คนท้อง ต้องบำรุง แต่ บำรุงจนอ้วนเกินไป ลดน้ำหนักได้มั้ยเนี่ย

กินเยอะแยะ แต่ไม่ลงลูก อ้วนล่ะสิทีนี้ แม่ท้องต้องทำไง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คนท้อง ต้องบำรุง ถูกแล้วค่ะ แม่ท้องต้องทานบ่าย ทานอร่อย และมีประโยชน์ แต่ บำรุงจนอ้วนเกินไป อันตราย! เพราะน้ำหนักตัวของแม่ท้อง ที่มากหรือน้อยจนเกินไป บ่งบอกถึงความผิดปกติของลูกในครรภ์ได้ รวมถึงน้ำหนักตัวของคุณแม่ ก็ยังส่งผลต่อความสมบูรณ์ของครรภ์อีกด้วย แม่ท้องควรจะมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างพอดี เพื่อส่งต่อสารอาหารไปเลี้ยงทารกในครรภ์ แต่หากน้ำหนักเพิ่มมากเกินไปล่ะก็ แทนที่ลูกจะได้รับสารอาหารครบครัน จะกลายสารอาหารของโรคแทรกซ้อนแทนได้ เช่นนี้อันตรายมาก แล้วแม่ท้องต้องหนักเท่าไหร่ ถึงจะพอดี

คนท้อง บำรุงจนอ้วนเกินไป หนักแค่ไหนเรียกพอดี

คุณแม่หลายคนคงทราบแล้วว่าการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็นไตรมาสคือทุกๆ 3 เดือนค่ะ และน้ำหนักควรจะเพิ่มขึ้นตามสูตร คือ 1/5/5  เช็คได้ง่ายๆคือ

  • 3 เดือนแรกน้ำหนักควรขึ้น 1 กิโลกรัม
  • 3 เดือนที่สอง 5 กิโลกรัม
  • 3 เดือนสุดท้ายอีก 5 กิโลกรัม

สำหรับในเดือนแรก ๆ น้ำหนักตัวของคุณแม่บางคนยังไม่ขึ้นมากนัก อาจจะเกิดจากการที่แม่มัวแต่ อาเจียน แพ้ท้อง ทำให้รับประทานอาหารได้น้อย น้ำหนักจึงขึ้นน้อย โดยปกติแล้ว แม่ท้องมีระยะเวลาของตั้งครรภ์ทั้งหมดประมาณ 40 สัปดาห์ ดังนั้น น้ำหนักที่คาดว่าควรจะเพิ่มขึ้น จึงควรเพิ่มมาประมาณ 11 – 12 กิโลกรัม

คำนวณน้ำหนักแม่ท้อง ตามดัชนีมวลกาย

บทความ : ความสำคัญของ น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักก่อนท้อง สำคัญยังไง?

น้ำหนักของคนท้อง ควรจะขึ้นเท่าไหร่นั้น จะขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยคำนวณจาก น้ำหนัก(เป็นกิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง(เป็นเมตร)ยกกำลังสอง

คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ระหว่าง 18.5 – 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์เท่ากับ 11.5 – 16 กิโลกรัม และควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมบางคนท้องใหญ่ บางคนท้องเล็ก เกี่ยวกับอ้วนไม่อ้วนมั้ย

แม่ท้องแต่ละคนจะมีขนาดของรูปร่าง และท้องต่างกันออกไป ตามขนาดของร่างกาย และโครงสร้างค่ะ ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์การเจริญเติบโตของร่างกาย และครรภ์ก็ไม่เหมือนกัน ขนาดมดลูกของแต่ละคน และระยะเวลาในการตั้งครรภ์ ก็มีส่วนที่ทำให้ขนาดครรภ์ต่างกันด้วยเช่นกัน โครงสร้างของแต่ละคน ก็มีผลต่อขนาดของครรภ์ เช่น ผู้หญิงที่รูปร่างเล็กผอมบาง แต่มีกระดูกเชิงกรานบาง อาจจะมีขนาดของท้องที่ใหญ่กว่า ผู้หญิงที่รูปร่างสูง แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ขนาดของครรภ์จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของแม่ที่เพิ่มขึ้น ในระหว่างตั้งครรภ์

อ้วนเกินไป ลดน้ำหนักได้ไหม ระหว่างท้อง

แม่ท้องหากคิดว่าน้ำหนักตัวมากเกินไป ควรไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจดูว่ามีโรคแทรกซ้อนอะไรไหม อาจเป็นโรคเบาหวานแฝงมา หรือครรภ์ผิดปกติ คุณแม่บางคน อาจจะเป็นคนอ้วนง่าย และในช่วงตั้งครรภ์ ก็เริ่มบำรุง จึงทำให้น้ำหนักเกินง่าย ถ้าน้ำหนักมากเกิน คงต้องปรับ หรือเปลี่ยนอาหาร แต่ไม่แนะนำให้อดอาหารเป็นมื้อไม่ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม อาหารที่เน้นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็คือ อาหารประเภท เนื้อ นม ไข่ ผัก ผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน และไม่มีแคลอรีสูง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำหนักตัวที่พุ่งพรวด ครรภ์แฝดน้ำ ลูกคลอดมาพิการ

