กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคใกล้ตัวที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ด้วยวิถีชีวิตเปลี่ยนไปของสาว ๆ ที่มักจะทำงานนอกบ้านมากขึ้นและหนึ่งโรคยอดฮิตนอกจากออฟฟิสซินโดรมแล้ว คงหนีไม่พ้นโรค กระเพาะปัสสาวะอักเสบ นี่เอง เพราะการทำงานในออฟฟิส ที่ต้องนั่งตลอดทั้งวัน การประชุม และตารางงานที่แน่นทำเรามักจะกลั้นปัสสาวะอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะสาว ๆ ที่ทำงานจนลืมตัว ไม่ยอมลุกไปเข้าห้องน้ำ ทำให้เกิดการกลั้นปัสสาวะ หรือแม้แต่การอยู่นอกบ้านเวลาปวดปัสสาวะขึ้นมาก็ไม่ยอมเข้าห้องน้ำเพียงเพราะกลัวความสกปรก นี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เรากลั้นปัสสาวะ และทำให้เกิดการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น

 

ขอขอบคุณวีดีโอจาก : Siriraj Pr

 

กระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่อะไร?

กระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่กักเก็บปัสสาวะ ซึ่งสามารถกักเก็บได้ ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร และเมื่อในกระเพาะปัสสาวะ มีปริมาณปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ผนังจะเริ่มบีบตัว เพื่อขับปัสสาวะออก

 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากอะไร

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งพบบ่อยในผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย จึงทำให้เชื้อโรคเข้าไปในร่างกายได้ง่ายกว่า แต่ในบางรายอาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะบ่อยครั้ง และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคบริเวณดังกล่าวจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิง ได้ง่ายกว่าผู้ชายนั่นเอง

 

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดคือการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะเชื่อแบคทีเรีย เอสเชอริเชีย โคไล หรืออีโคไล ซึ่งเชื่อเหล่านี้จะมีอยู่ในจำนวนมากที่บริเวณรอบรูทวารหนัก สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่นการมีเพศสัมพันธ์ การทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระที่ไม่ถูกวิธี การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือการสวนปัสสาวะ นอกจากนี้อาจเกิดขึ้นได้โดยสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช้เชื้อแบคทีเรีย แต่มักเกิดขึ้นได้น้อยมาก เช่นเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังการใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณจุดซ่อนเร้น การฉายรังสีบริเวณกล้ามเนื้อเชิงกราน หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ

 

สาเหตุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
  • การดูแลอนามัยของอวัยเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้หญิงหากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี ก็อาจจะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายมากกว่าเป็นผู้ชาย
  • การส่วนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ ทำให้แบคทีเรียชนิดดีที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคถูกกำจัดออกไป
  • การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงในช่วงที่หมดประจำเดือน
  • ผู้ป่วยในโรคเบาหวาน หากควบคุมโรคได้ไม่ดี ก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่แล้ว
  • ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน
  • การที่ใส่สายส่วนปัสสาวะเป็นเวลานาน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ฉี่น้อย ไม่ฉี่เลยทั้งวัน อั้นฉี่หรือเปล่า ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ?

 

อาการเหล่านี้บ่งบอกว่า กำลังเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ปวดปัสสาวะบ่อยโดยปวดมากกว่า 10 ครั้ง/ วัน และปัสสาวะแบบกระปริบกระปรอยมีอาการคล้าย ๆ ถ่ายปัสสาวะไม่สุด และส่วนใหญ่ต้องลุกมาปัสสาวะบ่อย ๆ ในเวลากลางคืน
  • ปัสสาวะแสบคันอาการ คือ เมื่อปัสสาวะเสร็จแล้วอาจมีเจ็บเสียวแสบบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ ในบางรายอาจมีปัสสาวะปนเลือดร่วมด้วย
  • ปัสสาวะมีสีขุ่น และบางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ และในรายที่เป็นมากปัสสาวะอาจมีเลือดปนเปื้อนออกมาด้วย อีกทั้งยังมีไข้ร่วมด้วย

 

ปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานเป็นประจำ ทำให้เชื้อโรคในปัสสาวะเติบโตได้ดี
  • ไม่รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ ทำให้มีโอกาสที่จะติดเชื้อจากช่องคลอดได้
  • เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ความชุ่มชื้นที่บริเวณช่องคลอด และเยื่อบุท่อปัสสาวะจะลดลงตามไปด้วย
  • การสวนล้างช่องคลอด ทำให้แบคทีเรียที่ช่วยป้องกันเชื้อโรค ถูกกำจัดออกไป ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว
  • ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยากดภูมิต้านทาน
  • การสวมใส่สายสวนปัสสาวะเป็น ติดต่อกันเป็นเวลานาน

 

