คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด ข้อควรปฎิบัติอะไรบ้างที่คุณแม่ต้องรู้!
คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด แม่ๆ คนไหนที่กำลังใกล้คลอดกำลังท้องแก่เต็มที่ ต้องไม่ควรพลาดข้อปฏิบัติตัวหลังคลอดของแม่ให้นม ที่จะมาพร้อมเทคนิคและคำแนะนำต่างๆ ให้คุณแม่ได้ปรับสภาพและฟื้นฟูร่างกายได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงข้อควรรู้สำหรับแม่มือใหม่
1. อาหารเลือกทานให้ดี
เรื่องการกินเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับคุณแม่ให้นม เพราะทุกสิ่งที่แม่กินเข้าไปนั้นมักจะถูกถ่ายทอดเป็นน้ำนมไปสู่ลูก ดังนั้นแม่ต้องเลือกอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ ดื่มนม และน้้ามากๆ งดอาหารรสจัดของหมักดอง แอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ
2. นอนให้เพียงพอถึงแม้จะยากก็ตาม
ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ไม่ควรท้างานหนักหรือยกของหนักในระยะหลังคลอด 6 สัปดาห์ เวลานอนคุณแม่ควรปรับหัวเตียงให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้แผลตรงหน้าท้องหย่อนไม่ตึง จะได้ไม่เจ็บแผลมากครับ ส่วนเวลาจะลุกจะนั่งจากเตียงก็ให้ใช้วิธีตะแคงตัวครับ แล้วค่อย ๆ ใช้มือยันตัวลุกขึ้นในท่าตะแคง
3. ทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
โดยปกติแล้ว เราจะอาบน้ำกันวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น แต่แม่ๆ ควรที่จะสระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง บางคนสระทุกวันเลยก็ แลไม่ควรแช่ในอ่างอาบน้้า หรือตามแม่น้ำลำคลองเป็นระยเวลานานๆ นะคะ
สำหรับคุณแม่ที่คลอดโดยการผ่าคลอด จะอาบน้ำเลยก็ไม่ได้ ต้องรอให้ครบ 7 วันก่อน ในระหว่างนั้นแม่ๆ ก็ต้องหมั่นเช็ดตัว และต้องระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ ซึ่งคุณแม่สามารถกลับมาอาบน้ำได้ตอนที่ตัดไหมไปแล้ว หรือต้องรอจนกว่าไหมละลาย
แต่หลังอาบน้ำให้ใช้เพียงผ้าสะอาดธรรมดาเช็ดแผล ไม่จำเป็นต้องใช้แอลกอฮอล์ และไม่ต้องไปทำแผลใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนสะเก็ดที่ติดอยู่ที่แผลก็ไม่ควรแกะออก ควรปล่อยให้ลอกไปเองจะดีกว่า
4. ทำความสะอาดฝีเย็บให้สะอาด
แผลฝีเย็บเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณแม่ทำความสะอาดไม่ดีอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงได้ สำหรับวิธีการ คือ ทำควาามสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งภายหลังจากการขับถ่าย และต้องไม่ลืมเปลี่ยนผ้าอนามับทุกๆ 3-4 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกว่าผ้าอนามัยเริ่มชุ่มแล้ว
5. อย่าลืมยาขับเลือดเด็ดขาด
ความเชื่อของคนโบราณบางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อแม่และลูกน้อย เนื่องจากแม่ยังอยู่ในช่วงให้นมลูกการจะทานยาอะไรต้องระวัง จะหยิบทานจากความเคยชินไม่ได้ ทางที่ดีควรปรึกษาคุณหมอที่ดูแลจะดีที่สุดค่ะ เพราะอย่าลืมว่าร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยาบางตัวคนนี้ใช้แล้วดี แต่ไม่แน่เราอาจใช้ไม่ได้ผลก็ได้นะคะ ให้คุณหมอวินิจฉัยจะดีกว่าตัวคุณแม่มากกว่าค่ะ
