เจ็บท้องหลอกVSเจ็บท้องจริง แม่ท้องต้องดูยังไง

มีอาการเตือนหลายอย่างเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่ใกล้คลอด โดยเฉพาะอาการเจ็บท้อง เพราะมีทั้งเจ็บท้องจริงและเจ็บท้องหลอก นอกจากนี้ คุณแม่จะได้เรียนรู้ว่า ทารกเคลื่อนเข้าสู่อุ้งเชิงกรานแล้วแต่บางทีกว่าจะคลอดมักกินเวลานานหลายชั่วโมงไปจนถึงหลายวันค่ะ แต่มาทราบกันก่อนดีกว่าค่ะว่า เจ็บท้องหลอก เจ็บท้องจริงเมื่อใกล้คลอดลูกนั้นเป็นอย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เจ็บท้องหลอกVSเจ็บท้องจริง แม่ท้องต้องดูยังไง

เจ็บท้องหลอก  แม่ท้องดูยังไง

เจ็บท้องหลอกเป็นสัญญาณที่คุณแม่จะพบได้ในเดือนสุดท้าย  เป็นการเตือนว่า  การคลอดจะเกิดขึ้นในช่วงประมาณ 2 - 3 สัปดาห์หรือคุณแม่บางคนอาจจะคลอดเร็วกว่านี้ก็ได้นะคะ  อาการเจ็บท้องหลอก สังเกตอย่างไร

1. เจ็บท้องหลอกเกิดจากมดลูกบีบหดตัว ทำให้ปวดบริเวณท้องเท่านั้น  อาการปวดจะเป็นแบบไม่สม่ำเสมอเรียกว่า  เป็น ๆ หาย ๆ  ความถี่หรือความเจ็บปวดจะไม่รุนแรงมากขึ้น  ปวดแต่ละครั้งน้อยกว่า 50 - 80 วินาที

2. เมื่อเดิน หรือเปลี่ยนท่าจะหายปวด  อาการปวดแบบนี้ยังไม่คลอดนะคะ ไม่ต้องไปโรงพยาบาล  รอสัญญาณการปวดว่าจะคลอดจริง เช่น  เจ็บครรภ์ประมาณ 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ให้คุณแม่รอดูในชั่วโมงต่อไปว่าอาการเจ็บครรภ์ห่างออกหรือถี่ขึ้น ถ้าเจ็บท้องห่างออกไป  น้อยกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง แบบนี้เป็นการเจ็บเตือนหรือที่เรียกว่าเจ็บหลอกเท่านั้นค่ะ

3. อาการเจ็บท้องหลอกแบบนี้  มดลูกซ้อมหดรัดตัวเพื่อเตรียมคลอดจริง  ความเจ็บปวดจะคล้าย ๆ กับการปวดท้องประจำเดือนค่ะ

4. การซ้อมหดตัวของมดลูกหรือการเจ็บท้องหลอกทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวด  วิธีบรรเทาอาการปวดทำได้โดย ให้นั่งลงหรือนอนตะแคง  แต่ไม่ควรนอนหงายนะคะ ถ้ายังไม่หายให้นั่งขยับไปมาเบา ๆ หรือแช่น้ำอุ่น และดื่มน้ำให้เพียงพอ

5. กรณีที่เจ็บท้องหลอกแต่ไปโรงพยาบาลคุณหมอจะตรวจความดันโลหิต  ชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะ  ตรวจภายในวัดขนาดของมดลูก  ความสูงของมดลูก  และตรวจภายในดูว่าปากมดลูกเปิดหรือยัง  รวมทั้งสอบถามความถี่และความแรงของอาการมดลูกบีบตัว แต่ส่วนใหญ่หากไม่มีแน้วโน้มว่าจะคลอดคุณหมอมักจะให้กลับบ้านค่ะ

เรื่องน่ารู้ : ข้อควรปฏิบัติเมื่อเจ็บท้องหลอก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเตรียมความพร้อมเอาไว้เป็นสิ่งสำคัญเพราะในช่วง 9 เดือนคุณแม่อาจคลอดได้ทุกเมื่อ ดังนั้น คุณแม่ต้องเตรียมเบอร์โทรศัพท์ของทางโรงพยาบาลไว้  หากมีอาการปวดท้องหลอก คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการต่อไปนี้ที่แสดงว่า ที่แสดงว่าจะคลอดจริง

1. มีเลือดหรือน้ำเดินออกจากช่องคลอดหรือไม่

2. มดลูกหดเกร็งตลอดเวลา

3. ปวดหลังตลอดเวลาไม่หาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. รู้สึกหน่วง ๆ บริเวณช่องคลอด เพราะทารกเริ่มไหลลงช่องคลอดล้ว

5. มีตกขาวเป็นมูกเหนียว  และมีเลือดปน แสดงว่าปากมดลูกเริ่มเปิด แต่อาจใช้เวลาอีกหลายวันหรือบางคนอาจจะคลอดภายในไม่กี่ชั่วโมงก็ได้

6. มีตกขาวเป็นน้ำใสแสดงว่าถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว คุณแม่เตรียมตัวคลอดเลยค่ะหากเกิดกรณีเช่นนี้

7. มีอาการปวดท้องสม่ำเสมอ และเจ็บท้องขึ้นเรื่อย ๆแสดงว่ามดลูกบีบตัวใกล้คลอดแล้วหละคะเตรียมกระเป๋ามุ่งสู่โรงพยาบาลเลย

เจ็บท้องหลอกVSเจ็บท้องจริง แม่ท้องต้องดูยังไง

เจ็บท้องจริง  แม่ท้องดูยังไง

ได้ทราบแล้วว่าเจ็บท้องหลอกเป็นมีอาการยังไงนะคะ  ที่นี้มาดูเจ็บท้องจริงไม่อิงนิยาย!!!  อาการเริ่มต้นเรียงลำดับมาเลยนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. คุณแม่จะมีอาการอึดอัด  กล้ามเนื้อเกร็งทุก ๆ 5 - 10 นาที

2. ปวดหลังและปวดท้องมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกพักก็ไม่ทุเลาลง  เมื่อเริ่มปวดท้องให้ลองจับเวลาดูว่าตั้งแต่เริ่มปวดท้องจนปวดครั้งแต่ไป จะพบว่า  มีอาการปวดสม่ำเสมอ  ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง เจ็บครรภ์ 5 ครั้งขึ้นไป คือ เจ็บท้องทุก ๆ  10 - 15 นาที ปวดท้องถี่ ๆ สม่ำเสมอ  มีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปวดแต่ละครั้งนาน 30 - 70 วินาที

3. เมื่อเอามือคลำท้องจะพบว่าท้องแข็งเนื่องจากมดลูกแข็งตัว  หากคุณแม่เคลื่อนไหวจะปวดมากขึ้น มดลูกจะบีบตัวถี่ขึ้นเรื่อย ๆ จนปวดทุก 2 - 3 นาที และเมื่อไหร่ที่การบีบตัวของมดลูกบีบตัวประมาณ 45 วินาที ชัดเลยค่ะ คุณแม่ใกล้คลอดเต็มที่แล้วนั่นเอง

4. เริ่มมีเมือกเหนียวสีชมพูออกแดงอ่อน ๆ ที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่ปากมดลูกฉีกขาด

5. สิ่งยืนยันว่าคลอดแน่ !!! ถุงน้ำคร่ำแตก แบบนี้ไปโรงพยาบาลด่วนเลยค่ะให้ทันภายใน 24 ชั่วโมง

จุดสังเกตเจ็บท้องคลอดจริง

1. ตำแหน่งที่ปวด คือ  บริเวณหลังหรือบั้นเอว ร้าวมาทางหน้าท้องและลงไปถึงต้นขา  ขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก

2. มีน้ำเดิน  คือ  ถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่วออกมาทางช่องคลอด  มีได้ 2 ลักษณะ  คือ  มีน้ำใส ๆ อุ่น ๆ อาจมีเลือดปนออกมาจำนวนมากจนเปียกชุ่ม

3. อีกลักษณะหนึ่ง คือ น้ำซึมออกมาจากช่องคลอดแต่มีปริมาณไม่มากแต่ซึมออกมาอยู่ตลอดค่ะ    เวลาเคลื่อนไหวจะมีน้ำไหลออกมามากขึ้น  เมื่อมีน้ำเดินจะมีอาการเจ็บท้องมากขึ้น

4. หากมีอาการน้ำเดินไม่ว่าคุณแม่จะเจ็บท้องหรือไม่ก็ตามต้องรีบไปโรงพยาบาลทันทีนะคะ  บางครั้งน้ำคร่ำสีเข้มขึ้นเป็นสีออกเขียวหรือน้ำตาล ที่เป็นสีเช่นนี้เพราะมีขี้เทาของทารกน้อยในครรภ์ของทารกปนออกมาด้วย

5. ขี้เทา  คือ  สิ่งที่อยู่ในลำไส้ของทารกในครรภ์  หรืออาจหมายถึง ภาวะที่ที่ทารกขาดออกซิเจน  ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวรวมถึงหูรูดของทวารหนักคลายตัวด้วย จึงทำให้มีขี้เทาปนออกมากับน้ำคร่ำได้

6. มีมูกเลือดปนออกมาทางช่องคลอด  แบบนี้แสดงว่าปากมดลูกเริ่มเปิดและขยายออกจนเยื่อหุ้มทารกในครรภ์แยกออกจากผนังมดลูกส่วนล่างจนทำให้มีเลือดไหลซึมออกมาปนกับมูกออกมาทางช่องคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. อาการที่กล่าวมานี้มักจะเกิดก่อนการคลอดเป็นวัน ๆ ถ้าไม่มีการบีบรัดตัวของมดลูกร่วมด้วย  คุณหมอมักจะทำการเร่งคลอดค่ะ

บทความแนะนำ  เรื่องน่ารู้ วิธีการเร่งคลอดมีอะไรบ้าง

เรื่องน่ารู้ : ข้อควรปฏิบัติเมื่อเจ็บท้องจริง

1. ควรงดมีเพศสัมพันธ์ในระยะ 2 สัปดาห์ใกล้คลอด

2. จดจำเวลาเริ่มเจ็บท้องจริง  มีมูกหรือเลือดออก และเวลาที่น้ำเดิน

3. สังเกตลักษณะของน้ำคร่ำ

4. ก่อนจะไปโรงพยาบาลควรอาบน้ำ สระผม ทำความสะอาดร่างกาย

5. เตรียมเอกสารสำคัญต่าง ๆ บัตรประจำตัวโรงพยาบาล  สมุดฝากครรภ์และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นมาโรงพยาบาล

6. หากคุณแม่เคยผ่าท้องคลอด  ควรงดน้ำและอาหาร หรือถ้าหิวก็ควรจิบน้ำเพียงเล็กน้อยได้

อาการผิดปกติที่คุณแม่ควรมาพบคุณหมอทันที

1. เจ็บท้องคลอดหรือน้ำเดินก่อนครรภ์ครบกำหนด

2. ทารกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้นเลย หรือดิ้นรุนแรงแล้วหยุดดิ้น

3. มีเลือดออกทางช่องคลอด

4. มีอาการผิดปกติอย่างอื่น  เช่น  บวมมาก ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว

5. ถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่วก่อนกำหนดคลอด

 

ได้ทราบกันแล้วนะคะคุณแม่สำหรับวิธีสังเกตอาการเจ็บท้องหลอก เจ็บท้องจริง   ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณแม่จะคลอดแน่ ๆ แล้ว หรือถ้าไม่มั่นใจจริง ๆ ก็โทรศัพท์ไปปรึกษากับทางโรงพยาบาลก่อนก็ได้นะคะ เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยของคุณแม่ค่ะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

เอกสารเจ้าตัวน้อย คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์คุณภาพอายุครรภ์ 1 เดือน ถึง 9 เดือน

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การทำงานของมดลูกตั้งแต่เจ็บครรภ์จนคลอด

แม่รู้ไหม!!ยอดมดลูกบ่งบอกขนาดทารกในครรภ์