คุมกำเนิด แบบไหนดี และวิธีการคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์โดยขาดความพร้อมยังเกิดขึ้นและอยู่คู่กับสังคมไทยมาตลอด ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการไม่คุมกำเนิดหรือเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการเลือก คุมกำเนิด แบบไหนดี ให้เหมาะสมกับตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญให้กับผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตรได้ แล้วการ คุมกำเนิด แบบไหนดี จึงจะเหมาะสมต่อตนเองมากที่สุด ไขคำตอบไปพร้อมกันกับบทความนี้ได้เลย

 

วิธีการคุมกำเนิดมีอะไรบ้าง

วิธีการคุมกำเนิดสำหรับในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี โดยแบ่งวิธีออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ได้แก่ ยาคุมชนิดฮอร์โมน คุมกำเนิดโดยใช้วิธีขวางกั้น ใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิด และการคุมกำเนิดแบบถาวร ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีเงื่อนไข ขั้นตอน และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

 

1. ยาคุมชนิดฮอร์โมน (Hormonal Methods)

เริ่มต้นกันที่วิธีแรกกับ ยาคุมชนิดฮอร์โมน ซึ่งเป็นวิธีคุมกำเนิดที่หลายคนรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี สามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายรูปแบบดังนี้

 

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive Pill : COCP)

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ที่ประกอบไปด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งคอยทำหน้าที่ช่วยยับยั้งการตกไข่และเพิ่มความหนืดช่วงบริเวณปากมดลูก ส่งผลให้อสุจิไม่สามารถเข้าไปทำการปฏิสนธิภายในได้ ทั้งนี้วิธีการรับประทานมีความจำเป็นต้องรับประทานให้หมดแผงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยอัตราการคุมกำเนิดมีผลได้ถึง 91% 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับผลข้างเคียงเมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม อาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง คลื่นไส้ ปวดหัว หรือคัดเต้านม และในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือเคยป่วยเป็นโรคภาวะลิ่มเลือดอุดตัน มะเร็งเต้านม ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาชนิดนี้ 

 

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestin-Only Pills : POP)

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ประกอบไปด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) แค่เพียงชนิดเดียว เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้มีการป้องกัน ถุงยางฉีกขาดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ คนที่รับฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่ได้ หรือใช้กับคนที่มีความต้องคุมกำเนิดฉุกเฉิน โดยผู้ใช้จะต้องรับประทานยาภายในเวลา 5 วัน หลังจากที่ได้มีเพศสัมพันธ์ และต้องรับประทานต่อเนื่องจนกว่ายาจะหมดแผง รวมทั้งยังต้องใช้ควบคู่ไปกับการสวมถุงยางอนามัยหรือวิธีอื่น ๆ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และให้เกิดอัตราประสิทธิภาพการคุมกำเนิดสูงสุดถึง 91% โดยผลข้างเคียงจากการปรับประทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนชนิดเดี่ยวอาจมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ คัดตึงเต้านม จุดด่างดำ และรู้สึกไม่สบายตัว

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด (Contraceptive Injection)

การฉีดยาคุมกำเนิดในประเทศไทยนิยมใช้ฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงชนิดเดียว ซึ่งจะช่วยป้องกันการตกไข่และเพิ่มความหนืดที่บริเวณปากมดลูก รวมถึงยังเป็นการช่วยให้มีอาการปวดประจำเดือนน้อยลง โดยยาคุมกำเนิดแบบฉีดจะมีวิธีการฉีดเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือบั้นท้ายทุก 12-14 สัปดาห์ และยังสามารถฉีดได้ปกติแม้ว่าจะอยู่ในช่วงให้นมบุตรก็ตาม ทั้งนี้ควรใช้ร่วมกับการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และมีอัตราการคุมกำเนิดประสิทธิภาพสูงถึง 94% เลยทีเดียว

การคุมกำเนิดด้วยวิธีดังกล่าวเหมาะกับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงฮอร์โมนเอสโตรเจน ผู้ป่วยภาวะโลหิตจาง โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว หรือโรคเนื้องอกมดลูก และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีลูกภายในช่วง 1 ปี หลังการหยุดฉีด โดยมีผลข้างเคียงที่อาจจะได้รับหลังการฉีดยาคุมคือ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดหัว ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : ฉีดยาคุมอ้วนไหม คำถามคาใจ ที่สาว ๆ ต้องการคำตอบ

 

ยาคุมกำเนิดแบบแปะ (Transdermal Contraceptive)

ภายในยาคุมกำเนิดแบบแปะประกอบไปด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน และฮอร์โมนเอสโตรเจนที่จะซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดและผิวหนัง ซึ่งจะช่วยป้องกันการตกไข่ และการปฏิสนธิได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถกลืนยาได้ และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กิโลกรัม ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแผ่นแปะลดลง

ยาคุมกำเนิดแบบแปะสามารถติดไว้ที่บริเวณสะโพก ต้นแขน หลัง และท้องส่วนล่าง ควรหลีกเลี่ยงการแปะบริเวณเต้านม นอกจากนี้ยังอาจเกิดผลข้างเคียงเหมือนยาคุมกำเนิดชนิดอื่น ๆ ได้เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน อารมณ์แปรปรวน และรอยแดงบริเวณที่แปะ 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยาคุมกำเนิดแบบฝัง (Contraceptive Implant)