6. ฟื้นฟูร่างกายด้วยกายบริหาร
แนะนำให้คุณแม่หาเวลาสำหรับบริหารร่างกายหลังคลอดอยู่เสมอ วิธีการก็ไม่ยาก เพียงแค่คุณแม่นอนคว่ำลง แล้วหาหมอนขนาดพอดีมารองบริเวณท้องน้อย แค่นี้เอง ไม่ยากเลยใช่ไหมค่ะ สำหรับระยะเวลาในการทำก็ทำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น นานครั้งละ 20 นาที ท่านี้จะช่วยขับน้ำคาวปลา ทำให้แม่ๆ สามารถฟื้นฟูร่างกายได้เร็วยิ่งขึ้น ลองทำตามกันดูนะคะ
อีกวิธีที่อยากให้ทำ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สามารถฟื้นฟูสภาพช่องคลอดให้กลับมาสู่สภาพเดิมเหมือนสมัยยังสาว โดยการทำ “Squeeze exercise” หรือการ “ขมิบก้น” โดยควรทำวันละ 20-30 ครั้ง แน่นอนว่าคุณแม่สามารถทำได้ทันทีในหลังจากคลอด หรืออาจจะเริ่มทำในสัปดาห์ที่สองหลังคลอดก็ได้ หากยังรู้สึกเจ็บแผลอยู่ หรือจะทำระหว่างให้นมลูกก็ได้ จะได้ช่วยบริหารกะบังลมให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
7. อยู่ไฟต้องไม่ในช่วงแรก
แม่ๆ ที่คิดจะอยู่ไฟ อยากจะแนะนำว่าไม่ควรอยู่ไฟ หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนมาประคบท้องน้อยในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด หากจะทำต้องรอหลังสัปดาห์ที่ 6 ไปก่อน และต้องไม่กลั้นปัสสาวะ พร้อมทั้งต้องเลือกใส่เสื้อยกทรงขนาดพอเหมาะอีกด้วยนะคะ
8. ยาต้องทานต่อเนื่อง
โดยปกติแล้วคุณหมอจะให้ทานยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด และยาบำรุงเท่านั้น ในระยะหลังคลอด คุณแม่ควรรับประทานอย่างเคร่งครัดต่อเนื่องจนหมดส่วนยาวิตามินธาตุ เหล็ก ก็ควรรับประทานต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน เพื่อช่วยเสริมสร้างทดแทนเลือดที่เสียไปในระหว่างการคลอดและช่วยฟื้นฟูสภาพของร่างกายให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง
9. น้ำนมไม่ไหลต้องกระตุ้น
ในช่วง 1-2 วันแรกหลังคลอดอาจจะยังไม่มีน้ำนมไหลออกมาคุณแม่ไม่ต้องตกใจหรือกังวลว่าจะไม่มีน้ำนมให้ลูกกกิน คงต้องอาศัยเวลาบ้าง เทคนิคสำคัญคือ พยายามให้ลูกได้ดูดนมจากอกแม่บ่อย ๆ อย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นน้ำนม ควรดูดนมสลับกันทั้งสองข้างนานอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และทีสำคัญลูกควรจะดูดอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากเขาหยุดดูดแล้วหลับไปก็ต้องปลูกเขาให้ดูดต่อให้ต่อเนื่อง ถ้าปฏิบัติอย่างถูกต้องก็จะมีน้ำนมไหลภายใน 1-2 วันต่อมา บางคนอาจจะมาช้ากว่านี้ก็ได้น้ำนมที่ออกมาในช่วงแรก ๆ จะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใส ๆ คล้ายน้ำเหลือง อันนี้เป็นน้ำนมที่มีความสำคัญมากที่เรียกว่า “Colostrum” หรือนมน้ำเหลือง ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ รวมทั้ง “ภูมิคุ้มกัน” ของแม่ที่จะถ่ายทอดไปให้ลูกด้วย น้ำนมนี้จะช่วยให้ลูกมีถูมิต้านทานต่อเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ดีอีกด้วย นมน้ำเหลืองจะมีอยู่ประมาณ 5 วัน แล้วก็จะขุ่นขาวขึ้นจนกลายเป็นน้ำนมปกติ
