ถุงไข่แดงทำหน้าที่อะไร มีประโยชน์อย่างไรในการตั้งครรภ์ ?

เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่อาจได้ยินคำกล่าวที่ว่า ทารกจะมีถุงไข่แดงติดตัวมา แล้วเจ้าถุงไข่แดงนี้คืออะไร ถุงไข่แดงทำหน้าที่อะไร เรามาทำความรู้จัก ถุงไข่แดงกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงของการตั้งครรภ์ในช่วงแรก คุณแม่หลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับ “ถุงไข่แดง” แต่ไม่รู้มาก่อนว่า ถุงไข่แดงทำหน้าที่อะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อตัวของคุณแม่ หรือลูกน้อยในครรภ์ วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงทุกข้อมูลที่ควรรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นคุณแม่มือใหม่อย่างสมบูรณ์ที่สุด

 

ถุงไข่แดง (Yolk Sac) เกิดจากอะไร ?

ในช่วงเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากไข่ผ่านการปฏิสนธิ เซลล์มวลภายในจะสร้างเนื้อเยื่อ 2 ชนิด ที่เรียกว่า “ไฮโปบลาส (Hypoblast)” และ “เอพิบลาส (Epiblast)” โดยไฮโปบลาส จะสร้างถุงไข่แดง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการส่งสารอาหารต่าง ๆ จากมารดาไปสู่ตัวอ่อนในระยะต้น ในส่วนของเซลล์จากเอพิบาส จะสร้างเนื้อเยื่อที่เรียกว่า “ถุงน้ำคร่ำ” ซึ่งมีตัวอ่อนอยู่ข้างใน ในเวลาต่อมา คือ ทารกในครรภ์ และเจริญเติบโตไปจนกระทั่งคลอดนั่นเอง

 

วิดีโอจาก : BabyandMom.co.th

 

ถุงไข่แดงทำหน้าที่อะไร สำคัญกับลูกในครรภ์อย่างไร ?

ในสัปดาห์ที่ 5 เมื่อตรวจ ultrasound ทางช่องคลอดสามารถพบถุงการตั้งครรภ์ และถุงไข่แดงได้แล้ว ถุงไข่แดงเป็นถุงที่อยู่ติดอยู่กับตัวอ่อน ประกอบไปด้วยเส้นเลือดเล็ก ๆ มากมาย โดยเลือดจะถูกลำเลียงไปยังผนังของถุงไข่แดง และไหลเวียนกลับไปยังหัวใจของตัวอ่อน สารอาหารก็จะถูกดูดซึมจากถุงไข่แดง และลำเลียงไปยังตัวอ่อนในครรภ์ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ก่อนที่รกจะถูกพัฒนาสมบูรณ์ และมาทำหน้าที่ในการส่งอาหารไปยังตัวอ่อนแทนถุงไข่แดงในเวลาต่อมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อตัวอ่อนมีการพัฒนาเพิ่มขนาด และอวัยวะขึ้น แต่ถุงไข่แดงยังคงขนาดเท่าเดิม อาหารจากถุงไข่แดงจึงไม่เพียงพอ จึงเปลี่ยนมาดูดซึมอาหารผ่านสายรกแทน และถุงนั้นก็จะสลายไป ในปลายสัปดาห์ที่ 12 รกของทารกได้มีการพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว และทำหน้าที่แทนถุงไข่แดง ในการนำอาหาร และออกซิเจนมาเลี้ยงทารก และยังเป็นที่แลกเปลี่ยนของเสียจากเลือดทารกไปยังมารดาอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารบํารุงผนังมดลูก มีอะไรบ้าง อยากให้มดลูกแข็งแรง ไม่แท้งง่ายต้องกินอะไร

 

คุณแม่แพ้ท้อง ลูกจะได้รับสารอาหารไหม ?

