เด็กหญิงอาริยา ซาลีม เกิดที่รัฐฌารขัณฑ์ ประเทศอินเดีย หนูน้อยวัย 10 เดือนที่มีน้ำหนักตัวถึง 19 กิโลกรัม นางชาบานา ปาร์วีน แม่ของหนูน้อยอาริยาเผยว่า น้ำหนักของลูกสาวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังคลอดได้ 3-4 เดือน และรู้สึกวิตกกังวลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้สุขภาพของหนูน้อยอยู่ในภาวะอันตราย เพราะลูกคนก่อนหน้านี้ก็เป็นโรคเดียวกันและเสียชีวิตเมื่อมีอายุเพียงขวบครึ่งเท่านั้น ขณะที่พ่อแม่ก็ยังไม่มีเงินพาไปรักษา ทารกอ้วน
ปัญหาโรคอ้วนของหนูน้อยจึงตามมาด้วยอาการที่หายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะตอนกลางคืนที่ตื่นมาร้องไห้ตลอดเวลาและการกินที่มากกว่าเด็กปกติถึงสามเท่า ทำให้ค่าใช้จ่ายของครอบครัวไม่เพียงพอ
อย่างไรก็ตามพ่อแม่ของอาริยาตัดสินใจไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล โดยหัวหน้าแผนกกุมารเวชศาสตร์ได้กล่าวว่า อาการนี้เป็นการอ้วนผิดปกติหรือภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล แพทย์กำลังทำการทดสอบเพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
ด็กอ้วน หรือ เจ้าหนูจ้ำม่ำ ถูกยกให้เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์มั่งคั่งมาตั้งแต่ครั้งอดีต ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว โรคอ้วนในเด็ก เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21
แต่สิ่งที่ชวนช็อกโลกไปกว่านั้นคือ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO) ออกมาประกาศเตือนว่า โรคอ้วนในเด็ก กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลก เพราะจากการสำรวจพบว่า ทั่วโลกมี เด็กอ้วน เพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เท่า ในช่วง 40 ที่ผ่านมา หากโฟกัสเฉพาะสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2546 – 2547 จะพบว่า มีเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 10.5 เป็น 17.4 สำหรับข้อมูลในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ.2541 เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ มีภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 12 และดีดตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 17.6 ในปี พ.ศ.2554 จากจำนวนดังกล่าวนี้ พบว่าร้อยละ 5.4 ของเด็กที่อ้วนท้วนเกินเกณฑ์ มีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่อ้วน สูงถึงร้อยละ 25
เด็กอ้วน ความน่ารักที่มาพร้อมกับโรคร้าย
เจ้าหนูจ้ำม่ำ ยิ้มทีตาหยี ทั่วตัวเต็มไปด้วยชั้นไขมันซ้อนทับกันราวกับห่วงยางน้อยๆ นับสิบชั้น ลุกนั่งแต่ละครั้งก็ลำบาก ท่าเดินก็อุ้ยอ้าย ขยับตัวได้ไม่เท่าไรก็หายใจหอบถี่ หากยังเป็นเด็กตัวน้อยๆ ก็ยังมีน้าๆ ป้าๆ มารุมชมว่าน่ารัก แต่พอย่างเข้าสู่วัยประถม เพื่อนๆ ต่างพร้อมใจกันตั้งฉายาให้ว่า ไอ้อ้วน ซะงั้น!! ซ้ำร้ายเมื่อถึงวัยหนุ่มสาว เกิดตกหลุมรักใครเข้าสักคน ก็ทำได้แค่เพียงแอบมองอยู่ห่างๆ เพราะไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง จนกลายเป็นปมด้อยในจิตใจ
ไม่เพียงแค่ผลร้ายที่พ่วงมากับรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ความอ้วน ยังแอบแง้มประตูต้อนรับโรคภัยต่างๆ เข้าสู่ร่างกายอันอุ้ยอ้ายของเหล่า เด็กอ้วน ไม่เว้นวัน ไม่ว่าจะเป็น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความผิดปกติของกระดูกและข้อ โรคผิวหนัง นอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ตับและถุงน้ำดีอักเสบ เป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย และอาจมีบุตรยากขึ้น เมื่อเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ ความไม่มั่นใจในรูปร่าง สามารถพัฒนาสู่ภาวะซึมเศร้าได้ด้วย
โรคอ้วนในเด็ก ใครคือผู้ร้ายตัวจริงกันแน่ ?
โรคอ้วนในเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจาก ภาวะโภชนาการเกิน หรือความไม่สัมพันธ์กันระหว่างการใช้พลังงานกับอาหารที่บริโภคเข้าไป เช่น กินอาหารที่ให้พลังงานสูงจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการแปรรูปและขัดสี (อาทิ น้ำตาลทราย แป้งขัดขาว ขนมปังขาว ข้าวขาว ฯลฯ) ไขมัน และโปรตีนจากสัตว์ อาหารฟาสต์ฟู้ด ดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมเป็นประจำ กินจุบกินจิบ จบมื้อด้วยของหวานทุกวัน ไม่ชอบขยับตัว ขยาดการออกกำลังกาย ใช้ชีวิตนั่งๆ นอนๆ ติดโทรศัพท์มือถือ ติดเกม ติดทีวี ในขณะที่เด็กอ้วนจากสาเหตุพ่อแม่มียีนอ้วน หรือเป็นเด็กที่มีความผิดปกติของฮอร์โมน กลับมีตัวเลขต่ำกว่าเด็กอ้วนจากการปลูกฝังพฤติกรรมการกินและการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องอยู่หลายเท่า
เปลี่ยนพฤติกรรมการกินตั้งแต่วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าในวันข้างหน้าของลูกรัก
ผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย พบว่าเด็กไทยอายุระหว่าง 1 – 14 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน รวมทั้งเด็กอ้วน จำนวน 540,000 คน มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่มากถึง 135,000 คน อีกทั้งในต่างประเทศยังมีงานวิจัยที่พบว่า ผู้ใหญ่ที่อ้วนมากๆ จะมีอายุสั้นลงกว่าคนไม่อ้วนราว 5 – 20 ปี เลยทีเดียว!!!
ปัญหา เด็กอ้วน หลายเคสเกิดจากการที่พ่อแม่ขาดความรู้ในด้านโภชนาการที่ถูกต้อง บางรายผู้ปกครองต้องทำงานนอกบ้านทั้งคู่ ทำให้ไม่มีเวลาปรุงอาหารให้ลูกทาน ต้องอาศัยซื้อหาเอาจากนอกบ้านแทบทุกมื้อ อาหารทุกคำที่ลูกรับประทานเข้าไปจึงด้อยประโยชน์ เต็มไปด้วยไขมัน และโปรตีนจากเนื้อสัตว์ รสชาติหวานจัด เค็มจัด มันจัด ซึ่งล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กๆ ในระยะยาวทั้งสิ้น
แนวทางการป้องกันลูกรักให้ห่างจาก โรคอ้วนในเด็ก ทารกอ้วน คือการใส่ใจอาหารทุกมื้อ คุณแม่อาจเริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนในครอบครัว ร่วมกับชักชวนกันไปออกกำลังกายให้มากขึ้น โดยในส่วนของการทานอาหารนั้น ควรเน้นอาหารที่ประกอบขึ้นจากผักสด ลดการทานโปรตีนจากสัตว์ หันมาทานคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนจากพืช ซึ่งไม่ผ่านการปรุงแต่ง สกัด ขัดสี ตามแนวทาง การทานอาหารเพื่อสุขภาพ (Plant Based Whole Food – PBWF) อาทิ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ทานถั่ว งา และธัญพืชต่างๆ ซึ่งอุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามินต่างๆ กากใยอาหาร ซึ่งดีต่อระบบการขับถ่ายมากๆ ทั้งยังไม่มีคอเลสเตอรอล มีไขมันอิ่มตัวต่ำ และมีสารแอนติออกซิแดนท์สูง ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ หากคุณแม่ไม่อยากให้เด็กๆ เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ อย่าง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ฯลฯ ก็ควรรีบปลูกฝังพฤติกรรมการกินที่ดีให้ลูกรักตั้งแต่วัยเด็ก
ที่มา: ข่าวสด
ลูกอ้วนเกินไป ทำอย่างไรดี
ลูกจะมีตาสองชั้นได้หรือไม่?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!