10. นมคัดต้องนวด
เมื่อคุณแม่มีอาการ “นมคัด” ก็ควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ๆ ประคบโดยรอบเต้านมพร้อมกับนวดเบา ๆ จนทั่วทั้งเต้า หลังจากนั้นก็บีบเอาน้ำนมออก โดยใช้ฝ่ามือขาวประคองเต้านมเอาไว้ กดหัวแม่มือเบา ๆ ที่ส่วนบนของเต้านมนวดลงมาที่บริเวณหัวนมแรงขึ้นตามลำดับ เมื่อนวดมาถึงบริเวณลานหัวนมแล้ว ให้กดบีบที่บริเวณลานหัวนม น้ำนมก็จะพุ่งออกมาจากบริเวรหัวนม คุณแม่ควรระวังหลีกเลี่ยงการบีบที่ตัวหัวนม ซึ่งจะทำให้หัวนมแตกได้ง่าย ถ้าหากว่าคุณแม่ไม่สามารถบีบน้ำนมออกมาได้ถนัดนักอาจจะใช้ที่ปั๊มน้ำนมชนิดที่เป็นยางบีบ ในปัจจุบันมีเครื่องปั๊มน้ำนมแบบไฟฟ้าก็สะดวกดีเหมือนกัน
11.จัดการกับหัวนมแตก
เมื่อคุณแม่ประสบปัญหาหัวนมแตก ก็ควรให้ลูกได้ดูดนมอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้ไม่เจ็บหัวนมและหัวนมไม่แตกมากขึ้น หลังจากให้นมลูกเสร็จแล้ว ก็เช็ดทำความสะอาดด้วยสำลี ชุบน้ำสะอาด แล้วทาด้วยลาโนลินครีม เพื่อช่วยให้หัวนมอ่อนนุ่มลง หัวนมก็จะหายแตกในเวลาไม่นานนัก เมื่อถึงเวลาให้นมก็เช็ดทำความสะอาดหัวนมอีกครั้ง และให้นมลูกได้ตามปกติ
ในรายที่หัวนมแตกมาก มีเลือดออก มีการอักเสบ หรือมีอาการเจ็บปวดมากขณะให้นมลูกก็ควรหยุดให้นมข้างนั้น อาจใช้วิธีบีบน้ำนมใส่ขวดให้ลูกดูดนมรอจนแผลหายดีแล้วก็ให้ลูกกลับมาดูดได้เหมือนเดิม
12. มีเซ็กซ์หลังคลอดตอนไหนดี
ปกติแล้วจะให้คุณแม่งดการมีเพศสัมพันธ์ใน 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด แต่ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลฝีเย็บอักเสบก็อาจต้องงดการมีเพศสัมพันธ์นานกว่านี้ การมีเพศสัมพันธ์ในระยะแรก ๆ คุณพ่อต้องมีความนุ่มนวล ค่อยเป็นค่อยไปเพราะคุณแม่มักจะเจ็บได้ง่ายอีกทั้งความกลัว ความกังวลเกี่ยวกับแผลก็มักจะทำให้คุณแม่ไม่มีอารมณ์ร่วมเท่าที่ควร ทำให้มีการสร้างมูกหล่อลื่นออกมาน้อย ดังนั้นคุณแม่ก็ควรปล่อยตัวตามสบาย ไม่ต้องกังวลกว่าแผลจะปริแยก เพราะมักติดสนิทตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์หลังคลอดแล้ว การร่วมเพศโดยเข้าทางด้านหลัง จะช่วยลดอาการเจ็บที่บริเวณฝีเย็บได้ ลองดูสักครั้งแล้วก็ยาลืมคุมกำเนินด้วยนะครับ
อาการผิดปกติเหล่านี้ แม่ๆ อย่ารอช้า ต้องรีบไปหาหมอด่วน
- มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกจากช่องคลอด น้้าคาวปลามีสีแดงสดหลัง 7 วันแล้ว
- น้้าคาวปลามีกลิ่นเหม็น แผลฝีเย็บบวมแดงปริแยก
- มีไข้สูงติดต่อกัน หนาวสั่น 2 วัน
- ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะกระปิดกระปรอย
- เต้านมอักเสบ
- มดลูกเข้าอู่ช้า คล้าพบก้อนมดลูกตรงหน้าท้องหลัง 2 สัปดาห์
- ปวดศีรษะ ปวดท้องน้อยมา
ที่มา: โรงพยาบาลศรีนครินทร์ , นพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
5 การเปลี่ยนแปลงของแม่หลังคลอดที่คาดไม่ถึง
อาการฟื้นตัวหลังคลอดต้องเป็นแบบนี้!!
7 วิธีการลดหุ่นหลังคลอด