ในกรณีที่คุณแม่แพ้ท้องหนักมาก กลัวว่าสารอาหารที่กินเข้าไปจะไม่ถึงลูกน้อย เจ้าถุงไข่แดงนี้เอง จะทำหน้าที่สะสมสารอาหารเอาไว้ให้แก่ลูกน้อย นพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์ กล่าวว่า ลูกในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จะใช้อาหารจากไข่แดงที่มีติดตัวเขามา และเมื่อใช้หมด ลูกก็จะใช้อาหารจากกระแสเลือดของแม่ จากนั้นค่อยใช้สารอาหารที่แม่เก็บสะสมเอาไว้ ไม่ได้ใช้อาหารที่แม่เพิ่งกินเข้าไป ไม่ว่าแม่จะกิน หรือไม่ได้กิน ลูกก็จะดูดซึมอาหารมาจากแม่ด้วยอัตราคงที่

เพราะฉะนั้น คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลว่าลูกจะขาดสารอาหาร แต่กลับกัน คุณแม่ต้องรักษาสุขภาพของตัวเอง เพราะหากลูกน้อยดึงสารอาหารของคุณแม่ไปใช้จะมีผลต่อสุขภาพคุณแม่เอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : แพ้ท้องมาก อันตรายไหม วิจัยเผย แม่แพ้ท้องมีโอกาสที่จะไม่แท้ง!

 

 

หากเกิดอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงควรทำอย่างไร ?

อาการแพ้ท้องนั้นจะมีภาวะแพ้ท้องรุนแรง (Hyperemesis Gravidarum) ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของคุณแม่ ทำให้ส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ด้วยเช่นกัน โดยคุณแม่จะมีอาการอาเจียนบ่อยและรุนแรง, ไม่มีแรง หรือเป็นลม, มีน้ำลายมาก, กลัวการทานอาหาร, หัวใจเต้นเร็ว, ความดันโลหิตต่ำ และมีอาการซึมเศร้า เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ควรพาคุณแม่เข้าพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การให้น้ำเกลือเฝ้าดูอาการขาดน้ำ,  การให้อาหารทางสายยางเพื่อให้ร่างกายสมดุล, การใช้ยารักษา เช่น ยาลดอาการกรดไหลย้อน (Antireflux Medications) หรือยาต้านฮิสทามีน (Antihistamines) เป็นต้น โดยจุดประสงค์ของการรักษา คือ การดูแลร่างกายของคุณแม่ให้แข็งแรงมากที่สุด เพื่อเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน และให้คุณแม่ได้พักผ่อนมากขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการรับมือกับอาการแพ้ท้อง จึงเป็นความรู้ที่สำคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม

 

7 เคล็ดลับรับมืออาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคุณแม่ที่กำลังท้อง ซึ่งมักจะเกิดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ สำหรับบางคนที่ไม่แพ้ท้องถือว่าโชคดี แต่สำหรับคุณแม่ที่แพ้ท้อง ลองใช้เคล็ดลับรับมืออาการแพ้ท้อง ต่อไปนี้ดูนะ

 

  1. อย่าปล่อยให้ท้องว่าง เพราะเมื่อท้องว่าง จะยิ่งมีอาการแพ้ท้องมากขึ้น
  2. จิบน้ำหวาน กระเจี๊ยบ ลำไย สมูทตี้ หรืออะไรก็ได้ที่ชอบ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงาน
  3. อมลูกอมขิง ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอมได้ดี
  4. เคี้ยวหมากฝรั่งกลิ่นเปเปอร์มินท์ ช่วยให้สงบ ผ่อนคลายจากอาการคลื่นไส้ได้
  5. ทานขนมปังกรอบ แครกเกอร์รสชาติเค็มนิด ๆ สามารถบรรเทาอาการพะอืดพะอมได้
  6. พกถุงซิปล็อก เตรียมพร้อมเสมอเมื่อต้องการอาเจียน
  7. แปรงฟันให้ปากหอมสดชื่น ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นจากอาการแพ้ท้อง

 

ถึงแม้ในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์จะมีถุงไข่แดงช่วยในด้านการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์ แต่คุณแม่ก็ยังต้องคอยดูแลตนเองให้ดีที่สุด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และมีสารอาหารให้กับลูกน้อยอย่างเพียงพอ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาการตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร และจำเป็นจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ : ฝากครรภ์ อัลตร้าซาวด์ นับลูกดิ้น อาหาร และอาการแทรกซ้อน

เช็คลิสต์คุณแม่ตั้งครรภ์ ตลอด 9 เดือน ต้องทำอะไรบ้าง

 

ที่มาข้อมูล : ehd, siamhealth, 3, pobpad

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา