6 ข้อสำคัญที่ แม่ท้องขับรถ ควรรู้หากต้องขับรถเอง ต้องทราบอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องขับรถไปทำงานเป็นประจำ และเป็นกังวลว่าเมื่อตั้งท้องแล้ว คนท้องขับรถได้ไหม คาดเข็มขัดนิรภัยจะเป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า และยังมีอะไรอีกบ้างที่ แม่ท้องขับรถ ควรรู้หากต้องขับรถเอง เราได้รวบรวม 6 ข้อสำคัญมาให้คุณแม่แล้วค่ะ

 

6 ข้อสำคัญที่ แม่ท้องขับรถ ควรรู้หากต้องขับรถเอง ต้องทราบอะไรบ้าง

เราเชื่อว่าคุณแม่บางคนอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องขับรถ แต่มีเรื่องหลายเรื่องที่คุณแม่จะต้องทราบ เพื่อที่จะได้ดูแลตัวเอง และ ลูกให้ได้ดีที่สุด เท่าที่จะทำได้ เราเลยมี 6 ข้อสำคัญที่แม่ท้องขับรถจะต้องทราบ และ จะต้องรู้ว่า แม่ท้องขับรถ ต้องระวังอะไรบ้าง

 

1. ช่วงไหนที่แม่ท้องไม่ควรขับรถ

  • ช่วงไตรมาสแรก คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ง่วงนอนง่าย ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการขับรถ หากเลี่ยงได้ให้คนอื่นขับรถให้นั่งจะดีที่สุดค่ะ และ หากต้องขับรถเป็นเวลานาน แนะนำให้หยุดพักรถเป็นระยะ เพื่อยืดแข้งยืดขา หมุนข้อเท้า ขยับนิ้วเท้าให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น แล้วค่อยขับรถต่อจะดีกว่า
  • ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่อุ้ยอ้ายเต็มที่แล้ว หรืออยู่ในช่วงใกล้คลอด ไม่แนะนำให้ขับรถนะคะ เพราะท้องของคุณแม่อาจใหญ่จนไปค้ำพวงมาลัย ทำให้ขับรถยาก และอึดอัด หากเบรกกะทันหัน ท้องอาจกระแทกพวงมาลัย ทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนด และเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้ แนะนำให้คุณแม่ย้ายมานั่งสวย ๆ ที่เบาะหลังแทน และอย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัยไว้ด้วยนะคะ

 

2. เข็มขัดนิรภัยจำเป็นอย่างไร

จากรายงานการศึกษาหนึ่งในสหรัฐอเมริกาพบว่า แม่ท้องที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ในขณะเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ มีความเสี่ยงที่จะคลอดทารกน้ำหนักน้อยมากเป็น 1.3 เท่าของแม่ท้องที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ และจะมีโอกาสเลือดออกมากขณะคลอด 2.1 เท่า และทารกเสียชีวิตมากเป็น 2.8 เท่า เมื่อเทียบกับแม่ท้องที่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะเกิดอุบัติเหตุ แสดงให้เห็นว่า เข็มขัดนิรภัย นอกจากจะลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุให้กับแม่ท้องแล้ว ยังช่วยลด และ ป้องกันอันตราย ต่อลูกน้อยในครรภ์ ขณะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์อีกด้วย

มีอีกงานวิจัยหนึ่งในสหรัฐอเมริการะบุว่า คุณแม่มีโอกาสแท้งลูก 3 เท่า และเลือดตกในถึง 2 เท่า หากเกิดอุบัติเหตุในขณะขับขี่ และแม้จะชนไม่แรง ก็ยังมีโอกาสแท้งลูก 5% โดยในจำนวนดังกล่าวนั้น มีกว่า 68% ที่ไม่ยอมคาดเข็มขัดในขณะขับขี่ และปรับท่านั่งไม่ถูกต้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องขับรถ อันตรายทั้งแม่ทั้งลูก ถ้าไม่จำเป็นอย่าได้ทำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ท่านั่งขับรถที่ถูกต้องสำหรับคนท้อง