สำหรับในบางรายน้ำหนักตัวขึ้นเร็วมาก หรือหากมีอาการตัวบวม ขนาดของท้องขยายผิดสังเกต  และหากหลังเท้า บริเวณฝ่าเท้า หน้าแข้งบวมมาก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ก็อาจเป็นน้ำที่สะสมจากภาวะแทรกซ้อนของครรภ์ที่ผิดปกติ ถ้าหากขนาดของครรภ์ใหญ่เร็วมาก อาจจะมีภาวะครรภ์แฝดน้ำ ที่ทำให้มีน้ำคร่ำเยอะในภาวะนี้ส่วนใหญ่ เด็กจะมีความพิการ หากมีอาการดังกล่าว แม่ท้องควรรีบพบแพทย์ค่ะ

อย่างนี้ คนท้องกินอะไรดี อาหารคนท้องแต่ละไตรมาส

บทความ : อาหารคนท้อง แต่ละไตรมาส คนท้อง ควรกินกี่มื้อ กับข้าวแม่ท้อง กินบำรุงทารกในครรภ์ ทุกไตรมาส

อาหารคนท้องไตรมาสแรก หรืออาหารคนท้องไตรมาสที่ 1

ในช่วง 1-3 เดือนแรก หญิงตั้งครรภ์หลายคนอาจยังไม่สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย แต่อาการที่แสดงออกคือ การแพ้ท้อง หากทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีเครื่องเทศมาก หากแพ้ท้องมากทำให้กินอาหารได้น้อยควรแบ่งมื้อกินให้บ่อยยิ่งขึ้น น้ำหนักตัวอาจเพิ่มขึ้นเพียง 1-2 กิโลกรัม

อาหารคนท้องไตรมาสที่ 2

ช่วงตั้งครรภ์ 4-6 เดือน ควรกินอาหารมากขึ้นและในอาหารที่มีคุณภาพโดยกินอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ เพราะในระยะนี้ลูกน้อยก็กำลังสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย สารอาหารที่เพียงพอ จะไปช่วยเพิ่มขนาดของอวัยวะที่ทารกกำลังเจริญเติบโต และมากพอที่จะทำให้สุขภาพของแม่แข็งแรงอยู่ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขณะตั้งครรภ์ คนท้องควรควบคุมน้ำหนักตัวให้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ คือ ½ กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือ 2 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งในช่วงนี้ร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 300 แคลอรีต่อวัน และต้องการโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ไข่ เพิ่มขึ้นจากปกติ ควรเพิ่มธาตุเหล็กเพื่อใช้ในสร้างเม็ดเลือดและโฟเลทในการป้องกันความผิดปกติปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งพบในเครื่องในสัตว์ ผักเขียวเข้ม ไข่แดง เป็น เพิ่มแคลเซียมและฟอสฟอรัสในการสร้างกระดูกและฟันจาก นม ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้แข็ง ธัญพืช และผักเขียวเข้ม กินอาหารที่เป็นแหล่งไอโอดีน เช่น อาหารทะเล หรือปรุงประกอบอาหารด้วยเครื่องปรุงที่มีการเสริมไอโอดีนที่ช่วยในการพัฒนาระบบประสาทและการเจริญเติบโตของเซลล์สมองให้สมบูรณ์ โดยช่วงไตรมาสนี้ควรดื่มน้ำเพิ่มมากยิ่งขึ้น

อาหารคนท้องไตรมาสสุดท้าย หรืออาหารคนท้องไตรมาสที่ 3

ช่วง 7-9 เดือน คือในช่วงของการเปลี่ยนแปลง ร่างกายยังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 300 แคลอรีต่อวัน หรือเท่ากับอาหาร 1 มื้อ หรืออาจเพิ่มเป็นอาหารว่าง 2 มื้อ ในช่วงนี้ควรติดตามการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก เนื่องจากจะมีผลต่อการเจริญเติบโตกับทารก คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ ควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 10 แก้ว และเลือกกินอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัย ปรุงสุกใหม่ๆ เพราะพลังงานและสารอาหารที่มีคุณค่าอย่างเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญต่อลูก

คนท้อง ควรกินกี่มื้อ

ในช่วงไตรมาสแรก ถ้าคุณแม่มีอาการแพ้ท้องมาก แพ้ท้องหนัก จำเป็นต้องกินทันทีหลังตื่นนอน และกินอาหารมื้อเล็ก ๆ ตลอดทั้งวัน สำหรับคุณแม่ไตรมาสที่ 2 จะรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่แม่ท้องไตรมาสสุดท้าย ต้องดูแลเรื่องอาหารการกินมากขึ้น ถ้าคุณหมอแนะนำให้ลดปริมาณอาหารลง ก็ควรปฏิบัติตาม เพราะช่วงใกล้คลอดถ้าทารกตัวใหญ่ก็จะคลอดยาก หรือแม่กินหวานจัด ๆ ก็เสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้

ที่มา : www.cdc.gov

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ลดน้ำหนักตอนให้นม ยังไง นมแม่ไม่เสียคุณค่าและไม่หดหาย 

ถ้าคนท้องอ้วน ลูกจะอ้วนตามไปด้วยไหม ตอนคลอดจะน่ากลัวขนาดไหน แล้วจะทำไงดี

วิจัยเผย คนท้องอ้วน ลูกเสี่ยงเป็นภูมิแพ้! ปัญหาของแม่ท้องที่อ้วนเกินพิกัด!

บทความโดย

Weerati