สำหรับยาคุมกำเนิดแบบฝังจะทำการฝังอุปกรณ์ขนาดเล็กไว้ที่บริเวณต้นแขน โดยจะทำการปล่อยฮอร์โมนโปรเจสตินเข้าสู่ร่างกายเพื่อยับยั้งการตกไข่ และเพิ่มความหนืดบริเวณปากมดลูก ส่งผลให้อสุจิไม่สามารถเข้าไปปฏิสนธิภายในได้สำเร็จ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ โดยการฝังยาคุมกำเนิดจะต้องฝังวันแรกของการมีประจำเดือนหรือภายใน 5 วัน นับจากที่เริ่มมีประจำเดือน หลังจากการฝังตัวยาจะออกฤทธิ์ทันทีและคุมกำเนิดได้นานถึง 3-5 ปี ให้ประสิทธิภาพอัตราการคุมกำเนิดสูงถึง 99% แต่วิธีดังกล่าวไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้และอาจเกิดผลข้างเคียงเช่นเดียวกับยาคุมกำเนิดชนิดอื่น ๆ ได้เหมือนกัน

 


2. คุมกำเนิดด้วยวิธีขวางกั้น (Barrier Methods)

สำหรับวิธีการคุมกำเนิดด้วยวิธีขวางกั้นเป็นวิธีที่ต้องใช้อุปกรณ์และจะไม่มีการรับประทานยา เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำอสุจิเคลื่อนตัวเข้าไปทำการปฏิสนธิกับรังไข่ได้ รวมทั้งยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เช่นเดียวกัน

ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย

อุปกรณ์ที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยถุงยางอนามัยจะทำหน้าที่ช่วยป้องกันน้ำอสุจิเคลื่อนตัวเข้าไปปฏิสนธิกับรังไข่ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงถึง 82% และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เกือบ 100% ข้อสำคัญในการใช้ถุงยางอนามัยคือควรเลือกขนาดให้พอดีกับอวัยวะเพศ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ทิ้งทันทีและไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้ง

ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง

หลายคนในที่นี้อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำอสุจิไหลผ่านเข้ามาในรังไข่ในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ โดยวิธีการสวมใส่ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิงสามารถสอดเข้าทางช่องคลอดได้ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 8 ชั่วโมง ให้อัตราประสิทธิภาพในการป้องกันการคุมกำเนิดได้มากถึง 79%

ยาฆ่าเชื้ออสุจิ (Spermicides)

สำหรับยาฆ่าเชื้ออสุจิมีทั้งรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน ยาเหน็บ หรือเจล โดยให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงถึง 72% ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด และการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์เพื่อช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการระคายเคืองภายในช่องคลอดและเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้

ฟองน้ำคุมกำเนิด (Contraceptive Sponge)

ฟองน้ำคุมกำเนิดมีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้ออสุจิที่ให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ถึง 76-88% ลักษณะวิธีใช้คือการสอดเข้าไปไว้ในช่องคลอดและควรค้างฟองน้ำเอาไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอสุจิและให้ยาออกฤทธิ์ในการฆ่าอสุจิได้อย่างเต็มที่ 

หมวกครอบปากมดลูก (Cervical Cap)

หมวกครอบปากมดลูกถูกผลิตขึ้นจากยางที่ให้ความยืดหยุ่นและผิวสัมผัสที่นิ่ม ควรสวมใส่ก่อนมีเพศสัมพันธ์และปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ โดยหมวกครอบปากมดลูกสามารถเคลื่อนตัวหลุดจากตำแหน่งเดิมได้ตลอดเวลา ให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ประมาณ 71-88%

 


Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (Intrauterine Device : IUD)

ห่วงอนามัยคุมกำเนิดเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายตัว T ใช้สอดเข้าไปในบริเวณมดลูก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาวและยังมีความต้องการกลับมามีบุตรได้ มีอายุการใช้งาน 3-10 ปี และหากใช้งานอย่างถูกวิธีในทุกขั้นตอนจะมีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ได้เกือบ 100% ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น มีประจำเดือนเยอะขึ้น เลือดออกกะปริดกะปรอย หรือตกขาวเล็กน้อย

 


4. การคุมกำเนิดถาวร (Permanent Methods)

การคุมกำเนิดถาวรหรือการทำหมันช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้เกือบ 100% เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตรอีกแล้วในอนาคต สามารถทำได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่โรงพยาบาลทั่วประเทศ สำหรับผู้หญิงการผ่าตัดปิดท่อน้ำไข่เอาไว้เพื่อไม่ให้เกิดการปฏิสนธิกับน้ำอสุจิที่ไหลเข้ามาได้ และในส่วนของผู้ชายจะทำการผ่าตัดปิดทางเดินท่ออสุจิ ส่งผลให้อสุจิไม่สามารถออกไปปฏิสนธิกับไข่ได้ ซึ่งทั้งสองแบบนี้ใช้เวลาในการผ่าตัดและการพักฟื้นไม่นาน อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น อักเสบ บวม หรือช้ำบริเวณที่ผ่าตัด

บทความที่น่าสนใจ : ทำหมันเปียก ทำหมันแห้ง แบบไหนดีกว่ากัน

 

แม้ว่าการคุมกำเนิดจะไม่มีวิธีใดที่สามารถการันตีได้ว่าจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100& ก็ตาม ดังนั้นก่อนที่จะเลือกวิธีคุมกำเนิดให้กับตนเอง ควรศึกษาหาความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจให้ดีเสียก่อน หรือหากยังไม่แน่ใจสามารถปรึกษาแพทย์สูตินรีเวชเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องได้ เพราะหากว่าเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดที่ผิดวิธีอาจเป็นการโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ รวมทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นที่ไม่อาจคาดคิดได้

 

บทความที่น่าสนใจ :

ห่วงอนามัย คุมกำเนิด อีกหนึ่งทางเลือก ของคนไม่ชอบกินยา

ยาคุมกำเนิดแบบฉีด อีกหนึ่งทางเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ที่ได้ผลดี!

ยาคุมแบบแปะ สามารถคุมกำเนิดได้จริง หรือแค่ราคาคุย

ที่มา : 1, 2, 3

บทความโดย

Thanawat Choojit