เนื่องจากพุงคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จึงควรปรับเบาะให้ถอยห่างจาก พวงมาลัยมากขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตร ปรับเบาะเอนกว่าเดิมเล็กน้อย และปรับพวงมาลัยสูงขึ้น เพื่อป้องกันหากเบรกกะทันหัน ท้องจะไม่กระแทกพวงมาลัย รวมทั้งแอร์แบคไม่กระแทกใส่ท้องคุณแม่ด้วย ทั้งนี้คุณแม่ ต้องแน่ใจว่านั่งสบาย สามารถควบคุมคันเร่ง และ เบรกได้ถนัดเหมือนเดิมนะคะ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้คุณแม่ขับรถไม่ถนัด เสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. วิธีคาดเข็มขัดนิรภัยที่ถูกต้องสำหรับคนท้อง

การคาดเข็มขัดนิรภัยเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำเวลานั่งรถอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นให้คุณแม่พาดจากจุดข้างสะโพกไป โดยพาดผ่านต้นทั้งสองข้าง แต่อยู่ระดับต่ำกว่าท้องของคุณแม่ สายบนนั้นควรอยู่ช่วงราวนม และ คอ ส่วนสายล่างให้ปรับไม่ให้ตึงมากและวางไว้ใต้พุง โดยเว้นสามเหลี่ยมไว้ตรงช่วงท้อง วิธีนี้จะช่วยกระจายแรงกระแทกที่เกิดจากการกระชากกลับเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุได้

ถึงแม้การคาดเข็มขัดจะทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยจะไปรัดลูกน้อยในท้องนะคะ หากทำตามคำแนะนำ คืออย่าให้สายพาดรัดบนหน้าท้อง ก็จะไม่เกิดอันตรายต่อลูกน้อยค่ะ อุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้คุณแม่ท้องได้รับบาดเจ็บสาหัส เป็นเพราะคุณแม่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย แล้วหน้าท้องไปกระแทก กับ พวงมาลัยมากกว่าค่ะ

 

5. ตัวช่วยบรรเทาอาการปวดหลังขณะขับรถ

สรีระที่เปลี่ยนไปขณะตั้งครรภ์ทำให้คุณแม่ปวดหลังได้ง่ายอยู่แล้ว ยิ่งหากคุณแม่ต้องขับรถเอง ก็ยิ่งมีโอกาสปวดหลังง่ายขึ้น คุณแม่อาจหาลูกไม้แก้ปวดมาติดที่เบาะ เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังขณะขับรถ ซึ่งลูกไม้นี้จะช่วยนวดหลังให้คุณแม่ และ ไม่มีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แต่อย่างไร นอกจากนี้ คุณแม่อาจใช้เบาะรองหลัง และ เบาะรองนั่งที่ออกแบบมาสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดจากการขับรถนาน ๆ ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องเดินทางไกลได้ไหม ต้องทำอย่างไร คนท้องกี่เดือนห้ามเดินทางไกล

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

6. อันตรายจากการขับรถที่พบบ่อย

แม้จะไม่ได้เกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนรุนแรง แต่การกระแทก กระเทือน หรือ ขับรถตกหลุมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แม้ว่าลูกน้อยในครรภ์ จะมีน้ำคร่ำช่วยลดแรง กระทบกระเทือน จากภายนอกลงได้ก็ตาม แต่หากบังเอิญ ขับรถตกหลุมอย่างแรงก็อาจเป็น อันตรายถึงลูกได้ค่ะ เพราะฉะนั้นให้คุณแม่สังเกต ตัวเองดังต่อไปนี้ หากเจ็บท้องตลอดเวลาหลังเกิดอุบัติเหตุ หรือ เดี๋ยวเจ็บเดี๋ยว หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด รวมถึงลูกดิ้นน้อยลงให้รีบไปพบคุณหมอทันที

 

ถึงแม้คุณแม่จะสามารถขับรถเองได้ แต่ถ้าอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ควรหลีกเลี่ยงการขับรถด้วยตัวเองไปก่อน เพราะเป็นช่วงที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้อง จนอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย และ ง่วงนอน ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ทางที่ดี ควรรอให้ถึงช่วงหลังคลอด หรือ อาจเปลี่ยนไปนั่งรถโดยสารแทน เพื่อความปลอดภัยต่อตัวคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องกินยาแก้เมารถได้ไหม แม่ท้องควรทำอย่างไรไม่ให้เมารถ เมาเรือ

คนท้องยืนทำงานนาน ๆ มีผลต่อลูกในท้องไหม คนท้องต้องยืนทั้งวันทำยังไงดี

คนท้องขึ้นเครื่องบินได้ไหม? ขึ้นเครื่องอย่างไรให้ปลอดภัย ท้องกี่เดือนห้ามขึ้น?

ที่มา : saferide4kids

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา