ถ้าคนท้องอ้วน ลูกจะอ้วนตามไปด้วยไหม ตอนคลอดจะน่ากลัวขนาดไหน แล้วจะทำไงดี

แม่ท้องสงสัย ถ้าคนท้องอ้วน ลูกจะอ้วนตามไปด้วยไหม น้ำหนักตอนท้องต้องขึ้นเท่าไหร่ ถึงจะไม่อ้วน แล้วจะมีวิธีจัดการเรื่องน้ำหนักตอนท้องได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ถ้าคนท้องอ้วน ลูกจะอ้วนตามไปด้วยจริงไหม

จากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกา (JAMA) นำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า ถ้าคนท้องอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็มีโอกาสที่จะทำให้ลูกในท้องตัวใหญ่ และน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ได้เช่นกัน และจากการศึกษาดังกล่าว ที่ได้มีการค้นคว้า และสำรวจจากผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดกว่า 30,000 คน ได้ข้อสังเกตดังต่อไปนี้

  • คนท้องที่มีน้ำหนักตัวมากมักจะมีปริมาณน้ำตาล และไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของทารกในครรภ์ตามไปด้วยเช่นกัน
  • แม่ท้องที่อ้วน อาจจะส่งผลทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าปกติได้

ทารกตัวใหญ่ น้ำหนักเกินเกณฑ์ ส่งผลอย่างไร

  • ขนาดของทารกในครรภ์มีผลโดยตรงต่อการคลอด หากทารกตัวใหญ่อาจทำให้รู้สึกเจ็บมากและยาวนานตอนเบ่งคลอด หากคลอดทางช่องคลอดอาจเป็นอันตรายได้ทั้งแม่และลูก
  • ทารกตัวใหญ่มักคลอดยาก บางครั้งหัวคลอดออกมาแล้ว แต่ไหล่ติด ซึ่งอาจส่งผลให้กระดูกไหปลาร้าของทารกหักได้ และช่องคลอดของคุณแม่มีโอกาสฉีกขาดมากกว่าปกติ
  • ทารกตัวใหญ่ทำให้มดลูกคุณแม่ยืดขยายมาก ดังนั้น หลังจากที่คลอดแล้ว อาจทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดี มีโอกาสทำให้ตกเลือดหลังคลอดได้
  • การตกเลือดหลังคลอด อาจส่งผลทำให้คุณแม่บางรายอาจจะต้องตัดมดลูกทิ้ง เพราะเลือดออกไม่หยุด และมีเลือดคั่งค้างในมดลูกมาก

น้ำหนักคนท้อง ควรจะขึ้นเท่าไหร่

น้ำหนักของคนท้อง ควรจะขึ้นเท่าไหร่นั้น จะขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยคำนวณจาก น้ำหนัก(เป็นกิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง(เป็นเมตร)ยกกำลังสอง

หลังจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางด้านล่าง เช่น คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ระหว่าง 18.5 - 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) ควรมีการเพิ่มน้ำหนักตัวเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์เท่ากับ 11.5 - 16 กิโลกรัม และควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ เป็นต้น

ตารางแสดงการเพิ่มน้ำหนักตัวของสตรีตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์(ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงในไตรมาสแรก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่ละสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (<18.5) 12.5 - 18กิโลกรัม 2.3 กิโลกรัม 0.5 กิโลกรัม
น้ำหนักปกติ (18.5-24.9) 11.5 - 16 กิโลกรัม 1.6 กิโลกรัม 0.4 กิโลกรัม
น้ำหนักตัวเกิน (25-29.9) 7 - 11.5 กิโลกรัม 0.9 กิโลกรัม 0.3 กิโลกรัม
อ้วน (≥30) 5 - 9 กิโลกรัม - 0.2กิโลกรัม

วิธีดูแลน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์

แม่ท้องไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือเพื่อลดน้ำหนักนะครับ เพราะนั่นจะทำให้ทารกในครรภ์ไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโต และสร้างอวัยวะ

สิ่งที่แม่ท้องควรทำก็คือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ภายใต้คำแนะนำของคุณหมอ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในช่วงตั้งครรภ์ โดยยึดหลักการออกกำลังกายสำหรับคนท้อง คือ ไม่หักโหม ไม่รุนแรง และไม่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น ว่ายน้ำ เดินช้าๆ เป็นต้น ซึ่งนอกจากการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนักตอนท้องได้ส่วนหนึ่งแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพกาย สุขภาพใจของแม่ท้องเข้มแข็งขึ้น ช่วยให้นอนหลับได้ดี และยังทำให้ระบบขับถ่ายของเสียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แน่นอนว่า ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น น้ำหนักย่อมเพิ่มขึ้นมามากกว่าเดิมเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แต่หากคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น้ำหนักก็จะค่อยๆลดลงไปเอง และหากคุณแม่ออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วยก็จะช่วยให้น้ำหนักลดลงได้เร็วขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม คุณแม่อย่ากังวลใจมากไปนะครับ อย่าลืมว่าความเครียดของแม่ท้อง ก็สามารถส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วยเช่นกัน หากมีความกังวล มีข้อสงสัย หรือพบความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ก็อย่าชะล่าใจ และให้รีบปรึกษาคุณหมอที่คุณแม่ฝากครรภ์ เพื่อตรวจสอบอาการและขอคำแนะนำจะดีที่สุดครับ


ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก sg.theasianparent.com, thaihealth.or.th

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยแม่ท้องสบายก่อนเบ่งเจ้าตัวน้อย

ลูกในท้องตัวใหญ่ น้ำหนักเกิน เสี่ยงคลอดยาก สุขภาพแย่ ทำอย่างไร

ปากมดลูกเปิดรู้สึกยังไง ต้องกว้างแค่ไหนถึงจะคลอดง่าย

บทความโดย

P.Veerasedtakul