BMI คืออะไร ทำไมแม่ท้องต้องรู้ เกี่ยวกับคนท้องด้วยหรอ ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในวันที่ 4 มีนาคม ของทุกปี ถูกจัดให้เป็นวันโรคอ้วนสากล (World Obesity Day) โรคอ้วนจัดเป็นปัญหาใหญ่สำหรับสังคมทุกวันนี้ ที่ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ และความเครียด ทำให้เกิดภาวะอ้วนได้โดยง่าย ซึ่งโรคอ้วน เป็นต้นเหตุจากอาการเจ็บป่วยเยอะแยะมากมาย ทำให้ปัจจุบัน หลายคนเริ่มหันมาสนใจ ใส่ใจมากยิ่งขึ้น และการวัดค่า BMI ก็จะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเราอยู่ในภาวะอ้วนหรือไม่ BMI คืออะไร ทำไมแม่ท้องต้องรู้

BMI คืออะไร ทำไมแม่ท้องต้องรู้ แล้วการคำนวณค่า BMI มีประโยชน์อย่างไร ทำไมเราจำเป็นจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ แล้วการวัดค่า BMI ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้น จะแตกต่างจากคนทั่วไปหรือไม่ มาดูกันดีกว่าค่ะ

 

ค่า BMI คืออะไร ?

 

BMI คืออะไร สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้น การตรวจสอบดัชนีมวลกาย หรือ BMI เป็นการประเมินน้ำหนักตัว เพื่อให้รู้ว่าเรามีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์หรือไม่ ซึ่งวิธีการคำนวณดัชนีมวลกายนี้ สามารถทำได้ด้วยการนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 หากผลลัพธ์ที่ได้ออกมาอยู่ระหว่าง 19 – 25 จะถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

หากค่าดัชนีมวลกายสูง หรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ ก็จะส่งผลถึงสุขภาพในการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งค่าดัชนีมวลกายนี้ เป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงลักษณะการทานของตัวคุณแม่ ว่าได้รับประทานอาหารที่เหมาะสมหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณบอกว่าการคำนวณค่า BMI ยุ่งยากเหลือเกิน คำนวณผิดหรือถูกก็ไม่แน่ใจ คุณสามารถเข้าสู่ลิงก์นี้ การคำนวณ BMI เพื่อทำการคำนวณค่า BMI ได้อย่างสะดวกสบายโดยการใส่น้ำหนักเป็นกิโลกรัม และส่วนสูงหน่วยเซนติเมตร แค่นี้ก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าคุณอยู่ในเกณฑ์ไหน

บทความที่เกี่ยวข้อง : เปิดเมนู ! อาหารเที่ยง ลดน้ำหนัก เพลินปากอร่อยท้องแบบไม่อ้วน

 

หลักดัชนีมวลกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

น้ำหนักน้อย น้ำหนักปกติ น้ำหนักเกิน อ้วน
ค่าดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ (กิโลกรัม/เมตร2) < 18.5 18.5 – 22.9 23.0 – 29.9 ≥ 30
อัตราการเพิ่มน้ำหนักในไตรมาสที่ 2 และ 3 (กรัม/สัปดาห์) 440 – 580 350 – 500 230 – 330 170 – 270
อัตราการเพิ่มน้ำหนักในไตรมาสที่ 2 และ 3 (กิโลกรัม/เดือน) 1.8 – 2.3 1.4 – 2.0 0.9 – 1.3 0.6 – 1.1
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ (กิโลกรัม) 12.5 – 18.0 11.5 – 16.0 7.0 – 11.5 5.0 – 9.0

 

จากการสำรวจของข้อมูล National Health and Nutrition Examination Survey (NHANES) ของประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2013 – 2014 พบความชุกของอุบัติการณ์ของภาวะอ้วนในหญิงเจริญพันธุ์ 40.4 % โดยพบภาวะอ้วนระดับ 3 และพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากฐานข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ.2005 ถึงปี ค.ศ.2014

