คู่มือปั๊มนมสำหรับคุณแม่ อยากสะสมน้ำนม สต็อกน้ำนม จะเริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี

น้ำนมแม่สำหรับทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่คุณแม่หลายคนรู้กันดีว่าลูกจะได้รับประโยชน์และคุณค่ามหาศาล ดังนั้น ไม่ว่าจะเริ่มต้นมีน้ำนมมากหรือน้อย สิ่งที่คุณแม่ตั้งใจทำคือความพยายามให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คู่มือปั๊มนมสำหรับคุณแม่ อยากสะสมน้ำนม จะเริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดี

เมื่อถึงเวลาที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน หรือไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา จำเป็นต้องผละลูกออกจากนม (ชั่วคราว) การปั๊มนมแล้วป้อนด้วยขวดหรือถ้วยดื่มนมเป็นเรื่องจำเป็น เราจึงมี คู่มือปั๊มนมสำหรับคุณแม่ มาฝากกัน

 

เริ่มปั๊มนมเมื่อไหร่ดีสำหรับคุณแม่ลูกที่ดูดเต้า

การที่ลูกยอมดูดนมจากเต้า ถือว่าคุณแม่โชคดีมาก เพราะนอกจากอาหารกายสุดวิเศษที่ลูกจะได้รับแล้ว ยังแถมอาหารใจที่ประกอบด้วยความรัก ความอบอุ่น ความรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงเข้าไปด้วย แต่คุณแม่ต้องตั้งเป้าไว้เลยว่า ในช่วงเดือนแรกทารกควรได้ดูดนมจากเต้าแม่ล้วน ๆ โดยไม่ใช้ขวดนม หลังจากหนึ่งเดือนจึงหัดให้เบบี๋ได้ดูดนมแม่จากขวดหรือป้อนด้วยวิธีอื่น

กฎทองแห่งความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือ 3 ด. ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดให้ถูกวิธี ภายใน ½-1 ชม.แรกหลังคลอด คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมเร็วที่สุด ตอนที่ทารกเริ่มดูดใหม่ ๆ น้ำนมอาจจะยังไม่มาทันที แต่จะเริ่มมาภายใน 2-3 วันแรก ส่วนใหญ่เวลาที่ทารกดูดนมจะไม่ค่อยนาน เนื่องจากยังดูดไม่ค่อยเก่ง คุณแม่ควรเริ่มปั๊มนมเพื่อช่วยกระตุ้นตั้งแต่วันแรก

หากต้องการปั๊มนมให้สำเร็จก็ควรใช้กฎ 3 ข้อเช่นกัน คือ ปั๊มเร็ว ปั๊มบ่อย ปั๊มด้วยเครื่องดี ๆ โดยปรับแรงดูดให้เบาที่สุด ปั๊มประมาณ 5-10 นาที ทุก 2-3 ชม. แต่ถ้ารู้สึกเจ็บให้หยุดปั๊มทันที พักสัก 2-3 ชม. ค่อยลองใหม่ หากฝืนทนเจ็บ อาจทำให้หัวนมแตกได้ ถ้ายังเจ็บอยู่อาจใช้ปั๊มมือหรือใช้มือบีบแทน วันต่อ ๆ มาอาการเจ็บจะลดลง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลังจาก 2-3 วัน เมื่อกลับบ้าน ถ้าเจ้าตัวน้อยดูดนมได้ดี ในตอนกลางวันพยายามหัดให้ลูกดูดข้างนึง และปั๊มนมอีกข้างนึงไปพร้อม ๆ กัน ใช้เวลาปั๊มประมาณ 10 นาที ให้หยุดและเก็บน้ำนมที่ปั๊มได้เพื่อเป็นนมสต๊อก ไม่ควรทำมาให้ทารกกินทันที และย้ายลูกมาดูดนมข้างที่ปั๊มซ้ำต่ออีกรอบ

มื้อต่อไปก็ทำเหมือนเดิมแต่ให้สลับข้าง เริ่มดูดเต้าที่ปั๊มก่อนหน้าและปั๊มข้างที่ดูดไปแล้ว ทำแบบนี้ในตอนกลางวันให้ได้ 3- 5 ครั้ง ส่วนตอนกลาคืนก็ให้ลูกดูดนมจากเต้าโดยไม่ต้องปั๊มก็ได้ เพราะจะทำให้คุณแม่เหนื่อยเกินไป ยกเว้นถ้าเจ้าตัวน้อยนอนยาว คุณแม่ควรลุกมาปั๊มนมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงกลางคืน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำนมที่คุณแม่ทำเป็นนมสต๊อกในแต่ละวันรวม ๆ กันช่วงแรก ๆ อาจจะได้แค่ 1-2 ออนซ์ อย่าเพิ่งเห็นว่าน้ำนมมาน้อยแล้วท้อนะคะ ให้ทำไปเรื่อย ๆ กลไกการหลั่งน้ำนม ของคุณแม่จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเอง ถ้ามีน้ำนมส่วนเกินที่ลูกดูดได้ถึงวันละ 10 ออนซ์เมื่อไหร่ ถือว่าประสบความสำเร็จ คุณแม่อาจเพิ่มการปั๊มระหว่างมื้อนมของลูกได้ โดยปั๊มประมาณ 10 นาทีพร้อมกันสองข้างหลังจากลูกดูดไปแล้ว 1 ชั่วโมง หรือจะทำเหมือนเดิมคือปั๊มตอนให้นมลูกดูดนมหนึ่งข้าง และปั๊มอีกข้างหนึ่งไปพร้อมกันก็ได้

หลักสำคัญคือ ยิ่งปั๊มบ่อยน้ำนมยิ่งเยอะ ทำแบบนี้ทุกวัน เมื่อครบเดือน คุณแม่จะได้น้ำนมสต๊อกพอสมควรเพื่อเริ่มให้ลูกน้อยได้ดูดนมจากขวดหรือถ้วย เพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่แม่จะไปทำงาน ที่สำคัญคุณแม่ไม่ควรขยันปั๊มจนรู้สึกว่าเหนื่อยเกินไป ต้องดูแลร่างกายเพื่อให้พักผ่อนและกินอาหาร ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะถ้าร่างกายไม่พร้อมแม้จะปั๊มนมบ่อย ๆ ก็อาจไม่ได้น้ำนมตามที่ตั้งใจไว้


credit content : www.ardothai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

วิธีป้องกัน หน้าอกหย่อนคล้อย นมยาน หลังลูกน้อยหย่านม

ลูกติดเต้า ไม่ดูดนมขวด สามารถเสริมนมผงได้ตอนอายุเท่าไหร่

บทความโดย

Napatsakorn .R