4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก ร่วมรณรงค์ลดโอกาสเกิดโรคมะเร็ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคมะเร็ง เป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลก เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ ทุกวันนี้เรามักจะเป็นคนใกล้ตัว ต้องประสบพบเจอกับโรคมะเร็งด้วยกันทั้งนั้น เนื่องจากมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน เพราะเราทุกคนล้วนมีเชื้อมะเร็งร้ายแฝงอยู่ในตัว จึงเกิดเป็น วันมะเร็งโลก ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปีขึ้น

 

วันมะเร็งโลก มีที่มาอย่างไร?

ในปี ค.ศ.2000 ได้มีการกำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุก ๆ ปี เป็นวันมะเร็งโลก ณ งานประชุม World Summit Against Cancer ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศษ โดยกำหนดขึ้นเพื่อมีเป้าหมาย ให้ทุก ๆ ประเทศรวมพลังกันเพื่อช่วยผู้คนหลายล้านคนจากโรคมะเร็ง โดยจะเป็นการรณรงค์ ให้ความรู้ ให้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคมะเร็งต่าง ๆ และช่วยกันผลักดันให้รัฐบาล หรือหน่วยงานจากภาครัฐของแต่ละประเทศ หันมาสนใจปัญหาเรื่องโรคมะเร็งให้ดีขึ้น

สถิติโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่สำคัญทั่วโลก จากสถิติพบว่า ในปี 1990 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่า 8.1 ล้านคน ในแต่ละปี และในปี 2018 มีตัวเขผู้ป่วยมากขึ้นถึง 18.1 ล้านคนต่อปี และยังคงมีสถิติที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ  โดยมะเร็งที่พบมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้มนม และมะเร็งลำไส้ แถมยังมีคาดการณ์ว่า ภายในปี 2030 อาจมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง มากกว่า 13 ล้านคน ต่อปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในประชากรทั่วโลก และยังมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุไว้ว่า ปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ถึงวันละ 336 คน หรือประมาณ 122,757 คน ต่อปี และมีรายงานการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 221 คน ต่อวัน หรือ ประมาณ 80,665 ต่อปี และยังคงเป็นตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี

 

โรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุด

จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า ประเทศไทย พบมะเร็งในประชากรเพศชาย ประมาณ 170 คน ต่อประชากร 1 แสน คน ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 15 ในเอเชีย โดยมะเร็งที่พบมากในเพทศชาย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ตามลำดับ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สถิติมะเร็งในเพศหญิงของประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วยกว่า 150 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ซึ่งอยู่ในอันดับ 18 ของเอเชีย และมะเร็งที่พบมากที่สุดได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด ตามลำดับ

โรคมะเร็ง หากรู้ตัวเร็วสามารถรักษาได้

โรคมะเร็ง แม้จะเป็นโรคร้ายก็สามารถรักษาได้ หากตรวจพบในระยะแรก ๆ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งจึงช่วยให้เราสามารถรู้ตัวทันได้ โดยการตรวจคัดกรองสามารถทำได้ตามช่วงวัย ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ทำแมมโมแกรม (mammogram) สามารถตรวจเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งต้านมได้ โดยผู้ที่ควรตรวจ คือผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป และตรวจในทุก ๆ ปี หากมีอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไป
  • เอกซ์เรย์ปอด (X-ray) เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งปอด ควรตรวจเป็นประจำทุกปี ควบคู่ไปกับการตรวจร่างกาย เนื่องจากการตรวจเอกซ์เรย์ปอด สามารถตรวจคัดกรองวัณโรคปอดได้ด้วย
  • ตรวจแปปสเมียร์และไว้รัส HPV เป็นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โดยผู้หญิงที่มีอายุ 30-65 ปี ควรตรวจทุก ๆ 5 ปี
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ผู้หญิงและผู้ชายควรตรวจเมื่อมีอายุ 45 ปี ขึ้นไป
  • การเจาะเลือดวัดค่า PSA เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยควรเริ่มทำการตรวจตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป

 

มะเร็งร้าย รู้ทันป้องกันได้

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ซึ่งจะช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย โดยเราควรออกกำลังกายวันละ 30-45 นาที และทำเป็นประจำ 5 วัน ต่อสัปดาห์ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้หลายโรค เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ เป็นต้น
  • ลดการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล เนื่องจากการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอลมากเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียต่อตับ
  • หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เราควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย อย่ามองข้ามอาการเจ็บปวด หรือ ความผิดปกติของร่างกายต่าง ๆ เช่น พบก้อนเนื้อผิดปกติ อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี การตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยให้เรารู้ถึงความผิดปกติของร่างกายได้ นอกเหนือจากโรคมะเร็งแล้ว การตรวจสุขภาพจะช่วยให้เรารู้ถึงข้อมูลทางสุขภาพของเราต่าง ๆ ได้อีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีอันตราย เพราะสารเคมี เป็นส่วนสำคัญที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งได้ ไม่ว่าจะเป็นสารรับสารเคมีผ่านการสัมผัส หรือ การสูดดม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคมะเร็งได้ โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ของมัน ของทอด หรือ อาหารที่มีรสชาติเค็ม เป็นต้น

 

โรคมะเร็ง แม้จะเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากตรวจพบได้ไว ในระยะแรก ๆ จะสามารถรักษาเพื่อประคองอาการ และมีโอกาสรักษาหายได้ โดยเบื้องต้นเราสามารถสังเกตอาการ และความผิดปกติของตนเอง หากพบสิ่งผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการคลำพบก้อน หรือ อาการผิดปกติทางร่างกายอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ

 

ที่มาข้อมูล 1 2 3

บทความที่น่าสนใจ

โรคมะเร็ง เกิดจากอะไร วิธีสังเกตตัวเอง เตรียมพร้อมก่อนสายเกินแก้!

10 สัญญาณโรคมะเร็งที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้ โรคมะเร็งที่สาว ๆ ต้องระวัง

อาหารที่มะเร็งชอบ การเลือกอาหารมีผลต่อความเสี่ยงมะเร็งหรือไม่? 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Waristha Chaithongdee