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับการศึกษาในประเทศไทยในปี ค.ศ. 2005 และ 2013 ก็พบข้อมูลว่ามีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติ 1.82 เท่า เมื่อเทียบกับปี ค.ศ.2005 พบ 1.53 เท่า และพบว่าภาวะอ้วนสูงขึ้น 3.20 เท่าเมื่อเปรียบเทียบของข้อมูลเดิม 2.47 เท่า ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมีความสอดคล้องกัน แสดงให้เห็นว่าภาวะอ้วนมีแนวโน้มที่จะสูงเพิ่มมากขึ้นในไทยด้วยเช่นกัน

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ น้ำหนักควรเพิ่มเท่าไหร่?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นสำหรับคุณแม่แต่ละท่าน จะไม่เหมือนกัน เนื่องจากน้ำหนัก และส่วนสูงแตกต่างกันไปแต่ละคน ดังนั้น น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ ควรคำนวณจากดัชนีมวลกาย ซึ่งจะบอกสถานะว่าคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์มีน้ำหนักเข้าเกณฑ์ใด และตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ น้ำหนักที่ควรเพิ่มเป็นเท่าไร โดยทั่วไปตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไม่ควรน้อยกว่า 7 กิโลกรัม และไม่ควรมากกว่า 13 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ (BMI) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเป็นกี่กิโลกรัม
BMI < 18.5 (ผอม) 12.5 – 18.0
BMI 18.5 – 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) 11.5 – 16.0
BMI 25.0 – 29.9 (น้ำหนักตัวเกิน) 7.0 – 11.5
BMI ≥ 30 (โรคอ้วน) 5.0 – 9.0
การตั้งครรภ์แฝด 15.9 – 20.4
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเป็นกรณีพิเศษ คือ คุณแม่ที่ก่อนตั้งครรภ์ผอม ในช่วง 3 เดือนแรกควรจะพยายามปรับให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นให้ตรงตามเกณฑ์ แล้วใช้เวลาในระยะ 6 เดือนต่อมาเพิ่มน้ำหนักให้ได้เท่าที่ต้องการตลอดการตั้งครรภ์

 

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรให้ความสำคัญดูแลน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่เหมาะสม คือ คุณแม่ที่ก่อนตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน โดยควรเลือกกินอาหารเป็นพิเศษ

 

  • คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดสอง หรือแฝดสาม ไม่ได้หมายความว่า จะต้องมีน้ำหนักเพิ่มเป็นสอง หรือสามเท่าตามจำนวนของทารกในครรภ์ แต่อาจจะเพิ่มน้ำหนักโดยเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อทารก 1 คน การรับประทานอาหารควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

 

  • จำไว้เสมอว่า ระยะเวลาตลอดการตั้งครรภ์ไม่ใช่เวลาที่จะควบคุมน้ำหนักด้วยการงดอาหารอย่างเด็ดขาด เพราะทารกในครรภ์จะได้พลังงานจากการเผาผลาญไขมันของคุณแม่เท่านั้น แต่จะไม่ได้สารอาหารใด ๆ ทั้งสิ้น

 

การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ ในช่วงระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เดือนที่ 1 – 3

  • น้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเพิ่มน้อย คือ โดยเฉลี่ยแค่ประมาณ 1 – 2 กิโลกรัมเท่านั้น เนื่องจากอาการแพ้ท้อง
  • ในช่วงระยะไตรมาสสองของการตั้งครรภ์ เดือนที่ 4 – 6 น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ย ½ กิโลกรัมต่อสัปดาห์
  • ในช่วงระยะไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ เดือนที่ 7 – 9 น้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นเพียง 2 – 3 กิโลกรัมเท่านั้น ในระยะเดือนสุดท้ายอาการใกล้คลอดน้ำหนักจะคงที่ หรือลดลงบ้างเล็กน้อยประมาณ ½ กิโลกรัม กล่าวคือ
    • ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเลยในระยะอายุ 2 – 4 เดือน หรือกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเลยภายใน 2 สัปดาห์ทั้งที่อยู่ในเกณฑ์ที่ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์
    • กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ในช่วงไตรมาส 2 หรือเดือนที่ 4 – 6 หรือมีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า ½ กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ในไตรมาสที่สาม เดือนที่ 7 – 9 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรไปปรึกษาแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่นิยมกินอาหารรสจัดหรือกินบ่อยเกินไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลร้ายต่อลูกในท้องอย่างไร ผลวิจัยมีคำตอบ

 

น้ำหนักของหญิงตั้งครรภ์บ่งบอกอะไรได้บ้าง

  • ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ช่วงตั้งครรภ์มีผลให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
  • ผู้หญิงที่มีน้ำหนักน้อยตั้งแต่เกิด มักจะให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักน้อยเช่นกัน
  • ถ้าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเพิ่มมากกว่าปกติ ทำให้น้ำหนักตัวหลังคลอดยังคงมากอยู่ ซึ่งจะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ
  • ผู้หญิงที่น้ำหนักตัวตอนคลอดมากเกินไป มีโอกาสผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมากขึ้นถึง 6 เท่าและเสี่ยงเป็นเบาหวานมากกว่าปกติ 1.5 เท่า

 

ลดน้ำหนักหลังคลอดควรใช้เวลาเท่าไร?

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีความกังวลเรื่องน้ำหนักที่เกินมานั้น หลังคลอดลูกแล้ว ผู้เชี่ยวชาญหลายคนให้ความเห็นตรงกันว่า การลดน้ำหนักลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติควรลดอย่างช้า ๆ เป็นระยะเวลา 9 เดือนเท่ากับช่วงเวลาอุ้มท้องนะคะ คุณแม่บางคนลดน้ำหนักได้ภายใน 2-3 สัปดาห์กลับมาสวมเสื้อผ้าที่เคยใส่ก่อนตั้งครรภ์ได้แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แต่ส่วนใหญ่จะใช้เวลาลดน้ำหนักมากกว่านั้น ลดน้ำหนักของคุณแม่หลังคลอดจะอาศัยหลักการพื้นฐานเดียวกันกับการลดน้ำหนักทั่วไป ถ้ารับประทานอาหารมากวิธีการก็จำเป็นต้องใช้พลังงานมากเพื่อให้น้ำหนักลดลง หากรับประทานอาหารมากเกินไป พลังงานส่วนเกินจะถูกเป็นสะสมเป็นไขมัน จำเป็นต้องควบคุมปริมาณอาหารและออกกำลังกายทุกวันเพื่อลดน้ำหนักส่วนเกินค่ะ

 

ช่วงตั้งครรภ์ไม่ใช่เวลาที่จะควบคุมอาหารแบบนับแคลอรี การควบคุมน้ำหนักอาจทำให้ขาดสารอาหาร และส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารก การควบคุมน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้ทารกแรกเกิดเสียชีวิต หรือน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ หากคุณแม่ลดน้ำหนักหลังคลอดเร็วเกินไปอาจเกิดปัญหาน้ำนมแม่น้อย และสารอาหารในน้ำนมแม่ไม่เพียงพอกับความต้องการของทารก

 

มาฟังคุณหมอพูดกันบ้าง

 

ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักโดยการคำนวณค่า BMI จึงมีส่วนสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก และควรจะควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และเมื่อคลอดลูกแล้ว ก็ไม่ควรที่จะหักโหมลดน้ำหนักเพื่อให้เข้าเกณฑ์ปกติโดยทันที เพราะสารอาหารที่จะต้องส่งต่อให้ลูกน้อยผ่านน้ำนมแม่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ และมีคุณค่าที่สุด และเชื่อเถอะค่ะว่า ช่วงที่ให้นมลูกนั้น น้ำหนัก จะลดลงมาสู่เกณฑ์ปกติเองค่ะ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ของบำรุงคนท้อง สำหรับแม่ท้อง 5 เดือน อาหารแม่ท้อง 5 เดือน บำรุงยังไง?

ของบำรุงคนท้อง สำหรับแม่ท้อง 8 เดือน บำรุงคุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 8

เมนูอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันหลังคลอด 6 สูตร ประโยชน์ครบสำหรับคุณแม่ในช่วงอยู่ไฟ

ที่มา : 1 , 2

บทความโดย

Arunsri Karnmana