จ้ำม่ำมาก อันตราย! ลูกอ้วนเกินไป อาจทรงตัวไม่ดี เสี่ยงเป็นเบาหวาน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรามักจะเห็นเด็กทารก ที่ตัวจ้ำม่ำ เป็นเด็กน่ารัก ดูท่าทางเลี้ยงง่าย กินง่าย ใช่ไหมคะ แต่เราอาจจะลืมคิดไปว่า ลูกอ้วนเกินไป หรือเปล่า น้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็กทารก อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และทำให้ลูกเป็นโรคเบาหวานหรืออื่น ๆ ได้

จ้ำม่ำมาก อันตราย! ลูกอ้วนเกินไป ทรงตัวไม่ดี เสี่ยงเป็นเบาหวาน

เด็กเล็กวัย 2 ขวบ ไปจนถึงเด็กวัยเรียน ต้องระวังเรื่องน้ำหนัก หรือความอ้วน เพราะส่งผลต่อเด็กโดยตรง ในเรื่องของการทรงตัวไม่ดี เพราะน้ำหนักที่มากเกินไป และยังเสี่ยงทำให้เกิดโรคอ้วน เบาหวาน และมีระดับเอสโตรเจนสูง ยิ่งถ้าเป็นในเด็กผู้หญิงจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ เมื่อเขาโตขึ้นด้วย เรามาดูกันดีกว่าว่าจะแก้ปัญหา ลูกอ้วนเกินไป ได้อย่างไรบ้าง

 

 

 

ไม่อยากให้ลูกอ้วนเกินไป พ่อแม่ต้องใส่ใจเรื่องเหล่านี้

1. ให้ลูกกินนมแม่

หากไม่อยากให้ลูกอ้วนเกินไป วิธีแรกเลยก็คือ ให้ลูกกินนมแม่ ผลการวิจัยระบุว่าการดื่มนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในเด็ก นอกจากนี้ผลการศึกษาหลายชิ้นยังพบว่าเด็กที่กินนมแม่นั้น สามารถเรียนรู้การควบคุมความหิวได้ดีกว่าเด็กที่กินนมผง และมีแนวโน้มจะหยุดกินนมเมื่ออิ่มได้มากกว่านั่นเอง

2. สำรวจพฤติกรรม

นอกจากเรื่องของการกินนมของลูกแล้ว เรื่องอื่นที่ควรใส่ใจ นั่นก็คือ คุณแม่มีพฤติกรรมเหล่านี้หรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • รีบให้ลูกกินนมทันทีที่ลูกร้อง แทนที่จะให้ลูกกินนมทันที แนะนำให้ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีอื่น ที่จะทำให้ลูกหยุดร้องดูบ้าง เช่น ลูกขึ้นมาปลอบ หาของเล่นให้ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก
  • ให้ลูกนอนหลับโดยที่มีขวดนมคาอยู่ในปาก
  • ให้ลูกทานอาหารเสริมก่อนอายุ 4-6 เดือน
  • ให้ทานขนมและของทอดบ่อย ๆ (ในกรณีที่เป็นเด็กโต)

ถ้าคุณทำแบบนี้บ่อย ๆ แนะนำให้ลดลงบ้างก็จะดี เพราะเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้ อาจทำให้ลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักที่เกินไปกว่ามาตรฐานได้

3. อย่าให้ลูกดื่มน้ำผลไม้

น้ำผลไม้ ไม่ใช่อาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กทารกเลย แนะนำว่าอย่าให้เด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือนดื่มน้ำผลไม้จะดีที่สุด (เว้นเสียแต่คุณหมอจะแนะนำว่าต้องให้ดื่มเพื่อรักษาอาการท้องผูก) แต่ในกรณีที่ลูกน้อยของคุณมีอายุเกินกว่า 6 เดือนไปแล้ว ถ้าคุณอยากให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ ก็ควรจำกัดปริมาณแต่พอดี อย่าให้ลูกดื่มน้ำผลไม้เกิน 118 มิลลิลิตร หรือ 4 ออนซ์ต่อวัน

 

4. อย่าให้ลูกอดอาหาร

คุณแม่หลายคนอาจจะคิดว่า เมื่อเห็นลูกจ้ำม่ำเกินไป หรือตัวอ้วนเกินไป ก็แค่ไม่ให้นมลูก หรือให้ลูกกินนมน้อย ๆ ซึ่งนั่นอาจเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถ้าลูกน้อยอ้วนเกินไป แนะนำว่าพยายามอย่าควบคุม หรือจำกัดอาหารลูก บ่อยครั้งของพ่อแม่ที่มีลูกอ้วน มักพยายามจำกัดการกินของลูก หรือพ่อแม่หลายคนที่ลูกไม่ได้อ้วนมากอะไร แค่จ้ำม่ำตามวัย กลับมีความกังวลมากจนเกินไป และมักจะคอยจำกัดการกินของลูก เพราะกลัวลูกอ้วนในอนาคต แต่จริง ๆ แล้ว คุณควรปล่อยให้ลูกทาน หรือดื่มนมจนกว่าจะอิ่มไปเองมากกว่า

บางครั้งการที่คุณแม่ไปขัดขวางการกินของลูก ก็อาจทำให้เขาไม่พอใจ และหงุดหงิดได้ ถ้าเด็กไม่อิ่มก็จะยิ่งหงุดหงิด แล้วอาจอยากกินอะไรมากขึ้นกว่าปกติอีก เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งกังวลเรื่องความอ้วนจนเกินไป เน้นไปที่การให้ลูกทานจนอิ่มก่อนดีกว่า

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็กกันหน่อย ลูกควรสูงแค่ไหน หนักเท่าไหร่ในแต่ละเดือน

 

นอกจากนี้แล้ว การที่คุณแม่มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ หรืออ้วนเกินไปตั้งแต่ตอนท้อง ก็อาจส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีน้ำหนักเกินได้ เพราะฉะนั้นคุณแม่เองก็ต้องพยายามควบคุมน้ำหนักตัวเองตั้งแต่ตอนท้องด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีข้อสงสัย หรือสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีน้ำหนักมากเกินไปจนผิดสังเกต แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เบาหวาน ในเด็ก ภัยเงียบที่ผู้ปกครองต้องระวัง และดูแลอย่างใกล้ชิด

ทำความเข้าใจเรื่อง “น้ำหนักส่วนสูงเด็ก” ก่อนลูกเข้าเรียนอนุบาล

อาหารลดความอ้วน อาหารลดน้ำหนัก มีอะไรบ้าง คนอยากหุ่นดีต้องอ่าน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul