ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต ( NICU ) คืออะไร ? เอาไว้ทำอะไรบ้าง ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

NICU หรือห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต เป็นห้องที่ไม่มีคุณแม่คนไหนอยากให้ทารกน้อยที่เพิ่งคลอดของตนเองเข้าไปอยู่ด้านใน เนื่องจากห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต มีไว้สำหรับทารกที่มีร่างกายไม่แข็งแรง หรือทารกที่จะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์และพยาบาลอย่างใกล้ชิด เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต เอาไว้ทำอะไรบ้าง?

 

NICU คือ ?

ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต หรือ The Neonatal Intensive Care Unit : NICU เป็นพื้นที่ที่ถูกจัดไว้เป็นพิเศษสำหรับทารกแรกเกิดที่ต้องการดูแลจากแพทย์และพยาบาลอย่างใช้ชิด โดยที่ด้านในห้องอภิบาลนี้จะมีเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลทารกแรกเกิดที่มีการฝึกอบรมโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการดูแลทารกแรกเกิดที่มีการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกแรกเกิดที่มีปัญหาด้านสุขภาพอย่างรุนแรงเฝ้ารอสังเกตอาการ หรือจำเป็นจะต้องมีการผ่าตัดเกิดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : เรื่องที่พ่อแม่ควรรู้ เมื่อลูกต้องเข้า NICU

 

ทารกแบบไหนที่จำเป็นต้องเข้าห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต

ทารกส่วนใหญ่ที่เข้ารับรักษาที่ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต คือทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือเกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม หรือมีภาวะสุขภาพที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ โดยสาเหตุของการทารกแรกเกิดจะต้องเข้าห้องอภิบาลนั้นมีปัจจัย ดังต่อไปนี้

 

ปัจจัยจากมารดา

สาเหตุหนึ่งของการที่ทารกคลอดก่อนกำหนดนั้นมาจากเรื่องสุขภาพของคุณแม่ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ หรือในช่วงระหว่างของการตั้งครรภ์  โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
    • คุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปี และมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
    • ผลกระทบจากการทานยาบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อครรภ์ หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์
    • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • คุณแม่ที่มีความดันโลหิตสูง
    • มีเลือดออกจากช่องคลอดขณะที่กำลังตั้งครรภ์
    • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อน หรือระหว่างตั้งครรภ์
    • การตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 คน อาทิ แฝด 2 หรือมากกว่า
    • ภาวะน้ำคร่ำน้อย หรือมากเกินไป
    • เกิดภาวะแตกของเยื่อหุ้มเซลล์ก่อนเวลา หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดเวลา

 

 

ปัจจัยที่เกิดจากการคลอด

การคลอดเป็นส่วนหนึ่งของการนำทารกออกมาจากครรภ์ของมารดาทั้งก่อนและหลังช่วงเวลาที่สมควร แต่การคลอดนั้นก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ จนทำให้ทารกแรกเกิดนั้นจำเป็นจะต้องเข้าสู่ห้องอภิบาลวิกฤต ดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
    • การเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะภายในของทารก เนื่องจากขาดออกซิเจน
    • ท่าคลอดที่ผิดปกติ ท่าก้น หรือการคลอดโดยวิธีการทำก้นออกก่อนศีรษะ
    • อุจจาระแรกของทารก หรือเมโคเนีย ผ่านน้ำคร่ำภายในครรภ์ขณะตั้งครรภ์
    • สายสะดือพันคอทารก
    • เกิดจากคีม หรือเครื่องผ่าตัด

 

ปัจจัยที่เกิดจากทารก

นอกจากการปัจจัยที่มาจากคุณแม่ตั้งครรภ์ และปัจจัยที่เกิดขึ้นในช่วงของการคลอดบุตรด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ แล้ว ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยคือ ปัจจัยที่เกิดจากทารก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักเช่นเดียวกัน โดยไม่รายละเอียดดังต่อไปนี้

    • ทารกที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือมากกว่า 42 สัปดาห์
    • น้ำหนักตัวของทารกน้อยกว่า 2500 กิโลกรัม หรือมากกว่า 4000 กิโลกรัม
    • ทารกมีขนาดเล็กเกินกว่าเกณฑ์ หรือน้ำหนักไม่เป็นไปตามอายุครรภ์
    • การใช้ยา หรือการช่วยชีวิตทารกในห้องคลอด
    • ทารกพิการตั้งแต่กำเนิด
    • ทารกแรกเกิดมีอาการหยุดหายใจชั่วขณะ หรือมีการหายใจที่ลำบาก หายใจเร็ว และหายใจมีเสียง
    • มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์จากมารดา อาทิ เริม หนองในเทียม และโรคสเตรปโทคอกโคสิส
    • พบอาการชัก
    • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิด
    • ทารกมีความต้องการออกซิเจนเพิ่มเติม หรือการให้ยาผ่านเส้นเลือดดำ
    • ทารกที่มีความจำเป็นจะต้องรักษา หรือมีการทำหัตถการพิเศษ เช่น การถ่ายเลือด เป็นต้น

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าเยี่ยมลูก ได้หรือไม่?

การที่คุณแม่เพิ่งคลอดบุตรมา แต่ต้องแยกจากกันเพราะทารกนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลจากห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองสามารถเยี่ยม และใช้เวลาอยู่กับทารกในห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตได้ รวมถึงสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวด้วย แต่ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตก็มีข้อจำกัดเพราะว่าในหนึ่งวันจะอนุญาตให้เข้าเยี่ยมเพียงไม่กี่ครั้ง และต้องอยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งในบางครั้งผู้เข้าเยี่ยมอาจต้องสวมชุดคลุม และถุงมือป้องกันของโรงพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อของทารกที่อยู่ในห้องอภิบาล และจะต้องมีการล้างมือด้วยสบู่ให้เรียบร้อย ทั้งนี้หากผู้ปกครองอยากนำของเล่น หรือสิ่งของเข้าไปด้านในจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจสอบและการอนุญาตของแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของทารกที่อยู่ภายใน

บทความที่เกี่ยวข้อง : 8 ข้อผิดพลาดที่แม่มักทำ เมื่อลูกอยู่ NICU

 

ด้านในห้อง NICU มีอุปกรณ์ใดบ้าง?

เมื่อคุณเข้าไปในห้องครั้งแรก คุณจะมีความรู้สึกตื่นตระหนกกับเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณหายดี โดยอุปกรณ์ และเครื่องมือเหล่านั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

  • ตู้ควบคุมอุณหภูมิ

จะเป็นในรูปแบบของเตียงขนาดเล็กที่เครื่องทำความร้อน เพื่อช่วยให้ทารกอุ่นขึ้นขณะที่อยู่ในช่วงของการเฝ้าระวังและติดตามอาการ ซึ่งสามารถดูแลทารกได้ง่ายกว่าด้วยการเปิดประตูตู้และนำทารกออกมา

  • ตู้อบทารกแรกเกิด

จะมีลักษณะคล้ายกับตู้ควบคุมอุณหภูมิ เป็นเตียงที่ครอบด้วยพลาสติกใสแข็ง มีการเจาะช่องเพื่อให้สอดมือเข้าไปหาทารกได้ ซึ่งแพทย์จะไม่นำทารกออกมา แต่จะเป็นการรักษาผ่านตู้นี้แทน

  • ไฟส่อง

เด็กแรกเกิดบางตนมีปัญหาด้านสุขภาพหนึ่งที่เรียกว่า ดีซ่าน ซึ่งทำให้ผิวหนังและตาขาวของทารกเป็นสีเหลือง การส่องไฟรักษาโรคดีซ่าน ทารกจะนอนบนผ้าห่มสำหรับการรักษา และมีการเปิดไฟเพื่อรักษาโรคดังกล่าว และการรักษานี้ใช้เวลาเพียง 2-3 วันเท่านั้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • มอนิเตอร์

เป็นจอภาพที่จะจะช่วยให้พยาบาล และแพทย์สามารถติดตามสัญญาณชีพของทารกได้แบบเรียลไทม์ และสามารถทำให้ได้เห็นภาพของทารกขณะที่ไม่ได้อยู่กับทารกอีกด้วย โดยจะฉายภาพองค์รวมที่ทำให้เห็นเครื่องมือต่าง ๆ ได้แก่

    • สายคาดหน้าอก เป็นสายคาดที่ทาบอยู่บนหน้าอกของทารก ไม่ได้ทำให้ทารกเจ็บปวดแต่อย่างใด โดยทำหน้าที่ในการรายงานอัตราการเต้นของหัวใจ และจำนวนในการหายใจของทารก
    • เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว เครื่องนี้จะใช้วัดระดับออกซิเจนในกระแสเลือดของทารก โดยเป็นเครื่องมือที่ติดอยู่ที่ปลายนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าของทารกนั่นเอง
    • เครื่องตรวจวัดความดันโลหิตผ่านทางหลอดเลือด หรือสายวัดความดันโลหิต
  • สายสวนทางหลอดเลือดดำ

เป็นท่อบาง ๆ ที่โค้งงอได้ ซึ่งจะเข้าไปในเส้นเลือดของทารกเพื่อให้ยา และของเหลว

  • เครื่องช่วยหายใจ

ทารกที่อยู่ในห้องอภิบาลฯ บางครั้งต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษในการหายใจ โดยส่วนใหญ่แพทย์จะใช้เป็นท่อช่วยหายใจ โดยนำท่อเหล่านั้นเข้าไปในหลอดลมทางปากหรือจมูก

  • ท่อช่วยป้อนนม

ทารกที่มีการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่ป่วยและยังไม่สามารถดื่มนมจากเต้า หรือจากขวดนมได้ จะได้รับนมจากท่อดังกล่าว โดยท่อนั้นจะถูกแหย่เข้าไปทางปาก หรือจมูกของทารกและติดเทปไว้เพื่อไม่ให้เคลื่อน และพยาบาลจะมีการเปลี่ยนท่อบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันความเจ็บปวดของทารก

ทั้งนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในห้องอภิบาลไม่ได้หมายความว่าทารกทุกคนจะได้ใช้ทั้งหมด เพราะทารกแต่ละคนก็มีการรักษาที่แตกต่างกันออก ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่มีความกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ถูกใช้กับทารกของคุณให้มั่นใจได้ว่านั่นคือการรักษาทารกของคุณ เพื่อให้เขากลับมาใช้ชีวิตได้แบบปกตินั่นเอง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ? เราหวังว่าเมื่อคุณแม่อ่านบทความนี้จะช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับทารกของคุณที่เพิ่งถูกส่งตัว หรือมีโอกาสที่จะถูกส่งตัวไปยังห้อง NICU ตั้งแต่แรกเกิดได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราขอเป็นกำลังให้ทารกของคุณผ่านเรื่องนี้ไปให้ได้ แล้วกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรงในเร็ววันนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มดลูกบีบตัวบ่อย คืออาการเจ็บท้องคลอดหรือไม่ เป็นอันตรายต่อทารกไหม

เพื่อนแม่ฟังไว้ 20 กฎเหล็ก เยี่ยมทารกแรกเกิด และคุณแม่หลังคลอด

ภาวะตายคลอด คืออะไร ทำไมทารกตายคลอด สาเหตุของภาวะตายคลอด

ที่มา : stanfordchildrens, kidshealth, raisingchildren, adventhealth

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team