ปิดเทอมซัมเมอร์นี้ เจ้าตัวเล็กอาจจะซ่าได้ไม่เต็มที่นัก เพราะแสงแดดหน้าร้อนบ้านเราอันตรายกว่าที่คิดค่ะ การทาครีมกันแดดช่วยป้องกันไม่ให้ผิวเสียได้ แต่ปกป้องลูกจากเชื้อโรคที่ปนมากับอากาศไม่ได้ เผลอๆ ลูกอาจจะแอบกินขนมหรืออาหารที่ไม่สะอาด จนท้องไส้ปั่นป่วน ฉะนั้น เราต้องป้องกันไว้ดีกว่าแก้ มาเตรียมรับมือกับ โรคที่มากับหน้าร้อน ที่เด็กๆ มีโอกาสเสี่ยงป่วยบ่อยกันดีกว่า
โรคที่พบบ่อยในหน้าร้อน
- โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat stroke)
อย่าปล่อยให้ลูกเล่นอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะช่วงเวลา 09.00-15.00 น. เนื่องจากร่างกายเด็กสูญเสียน้ำและเกลือแร่ง่ายกว่าผู้ใหญ่ อาจเกิดภาวะวิกฤติ ไม่สามารถควบคุมความร้อนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นโรคลมแดดได้ หากพบว่า ลูกตัวร้อนจัด โดยที่ไม่มีเหงื่อออก หน้ามืด ปวดศีรษะ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ชัก หมดสติ ให้รีบพาเข้าที่ร่มให้เร็วที่สุด แล้วจับลูกนอนราบ ยกเท้าสองข้างให้สูงขึ้น หาผ้าชุบน้ำเช็ดตัวระบายความร้อนตรงรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับ หากยังมีสติให้จิบน้ำบ่อยๆ แล้วพาส่งโรงพยาบาลทันที
เมื่อร่างกายสะสมความร้อนเอาไว้มากจนระบายออกไม่ทัน ประกอบกับวิ่งเล่นเข้า-ออกห้องแอร์ทั้งวัน อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อยส่งผลให้ลูกเป็น ไข้หวัดแดด คือ มีอาการไข้ ตัวร้อน ปวดศีรษะ ตาแดง ปากคอแห้ง แสบคอ ขมปาก คุณแม่ต้องพาลูกเข้าที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เช็ดตัว เพื่อคลายความร้อนในร่างกาย รับประทานยาลดไข้ รับประทานอาหารอ่อนๆ ดื่มน้ำเยอะๆ และพักผ่อนให้เพียงพอค่ะ
ผดร้อน ลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสๆ ขนาดเล็กรวมกันเป็นกระจุก มักเกิดขึ้นตรงต้นขาด้านใน ใต้รักแร้ หัวเข่า ซอกพับต่างๆ ของร่างกายที่เสียดสีกันบ่อย สาเหตุจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ ซึ่งไม่อันตรายร้ายแรง เพียงแต่จะรู้สึกแสบคันนิดหน่อย ใช้คาลาไมน์ทาบรรเทาอาการคันได้ค่ะ ส่วนผื่น เป็นอาการแพ้ ซึ่งจะคันมาก ยิ่งเกาบ่อย ผื่นจะยิ่งหนา ลุกลาม ต้องใช้ยาช่วยรักษา คุณแม่ควรเตรียมเสื้อผ้าให้ลูกน้อย โดยเน้นเนื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หมั่นเช็ดตัว หรืออาบน้ำให้บ่อย อย่าให้มีเหงื่อหมักหมม เพราะจะทำให้อาการผดผื่นอักเสบมากกว่าเดิม
- อาหารเป็นพิษ ท้องเสียเฉียบพลัน
อาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ปรสิต ฯลฯ ทำให้รู้สึก พะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ กระหายน้ำบ่อย ปวดท้องบิดเกร็งเป็นพักๆ ถ่ายมีมูกหรือเลือดปน และหากร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากอาจเป็นอันตรายได้ ส่วนอาการท้องเสียเฉียบพลัน หรือ ท้องร่วง ลูกจะถ่ายอุจจาระเหลวปนน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรืออาจถ่ายมีมูกเลือดปน ส่วนใหญ่มักจะหายภายใน 7 วัน วิธีป้องกันก็คือ รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ ผ่านความร้อน เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมาในอาหาร
เนื่องจากระบบการย่อย และการดูดซึมสารอาหาร ของเด็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ นอกจากระวังเชื้อโรคแล้ว คุณแม่ควรให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คลายร้อน เช่น แตงโม สมูทตี้ โยเกิร์ต สลัดผัก ผลไม้ลอยแก้ว บะหมี่เย็น ฯลฯ หรือถ้าหากเป็นนมสักแก้วแนะนำให้เลือก นมแพะ เพราะมีโปรตีนที่ย่อยและดูดซึมได้ง่าย เพราะมีโปรตีนเบต้าเคซีนสูง ลูกดื่มแล้วสบายท้อง ในนมแพะยังมีโปรตีน CPP หรือ Casein Phosphopeptides ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุสำคัญ อาทิ แคลเซียม แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และสังกะสี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือ มี Prebiotics หรือใยอาหาร เช่น Inulin, Oligofructose ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ทำให้ขับถ่ายดีขึ้น หมดปัญหาอาการท้องผูก และช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน ลูกจึงมีสุขภาพแข็งแรง ภูมิคุ้มกันดี ไม่ป่วยง่าย และไม่โดนโรคร้ายเล่นงานบ่อยๆ ค่ะ
สร้างภูมิคุ้มกันรอบด้าน เทรนด์การเลี้ยงลูกของแม่สมัยใหม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!