้ลูกดื่มระหว่างมื้อ จะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำในสภาพอากาศร้อน ๆ ได้ หากลูกมีปัญหาท้องผูก หรือขาดน้ำเนื่องจากอากาศร้อนมาก ลูกอาจต้องดื่มน้ำ 180 - 240 มิลลิลิตรต่อวัน แต่คุณควรปรึกษาคุณหมอก่อนที่จะให้ลูกดื่มน้ำมากขนาดนั้น

 

ลูกกินนมผสมน้ำได้ไหม

น้ำเปล่า ต่างจากนมผงชง หรือนมแม่ เพราะไม่มีสมดุลที่ดีของอิเล็กโทรไลท์ เช่น โซเดียม และโพแทสเซียม หากลูกดื่มน้ำเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้ร่างกายไม่สมดุล โซเดียมต่ำเกินไป นำไปสู่ภาวะสมองบวม และเกิดอาการชักได้ในบางกรณี การเติมน้ำลงไปในนมผงมากขึ้น อาจทำให้ประหยัดนมผงไปได้มาก แต่จะทำให้ทารกได้รับน้ำมากเกินไป จนเป็นอันตราย เช่นเดียวกับทารกที่เรียนว่ายน้ำ และอาจกลืนน้ำเข้าไปมาก จนเกิดภาวะโซเดียมต่ำเกินไป นำไปสู่การชัก

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมเด็กไม่ต้องดื่มน้ำ กินนมแม่อย่างเดียวจะเพียงพอสำหรับลูกหรือไม่

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การให้ลูกดื่มน้ำชดเชยน้ำที่เสียไป กรณีเจ็บป่วย

ในกรณีที่ลูกอยู่ในวัยที่สามารถดื่มน้ำได้เป็นปกติแล้ว หากลูกอาเจียน หรือท้องร่วงรุนแรง เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะให้ลูกดื่มน้ำ เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายลูกเสียไป แต่การให้ลูกดื่มน้ำเปล่าในกรณีเช่นนี้ อาจทำให้ระดับโซเดียมในร่างกายลูกลดต่ำลงก็ได้ ควรให้ลูกดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปแทนที่จะให้ลูกดื่มน้ำเปล่า หากคุณหมอแนะว่าให้งดนมผงชงในระยะสั้น ในช่วงที่ลูกเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารนั้น ส่วนมากคุณแม่มักจะยังได้รับอนุญาตให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อได้ ซึ่งต่างจากการใช้นมผง

 

การป้องกันภาวะขาดน้ำในสภาพอากาศร้อน

ถ้าหากลูกมีอายุต่ำกว่า 6 เดือน และยังไม่สามารถดื่มน้ำได้ คุณแม่อาจจะให้ลูกดื่มนมแม่บ่อยมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกาย และหากต้องให้นมบ่อย ๆ คุณแม่เองก็ต้องดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าเดิม ในระหว่างให้นม อาจจะใช้ผ้ารองระหว่างตัวคุณแม่กับลูก เพื่อลดการเสียดสีระหว่างผิวหนังได้ ถ้าหากผ้าอ้อมของลูกเปียกชื้นบ่อย ๆ ก็แสดงว่าลูกได้รับปริมาณน้ำอย่างเพียงพอ และไม่เสี่ยงต่อการขาดน้ำแล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความเสี่ยงอื่น ๆ เกี่ยวกับน้ำ

มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดเจ็บป่วยจากการดื่มน้ำ แต่โรคระบาดของการติดเชื้อปรสิต หรือแบคทีเรีย เช่น ซาลโมเนลลา (Salmonella) ก็มาจากน้ำดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำจากบ่อ เพราะฉะนั้น การต้มน้ำก่อนที่จะให้ลูกดื่ม หรือใช้น้ำที่ผ่านการต้มมาแล้ว ในการชงนม ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้ แต่มีอีกสิ่งที่ต้องระวังคือ ไนเตรท์ในน้ำบ่อ ซึ่งทำให้เกิดภาวะบลูเบบี้ซินโดรมในทารกที่อายุน้อยกว่า 3 เดือนได้ อาการดังกล่าว เกิดขึ้นเพราะไนไตรท์ จะจับตัวเข้ากับเฮโมโกลบินในเลือด และไปลดปริมาณเฮโมโกลบินซึ่งมีหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจน เพื่อไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของทารก หากคุณใช้น้ำจากบ่อเพื่อการบริโภค ควรตรวจสอบคุณภาพน้ำให้ดีก่อนว่า มีไนไตรท์หรือไม่ เพราะการต้ม หรือการกรองไม่อาจกำจัดไนไตรท์ในน้ำได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ดื่มน้ำเย็น ไม่ดีจริงหรือ? การดื่มน้ำอุ่น กับ น้ำเย็น ต่างกันอย่างไร!?

 

 

ลูกสามารถดื่มน้ำอื่น ๆ ได้หรือไม่

อาหาร และเครื่องดื่มที่เข้าสู่ร่างกายของลูกในวัยทารก ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงทั้งสิ้น หากลูกอายุต่ำกว่า 12 เดือน พ่อแม่ไม่ควรให้ลูกดื่มเครื่องดื่มอื่น ๆ เช่น น้ำผลไม้ โซดา น้ำหวานต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยิ่งไม่ควรให้ลูกดื่มไม่ว่าจะช่วงอายุเท่าไหร่ก็ตาม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เครื่องดื่มที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

เมื่อลูกโตขึ้นจนสามารถดื่มน้ำอื่น ๆ ได้ น้ำเปล่า และนม ก็ยังเป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุด และเหมาะสมที่สุดสำหรับลูก

  • น้ำเปล่า

ร่างกายของเด็ก ๆ มีการสูญเสียน้ำอยู่ตลอดเวลา ผ่านทางการหายใจ เหงื่อออกทางผิวหนัง การขับถ่าย สิ่งที่ดีที่สุดคือการให้ลูกดื่มน้ำสะอาด นอกจากจะช่วยเติมความชุ่มชื้น และลดภาวะขาดน้ำในร่างกายให้ลูกแล้ว ฟลูออไรด์ในน้ำสะอาด ยังสามารถช่วยปกป้องฟันให้ลูกได้อีกด้วย

 

  • นม

เครื่องดื่มชนิดแรกที่ลูกเริ่มดื่มก็คือ นมแม่ จากนั้นก็เริ่มผสมกับนมผง และตามมาด้วยอาหารเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน เมื่อลูกอายุ 12 เดือน คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกดื่มนมวัวได้ หากไม่มีอาการแพ้ สำหรับการดื่มนมวัวนั้น ไม่ควรเลือกชนิดไขมันต่ำ หรือแคลอรีต่ำให้กับลูก เพราะเด็กวัยนี้ยังต้องการพลังงานอย่างมากในการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ยังสามารถให้นมแม่ได้อยู่ ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับลูกมากขึ้น

ควรหลีกเลี่ยงนมแพะ นมแกะ นมอัลมอนด์ นมมะพร้าว และน้ำนมถั่วเหลือง สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ส่วนน้ำนมจากธัญพืช เช่น น้ำนมข้าว น้ำนมจากข้าวโอ๊ตนั้น นับว่ามีปริมาณโปรตีน และวิตามินบี 12 ที่ไม่เพียงพอต่อเด็กวัยเจริญเติบโต ถ้าหากพ่อแม่ต้องการให้ลูกดื่มน้ำนมเหล่านี้ ก็ควรจะเพิ่มเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ โยเกิร์ต ชีส เข้าไปด้วย อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่จะต้องแน่ใจว่าลูกไม่มีอาการแพ้อาหารเหล่านี้ ทางที่ดีควรให้ลูกทานทีละนิด หรือปรึกษาแพทย์ว่าลูกสามารถทานอาหารชนิดนี้ได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ดื่มน้ำลดน้ำหนัก ดื่มน้ำยังไงให้น้ำหนักลด? แค่ดื่มให้ถูกวิธีก็มีหุ่นสวยได้

 

 

เครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับเด็กอายุ 12 เดือนขึ้นไป

  • น้ำผลไม้

การให้ลูกดื่มน้ำผลไม้อาจทำให้ลูกไม่อยากดื่มนมแม่ หรือนมขวดได้ อีกทั้งน้ำตาลในน้ำผลไม้ อาจทำให้ลูกฟันผุอีกด้วย เมื่อลูกโตขึ้นมาอีกนิด น้ำผลไม้สด ไม่ใส่น้ำตาล เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมคือ 125 มิลลิลิตร ก็พอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • น้ำหวาน

การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำหวานต่าง ๆ เครื่องดื่มผสมวิตามิน เครื่องดื่มที่ให้พลังงาน ล้วนแล้วแต่เป็นการเพิ่มน้ำตาลให้กับลูก หากบริโภคมากเกินไปลูกอาจจะติดหวาน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้

 

  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

ชา กาแฟ โคล่า หรือเครื่องดื่มให้พลังงาน ซึ่งมีส่วนผสมของคาเฟอีนไม่เหมาะกับเด็กทั้งสิ้น ร่างกายของพวกเขายังไม่สามารถรับสารคาเฟอีนได้มาก เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ การดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้จะรบกวนการนอนหลับของลูก อาจทำให้รู้สึกกระสับกระส่ายได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิจัยเผย คนท้องดื่มน้ำผลไม้ ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์

10 ประโยชน์ของน้ำทับทิม ดื่มน้ำทับทิมให้ประโยชน์อะไรแก่ร่างกายบ้าง

ดื่มนมแพะ หรือนมวัว แบบไหนดีกว่ากัน? ดื่มทั้งสองแบบผสมกันเลยได้ไหม?

ที่มา : pregnancybirthbaby

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team