วิธีสังเกตอาการ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • มีปัสสาวะสีขุ่น
  • ปัสสาวะแสบ ติดขัด ผิดปกติ
  • มีอาการปวดท้องน้อย
  • ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้
  • ปวดปัสสาวะบ่อย

 

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นปัสสาวะอักเสบ

  • การดื่มน้ำที่สะอาดมาก ๆ ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน เมื่อเป็นโรคที่ต้องจำกัดการดื่มน้ำ เช่นโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งการดื่มน้ำจะช่วยในการขับเชื้อโรคออก และลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้
  • ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะปัสสาวะ เช่นกาแฟ น้ำอัดลม และน้ำผลไม้ที่ไม่มีน้ำตาล
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ ไม่ควรนั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลานาน
  • การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหลังขับถ่ายในผู้หญิง ต้องทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลังอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะได้
  • ในผู้หญิงไม่ควรใช้วิธีคุมกำหนดโดยการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ หรือการใช้ฝาครอบมดลูก เพราะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะ และปากช่องคลอดส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
  • ไม่ควรใช้สเปรย์หรือน้ำยาดับกลิ่นตัวในอวัยวะเพศ เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บ และการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
  • ควรอาบน้ำจากฝักบัว หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่าง เพราะอาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และลดโอกาสในการติดเชื้อขั้นรุนแรง
  • ผู้ป่วยไม่ควรที่จะซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจจะทำให้ได้ยาไม่ตรงตามโรคที่เป็น หรือขนาดและระยะเวลาในการใช้ยาไม่ถูกต้อง จึงอาจส่งผลให้โรคไม่หาย

บทความที่เกี่ยวข้อง :ท่อปัสสาวะอักเสบ มีหนอง เพราะแม่ทำความสะอาด จุ๊ดจู๋ จิมิ ของหนูไม่ดี

 

 

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคปัสสาวะอักเสบ

  • ซักถามประวัติการเจ็บป่วย และตรวจร่างกายพื้นฐาน
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่นเชื้อแบคทีเรีย เลือด หรือเม็ดเลือดขาว
  • หากมีการติดเชื้อ แพทย์อาจส่งน้ำปัสสาวะเพื่อการเพาะเชื้อ
  • ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเรื้อรัง แพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่นการส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ การตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจ หรือการถ่ายภาพรังสีเพื่อวินิจฉัยความปกติในระบบทางเดินปัสสาวะที่มากกว่าการติดเชื้อ

 

แนวทางการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • โดยทั่วไปจะให้รับประทานยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน

 

ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคปัสสาวะอักเสบ

  • เสาวรส เป็นผลไม้ที่มีวิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 และมีวิตามินซีสูงมากจึงช่วยเพิ่มสภาวะเป็นกรดให้น้ำปัสสาวะ ไม่มีการตกตะกอนของเกลือต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำปัสสาวะ
  • แครนเบอร์รี่ ผลไม้สีแดงในตระกูลเบอร์รี่อุดมไปด้วยวิตามินซีสูงมากและยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ทั้งยังมีสารต้านแบคทีเรียจึงมีสรรพคุณในการรักษา โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้แบบเห็นผล เพียงดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ก็จะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียในปัสสาวะให้ลดลงได้
  • โทงเทงฝรั่ง เป็นผลไม้ในกลุ่มเบอร์รี่มีวิตามินซีสูงมาก เมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่นๆ ช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้ปัสสาวะแสบร้อน ช่วยรักษาปัสสาวะมีสีเหลืองอีกด้วย
  • แคนตาลูป มีวิตามินซีสูงจึงช่วยเพิ่มสภาวะเป็นกรดให้น้ำปัสสาวะ ไม่มีการตกตะกอนของเกลือต่าง ๆ ที่มีอยู่ในน้ำปัสสาวะ จึงช่วยบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ
  • น้ำมะพร้าวคุณสมบัติเป็นธาตุเย็น จึงช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย ขับสารพิษ ชำระล้างร่างกาย และยังมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะและสารพิษออกจากร่างกาย จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้อีกด้วย

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ส่วนมากโรคนี้จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ซึ่งถ้ายังไม่ได้รับการรักษาเชื้อโรคอาจจะลุกลามขึ้นไปที่ไตทำให้เป็นกรวยไตอักเสบได้ และถ้าปล่อยให้เป็นเรื้อรังก็อาจทำให้ไตวายเรื้อรังแทรกซ้อนได้ ส่วนผู้ชายเชื้ออาจลุกลามเข้าไปทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบได้

นอกจากนี้ เมื่อการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการอักเสบติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปัสสาวะคนท้องสีอะไร ต้องระวัง! สีปัสสาวะของคนท้อง ทําไมคนท้องปัสสาวะบ่อย คนท้องต้องดื่มน้ำวันละกี่แก้ว

 

ปัสสาวะบ่อยมีสาเหตุ

ในคนทั่วไปโดยปกติถ้าดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้วหรือ 1500-2000 ซี.ซี. จะปัสสาวะวันละประมาณ 3-5 ครั้งต่อวันและหลังเข้านอนจะไม่ตื่นมาปัสสาวะเลย แต่อาการปัสสาวะบ่อย ๆ เกินวันละ 5 ครั้งต่อวัน อย่าเข้าใจว่าเป็นได้แค่เพียงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเท่านั้น เพราะอาจมีหาเหตุดังต่อไปนี้

1. ไตขับปัสสาวะมากกว่าปกติจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ดื่มน้ำมาก, รับประทานยาขับปัสสาวะเนื่องจากเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งส่งผลให้ปัสสาวะที่มากักเก็บในกระเพาะปัสสาวะเต็มเร็ว จึงปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ (มากกว่า 5 ครั้งต่อวัน) และอาจต้องตื่นมาปัสสาวะหลังเข้านอนแล้วประมาณไม่เกิน 2 ครั้ง ที่สำคัญผู้ป่วยจะมีปริมาณปัสสาวะแต่ละครั้งเท่าคนปกติ (ประมาณ 350-500 ซี.ซี.) เมื่อตรวจปัสสาวะจะไม่พบการติดเชื้อแต่อย่างใด

2. มีความผิดปกติที่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ไม่สามารถกักเก็บปัสสาวะได้นาน ปวดปัสสาวะเร็ว บางคนอาจปัสสาวะทุก 1-2 ชั่วโมง ที่สำคัญคือจะปวดปัสสาวะหลังนอนหลับแล้วตอนดึกก่อนถึงเช้าทุก ๆ คืนมากกว่า 2 ครั้ง ครั้งละน้อยกว่าปกติ (ไม่ถึง 300 ซี.ซี.) เช่น

  • กระเพาะปัสสาวะเล็กขยายไม่ได้ เนื่องมาจากถูกฉายแสงรักษามะเร็งปากมดลูก เป็นวัณโรคกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะชั้นกล้ามเนื้อขยายเพื่อเก็บปัสสาวะมากไม่ได้ หรือมีเนื้องอกขนาดใหญ่ในมดลูก หรือหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 6 เดือน มดลูกจึงกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เก็บปัสสาวะไม่ได้และปัสสาวะบ่อย ๆ
  • มีสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะปัสสาวะ เช่น ก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกขนาดใหญ่ ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะบ่อย

3. ประสาทควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ทำให้ผนังกล้ามเนื้อทำงานบีบตัวบ่อย จำเป็นต้องตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อตรวจการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ

4. มีความผิดปกติทางจิตใจ เช่น มีความเครียดจากการทำงาน มีปัญหาครอบครัว กลัวโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากจะปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางวันหรือหัวค่ำ เมื่อหลับแล้วจะไม่ตื่นมาปัสสาวะอีก เนื่องจากไม่มีความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ

 

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการปัสสาวะ

โดยปกติ คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะ ประมาณ 6-8 ครั้งต่อวัน หากมีการปวดปัสสาวะบ่อยกว่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ ดังนี้

  • โรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร่างกายของเราจึงต้องปรับสมดุล โดยการกำจัดน้ำตาลส่วนเกิน ผ่านทางการปัสสาวะ
  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการอักเสบ ติดเชื้อ ที่มีที่มาจากท่อปัสสาวะ มักเกิดจากการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ มาก ๆ บ่อย ๆ หรือ การทำความสะอาดอวัยวะเพศไม่ถูกต้อง
  • โรคไต การทำงานที่ผิดปกติของไต ทำให้ไต ไม่สามารถดูดน้ำ กลับเข้าสู่ร่างกายได้ จึงทำให้น้ำ ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ในปริมาณมาก และบ่อยครั้ง
  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิด (OAB) จะทำให้มีการปัสสาวะบ่อย ทั้งกลางวัน และกลางคืน หรือ ปวดแบบฉับพลัน ไม่สามารถกลั้นได้ 
  • โรคต่อมลูกหมากโต เป็นภาวะที่ต่อมลูกหมาก มีขนาดใหญ่ขึ้นจนผิดปกติ จึงเกิดการกดทับ บริเวณกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะติด ขัด ปัสสาวะบ่อย
  • การตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายของผู้หญิง อยู่ในภาวะของการตั้งครรภ์ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น จึงไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เซ็บเดิร์มคืออะไร เซ็บเดิร์มมีอาการอย่างไรบ้าง รวมความรู้เกี่ยวกับเซ็บเดิร์ม

โรคกลัว (Phobia) อาการกลัวสิ่งต่าง ๆ โรคทางจิตที่คุณอาจไม่รู้ตัว

โรคฮีโมฟีเลีย hemophilia คืออะไร อันตรายอย่างไร? พร้อมวิธีป้องกันรักษา

ที่มา : medthai.com

บทความโดย

@GIM