ทำไมทารกทั้งโลกจึงออกเสียงว่ามามา ลูกพูดอะไรเป็นคำแรก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สงสัยไหมคะว่า ทำไมทารกทั้งโลกจึงออกเสียงว่ามามา ในความเป็นจริง การที่ทารกออกเสียงคำว่า "มามา" ไม่ใช่เหตุบังเอิญ มันเป็นเพียงคำที่ธรรมดา ๆ ของทุกวัฒนธรรมทั่วโลก คำว่า มามา ยังคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ไม่เหมือนคำอื่น ๆ ทั่วไป และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกเสียงของทารก ที่มีมานานนับหลาย ๆ ร้อยศตวรรษได้ ซึ่งคำว่า มามา คือถ้อยคำสากลที่แสดงให้รู้ว่า ผู้หญิงคือผู้ให้ชีวิต แม้ว่าแต่ละประเทศในโลกนี้ ต่างก็มีภาษาที่แตกต่างกัน แต่ทารกทั้งหลายทั่วโลกก็ยังคงออกเสียงคำว่า มามา เป็นคำแรก

 

ทำไม ทำไมทารกทั้งโลกจึงออกเสียงว่ามามา เป็นคำแรก

นักศึกษาศาสตร์ได้ทำการศึกษาคำว่า “มามา” และพบว่าคำคำนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับหน้าอก หรือเต้านม ดังนั้นคำว่า “มามา” จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ การให้ความรักและการดูแลเอาใจใส่โดยปราศจากเงื่อนไขเท่านั้น แต่ยังเป็นที่มาอันยาวนานของการทะนุถนอมเลี้ยงดูอีกด้วย นักภาษาศาสตร์ชื่อโรแมน จาคอปสันได้ค้นพบว่า คำว่า “มามา” คือคำที่เปล่งเสียงได้ง่ายที่สุด สำหรับทารกเล็ก ๆ

 

 

เด็กทารกสามารถที่จะอ้าปาก เพื่อเปล่งเสียงคล้ายการพูดคุยในเดือนแรกของชีวิต หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ เกิดความคุ้นเคยในการใช้เสียง และเสียงที่ทำง่ายที่สุดคือเสียง ‘อืม’  ซึ่งมีความสอดคล้องกับการออกเสียงได้ ในขณะที่ปากยังปิดอยู่ ดังนั้นทารกจึงออกเสียง มามา เพื่อร้องขอความสบายตัวและอาหาร นักภาษาศาสตร์ยังกล่าวอีกด้วยว่าเสียง อืม ที่ทารกทำคือ เสียงแสดงความรู้สึกสบายและพึงพอใจ  ความสบายและพึงพอใจจากการทะนุถนอมเลี้ยงดู ด้วยน้ำนมจากเต้าที่ทารกได้รับจากผู้เป็นแม่  ด้วยเหตุนี้เองทารกจึงออกเสียง มามา เมื่อถูกโอบกอดและซุกอยู่กับอกของผู้เป็นแม่ ที่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่แหล่งที่มาของอาหาร แต่ยังเป็นที่มาของความสุขสบายและความรักอีกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รากศัพท์ของคำว่า ‘มามา’

ในภาษาละติน ‘แมมมา’ (‘Mamma’) มีความหมายว่าหน้าอก หรือเต้านมเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้เป็นเรื่องที่มีเหตุผล คำว่ามามายังเป็นต้นเสียงในการพัฒนาคำอื่นๆอีกมากมาย  ในปีค.ศ.1700 รากศัพท์ภาษาอังกฤษได้มีการจดบันทึก ให้ใช้เป็นคำสำหรับเรียกคนที่เป็นแม่ว่า ‘มามา’  ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าการพูดของทารกเป็นสิ่งที่นำพาให้เกิดเป็นคำเรียกที่เราใช้กันในหลายภาษารอบโลก

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการทางภาษาเด็กทารก เด็กวัย 5 เดือน มีการพัฒนาแต่ละด้านอย่างไร

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อไหร่ที่ทารกส่งเสียงว่า มามา หรือ ปาปา?

บางครั้งทารกส่งเสียงว่า มามา ในขณะที่พ่อกำลังอุ้มเขาหรือเธออยู่ อาจเป็นไปได้ว่า เพราะทารกต้องการกินนม นับตั้งแต่ที่โดยปกติแม่เป็นผู้ให้ความดูแลใกล้ชิดมาก่อน การร้องขอจากแม่เมื่อเกิดการหิวจึงเป็นเรื่องธรรมดา แต่พ่อก็สามารถทำให้ทารกอิ่มได้เหมือนกัน  เมื่อทารกรับรู้ในสิ่งนี้พวกเขาก็จะร้องขอจากพ่อบ้าง ทารกจะร้องขอกินนมเกือบจะตลอดเวลา

 

การสื่อสารของเด็กอายุ 1 – 12 เดือน ในแต่ละช่วงวัย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • 1-2 เดือน เด็ก ๆ จะเริ่มมีการเล่นเสียงในลำคอ เช่น ร้องไห้ ไอ หาว บางทีก็แสดงอาการตกใจจนสะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดังกะทันหัน
  • 3-4 เดือน เริ่มยิ้มเมื่อได้ยินเสียงพ่อแม่หรือเสียงคนที่คุ้นเคย จะเริ่มมีเสียงอ้อแอ้ หรือเสียงอู/อา จากการพยายามพูดตาม และจะเงียบเมื่อต้องการฟังพ่อแม่พูด
  • 5-6 เดือน เริ่มมีการเล่นเป่าน้ำลาย และหันหาเสียงรบกวนที่ไม่ดังมากนัก เริ่มเล่นกับเสียงบริเวณริมฝีปาก และสามารถเลียนแบบเสียงของผู้อื่นได้ มีการเล่นเสียงทีละพยางค์หรือสองพยางค์ เช่น “ตา” “ยา” “มา” และตอบสนองเมื่อมีการเรียกชื่อของตัวเอง
  • 7-8 เดือน จำชื่อตัวเองได้แล้ว รู้จักเขินอายหรือกลัวคนแปลกหน้า สามารถฟังคำถามง่าย ๆ ได้ และมีการตอบสนองผ่านท่าทางแทนการพูด เช่น มองดู ชี้ หยิบ และสามารถเบ่งเล่นเสียงหลายพยางค์ได้ เช่น “ดาดาดา” “บาบาบา” เป็นต้น
  • 9-12 เดือน มีการโต้ตอบกับพ่อแม่แต่ยังไม่เป็นภาษามากนัก และยังคงชอบเลียนแบบเสียงของผู้อื่นอยู่ นอกจากนี้ยังสามารถเลียนแบบเสียงอื่น ๆ ได้ เช่น เสียงเห่าของสุนัข และเสียงจิ้งจกร้อง และจะเริ่มทำเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ เริ่มพูดได้เป็นคำมากขึ้น เช่น “พ่อ” “แม่” “หม่ำ” เป็นต้น และสามารถใช้ท่าทางสื่อความหมายต่อคำพูดได้ด้วยค่ะ เช่น การพยักหน้า และการส่ายหัว สามารถทำตามคำสั่งได้ ไม่ว่าจะเป็นการโบกมือบ๊ายบาย การส่งจูบ เพราะลูกเริ่มเข้าใจคำพูดที่ได้ยินบ่อย ๆ แล้วนั่นเอง

 

คุณคาดหวังได้ว่าทารกน้อยของคุณ จะเริ่มเรียกแม่ได้ตอนอายุประมาณหนึ่งขวบ จนกระทั่งลูกออกเสียงคำว่า กาก้า ซึ่งเป็นคำที่เด็กส่วนมากทำเสียงอย่างนี้ ตอนนี้แหละที่การพูดแบบเต็มคำเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้นการพูดคุยกับลูกของคุณในภาษาง่าย ๆ ธรรมดา ๆ มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ลูกมีพัฒนาการในการพูด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พัฒนาการการพูด - ลูกเริ่มพูดเมื่อไหร่ ? ลูกพัฒนาการช้ารึเปล่า ?

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ลูกไม่ยอมพูดสักที อยากให้ลูกพูดเร็ว ๆ ต้องทำยังไง

ลูกเรียกแม่ตอนกี่เดือน ลูกจะเริ่มพูดได้เมื่อไหร่ อยากให้ลูกพูดได้เร็ว ๆ ต้องทำยังไง

ที่มา : 1

บทความโดย

Angoon