X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกคอเอียง แบบไหนปกติ แบบไหนไม่ปกติ

บทความ 3 นาที
ลูกคอเอียง แบบไหนปกติ แบบไหนไม่ปกติ

หากคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกน้อยคอเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง และเริ่มเกิดความกังวลใจว่าลูกของเราจะเป็นอะไรหรือเปล่า ลูกคอเอียงแบบนี้ผิดปกติหรือไม่ และจะวิธีดูแลลูกคอเอียงอย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้เลยค่ะ

วิธีสังเกตลูกคอเอียง

สมมติคุณแม่เห็นว่าลูกคอเอียงทางซ้าย เบื้องต้นให้คุณแม่ลองสังเกตก่อนว่า เมื่อเรียกน้องโดยใช้ของเล่นเป็นตัวกระตุ้นเพื่อให้น้องหันมาทางขวา น้องสามารถเอียงคอหรือหันมาทางขวาได้หรือไม่ หากน้องหันได้ แต่สักพักก็จะหันกลับไปทางซ้ายเหมือนเดิม แสดงว่า น้องไม่ได้คอเอียง แต่เป็นเพราะน้องถนัดด้านซ้ายมากกว่า

แต่หากน้องไม่สามารถหันมาทางขวาได้เลย เมื่อลองจับให้น้องหัน น้องร้องเหมือนเจ็บ หรือต่อต้านมาก แสดงว่ามีความผิดปกติ คุณแม่ควรพาน้องไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป

ลูกคอเอียงเกิดจากอะไร

โรคคอเอียงแต่กำเนิด (Congenital Muscular Torticollis) ส่วนใหญ่เกิดจากกล้ามเนื้อด้านข้างคอ (Sternocleidomastoid) ที่ยึดระหว่างกระดูกด้านหลังหู กับส่วนหน้าของกระดูกไหปลาร้าหดสั้นลง ทำให้ศีรษะเอียงไปด้านที่กล้ามเนื้อหดสั้น ในขณะที่ใบหน้าจะหันไปด้านตรงกันข้าม โดยสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหดสั้นลงนั้น เชื่อว่าอาจเป็นเพราะเนื้อเยื่อบริเวณคอถูกกดขณะคลอด หรือทารกอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในครรภ์ ทำให้กล้ามเนื้อที่คอเสียหาย กลายเป็นพังผืดและหดสั้นลง

อาการคอเอียงอาจพบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 1 เดือนหลังคลอด โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะคลำพบก้อนที่คอด้านที่เอียง โดยบังเอิญ อาการนี้ไม่ใช่อาการร้ายแรง สามารถหายได้เอง เมื่อน้องอายุ 2 เดือน

แต่หากน้องอายุได้ 3 เดือนแล้วก้อนแข็งที่คอยังมีขนาดใหญ่เท่านิ้วโป้งของผู้ใหญ่ และแข็งมาก จะทำให้รูปหน้าเริ่มบิดเบี้ยว คุณหมออาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเมื่ออายุ 1-2 ขวบ

ทำอย่างไรเมื่อลูกคอเอียง

คุณแม่อาจช่วยบริหารคอให้น้องหายเร็วขึ้น ด้วยการฝึกให้น้องหันหน้ามาอีกด้านหนึ่งโดยวิธีการที่นิยมและใช้ได้ผลดีคือ

  • เปลียนท่าให้นม โดยหากน้องคอเอียงด้านซ้าย ให้น้องนอนตะแคงด้านขวาขณะให้นมเพื่อให้กล้ามเนื้อที่คอด้านซ้ายได้ยืด
  • เวลาอุ้มน้องก็เช่นเดียวกัน ควรอุ้มในท่าที่น้องจะพาดหรือหันหน้ามาทางด้านขวา
  • ใช้ของเล่นในการกระตุ้นให้น้องมองตาม หรือหันมาทางขวาบ่อยๆ
  • จัดตำแหน่งศีรษะของน้องขณะนอนหลับ ให้นอนหันศีรษะไปด้านตรงกันข้าม
  • ในวันที่ไปฉีดวัคซีนแนะนำแจ้งแพทย์ให้ตรวจเพิ่มเติมด้วยอีกครั้ง คุณหมออาจส่งตัวไปรักษากับนักกายภาพบำบัด เพื่อยืดกล้ามเนื้อด้วยวิธีดัด ซึ่งคุณแม่สามารถนำกลับไปดัดน้องได้เองที่บ้านอย่างปลอดภัยค่ะ

หลังจากน้องอายุ 1 ปีแล้ว หากยังมีอาการคอเอียง ควรรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อให้สมดุลของศีรษะและใบหน้าดีขึ้น วิธีการผ่าตัดที่นิยมและได้ผลดีคือการผ่าตัดปลายยึดเกาะของกล้ามเนื้อด้านข้างคอทั้งสองปลาย (bipolar release) หลังผ่าตัดในบางรายอาจต้องใช้อุปกรณ์พยุงต่างๆ ร่วมด้วย และยังต้องมีการยืดกล้ามเนื้อคออย่างต่อเนื่องเพื่อให้คอตรงมากขึ้น และป้องการการเป็นซ้ำ

 

ภาพประกอบ

www.webmd.com/children/congenital-torticollis

www.fprmed.com/Pages/Ortho/Torticollis.html

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

อุทาหรณ์ ลูกนอนคว่ำแล้วหงายเองไม่ได้

อันตรายของทารกวัยคว่ำ

บทความจากพันธมิตร
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
ชวนคุณแม่ ฝึกลูกน้อยเคลื่อนไหว เสริมพัฒนาการร่างกาย ในวัยขวบปีแรก
ชวนคุณแม่ ฝึกลูกน้อยเคลื่อนไหว เสริมพัฒนาการร่างกาย ในวัยขวบปีแรก
วิธีเลือก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้ปลอดภัย ลูกใส่สบาย ไม่งอแง คุณแม่เบาใจ
วิธีเลือก ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ให้ปลอดภัย ลูกใส่สบาย ไม่งอแง คุณแม่เบาใจ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกคอเอียง แบบไหนปกติ แบบไหนไม่ปกติ
แชร์ :
  • ลูกคอเอียง เพราะก้อนเนื้อร้ายกดทับเส้นประสาท

    ลูกคอเอียง เพราะก้อนเนื้อร้ายกดทับเส้นประสาท

  • ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 70

    ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 70

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกคอเอียง เพราะก้อนเนื้อร้ายกดทับเส้นประสาท

    ลูกคอเอียง เพราะก้อนเนื้อร้ายกดทับเส้นประสาท

  • ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 70

    ลูกร้องไห้แบบไหนไม่ปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 70

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