X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การเล่นของลูกไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ

บทความ 3 นาที
การเล่นของลูกไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ

ตั้งแต่ทารกเริ่มมีพัฒนาการขยับแขนขยับขาเองได้ การให้ลูกได้เล่น ถือเป็นส่วนหนึ่งที่เสริมให้ลูกได้มีพัฒนาการและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น การปล่อยให้ลูกได้เล่นจึงเป็นโอกาสส่วนหนึ่งในชีวิตวัยเด็กที่ได้มีการเคลื่อนไหวอย่างสนุกและมีจินตนาการของพัฒนาการตามวัย

“การเล่น” ถือเป็นส่วนสำคัญสำหรับชีวิตของเด็ก เป็นกระบวนการที่ทำให้ลูกได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข มีงานวิจัยทางการแพทย์ได้ยืนวันว่า การเล่นจะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมอง โดยการเล่นจะกระตุ้นให้มีการเพิ่มขึ้นของการส่งสัญญาณประสาทและเพิ่มการประสานงานระหว่างเซลล์สมองกับการทำงานของร่างกายได้ดีขึ้น

เมื่อลูกได้ลงมือเล่นเท่ากับได้ลงมือทำ เกิดการทดลองสิ่งใหม่ ๆ ได้ใช้กระบวนการคิดและการเรียนรู้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ทำให้เด็กได้เจอกับอุปสรรค์ ความท้าทาย เหล่านี้ถือเป็นโอกาสของลูกที่จะได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหา เพื่อเพิ่มพูนทักษะชีวิตและพัฒนาการของตัวเองทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสติปัญญา ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจัดเวลาและพื้นที่เล่นให้เหมาะสมสำหรับลูกตามช่วงวัย เพื่อให้ลูกได้มีการเคลื่อนไหว ขยับร่างกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ เช่น ได้คืบคลาน เกาะเดิน หรือการวิ่งเล่นในที่โล่ง มีบรรยากาศถ่ายเท โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการเล่นเป็นหลัก

การเล่นของเล่น

นอกจากการได้เล่นกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ เคลื่อนไหวแล้ว “ของเล่น” ลูก คือตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่พ่อแม่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก การเลือกของเล่นให้ลูกจึงไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ก่อนที่จะเลือกซื้อของเล่นให้ลูกซักชิ้น พ่อแม่ควรคำนึงถึง

1.เลือกของเล่นให้ลูกที่เหมาะสมกับวัย มีความปลอดภัย คงทน ไม่มีมุมหรือเหลี่ยมคม มีน้ำหนักที่เหมาะมือกับเด็ก

2.ควรหลีกเลี่ยงของเล่นที่มีสีสัน เพราะอาจมีสารเคมีอันตรายที่ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

3.สำหรับเด็กเล็กที่ต่ำกว่าอายุ 3 ขวบ ควรหลีกเลี่ยงของเล่นที่มีขนาดเล็ก เพราะอาจจะหยิบจับเข้าปากด้วยความไม่รู้และส่งอันตรายต่อลูกได้

4.ไม่ควรซื้อของเล่นที่ส่งเสริมความก้าวร้าว เช่น ของเล่นที่เป็นอาวุธ

5.เลือกซื้อของเล่นที่ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยจากสถาบันที่ได้มาตรฐาน เช่น มอก. โดยดูจากฉลากข้างกล่องผลิตภัณฑ์

6.ของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกก็คือ พ่อแม่ ซึ่งการได้เล่นกับลูก เล่านิทาน ร้องเพลง ได้พูดคุยกับลูก ฯลฯ ถือเป็นของเล่นที่ตอบสนองความต้องการของลูกได้มากและมีค่าที่สุด

อย่างไรก็ตาม การให้ลูกได้เล่นควรอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ หลังเล่นและออกกำลังกายแล้ว ให้ลูกได้มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ กินอาหารที่ดีมีปรระโยชน์ เหล่านี้ก็จะทำให้ลูกได้เติบโตอย่างมีวุฒิภาวะสมบูรณ์ทั้งกาย ใจและอารมณ์ที่ดี หลายครั้งที่การเล่นจะช่วยสร้างอิทธิพลต่อเด็ก ทำให้เกิดแรงบันดาลใจเมื่อโตขึ้น และมีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกอาชีพของเด็กในอนาคตได้

Source : www.manager.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
กุมารแพทย์แนะ 3 วิธีเลือกของเล่นให้ตรงใจวัยเตาะแตะ
13 สารเคมีอันตรายที่พบในของเล่นเด็ก!!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • กิจกรรมเด็ก
  • /
  • การเล่นของลูกไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ
แชร์ :
  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว