การตั้งครรภ์เดือนที่ 2 : การเปลี่ยนแปลงของแม่ ท้อง 2 เดือน และ พัฒนาการทารก

สำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 2 นั้นยังถือว่าเป็นช่วงการตั้งครรภ์ที่บอบบางมาก ดังนั้นคุณแม่ท้องไม่ควรทำกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมในกิจวัตรประจำวันที่อาจจะส่งผลกระทบต่อครรภ์ได้ เช่น การนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ การทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น มาดูกันว่าการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2 นี้ร่างกายคุณแม่ท้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงกันบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วันนี้ เราจะชวนทุกคนมาคุยเรื่องการตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2 แม่ที่ ท้อง 2 เดือน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน ต้องดูแลตัวเองอย่างไร และจะมีอาการอย่างไร ทารกในครรภ์ 2 เดือน จะเป็นยังไงบ้าง เรามาอ่านไปพร้อม ๆ กันค่ะ

 

ท้อง 2 เดือน ตั้งครรภ์2เดือน ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

  • ระดับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จะส่งผลทำให้แม่ท้องมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ บางครั้งก็หงุดหงิด รำคาญกับคนรอบข้างบ่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุ ซึ่งอาการหงุดหงิดแปรปรวนนี้ถือเป็นเรื่องปกติของคนท้องค่ะ
  • เต้านมขยายมากขึ้น จนเห็นเป็นเส้นเลือด หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าช่วงบริเวณฐานของหัวนมจะกว้าง และนุ่มขึ้น
  • อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในคนท้อง
  • น้ำหนักตัวในช่วงเดือนที่สองอาจจะเพิ่มขึ้นไม่มาก ซึ่งเกณฑ์ของน้ำหนักตัวคนท้องในช่วงไตรมาสแรกจะอยู่ที่ 1-2 กิโลกรัม(รวมทั้ง 3 เดือน)
  • อาการแพ้ท้องยังคงมีอยู่ ซึ่งคนท้องบางรายอาจจะแค่เวียนศีรษะ อาเจียนตอนเช้าๆ เล็กน้อย หรือไม่ก็เหม็นกลิ่นอาหาร ซึ่งอาการแพ้ท้องในช่วงการตั้งครรภ์ ก็เป็นผลให้น้ำหนักตัวของแม่ท้องไม่ค่อยเพิ่มขึ้น เนื่องจากทานข้าวได้น้อย
  • ในช่วงการตั้งครรภ์ช่วง 1-3 เดือนแรก แม่ท้องจะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย นั่นเป็นเพราะมดลูกเริ่มขยายใหญ่ขึ้น จึงเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งถือเป็นอาการปกติของคนท้อง และทุกครั้งที่รู้สึกปวดปัสสาวะไม่ควรอั้นปัสสาวะ เพราะอาจทำให้เกิดอาการท่อปัสสาวะอักเสบขึ้นได้ ดังนั้นควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่ปวดปัสสาวะนะคะ
  • ถึงแม้ว่าร่างกายของแม่ท้องจะไม่ค่อยอยากรับประทานอาหารมากซะเท่าไหร่ในช่วงนี้ แต่ก็ต้องทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ(จะทานได้น้อยก็ไม่เป็นไร) เพราะร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อใช้ในการเสริมสร้างบำรุงอวัยวะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เพราะหลังจากสามเดือนไปแล้วแม่ท้องจะรู้สึกอยากทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ

 

ทารกในครรภ์ 2 เดือน พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ของ คนท้อง 2 เดือน ตั้งครรภ์2เดือน

  • ในช่วงนี้ตัวอ่อนในครรภ์คุณแม่จะได้รับอาหารจากถุงไข่แดง
  • ตัวอ่อน มีการพัฒนาร่างกายให้เติบโตขึ้นกว่าเดือนแรก อวัยวะอย่างใบหน้า ดวงตา แขน ขาพัฒนาขึ้นมาอย่างชัดเจน
  • ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 หากมีการตรวจอัลตราซาวนด์จะพบว่าหัวใจเริ่มเต้น แม้ว่าหัวใจในระยะเริ่มต้นนี้จะเป็นเพียงหลอดเล็กๆ เท่านั้น แต่เดี๋ยวก็จะถูกพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเหมือนกับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
  • ในเดือนที่ 2 ลูกน้อยจะมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีน้ำหนักเพียงแค่ประมาณ 3 กรัม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ติดตามพัฒนาการด้านร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ และติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ ตลอดทั้ง 3 ไตรมาส พร้อมแลกเปลี่ยนเรื่องรางต่าง ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ และขอรับคำปรึกษาเมื่อพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์ จากผู้เชี่ยวชาญแบบเรียลไทม์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ใน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ดาวน์โหลดฟรี ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการท้องไตรมาสแรก ที่ต้องพบในช่วงตั้งครรภ์ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 10

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ ท้อง 2 เดือน

สำหรับแม่ท้องความต้องการสารอาหารต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้นกว่าปกตินั่นเพราะส่วนหนึ่งใช้เพื่อเสริมสร้างบำรุงร่างกายของแม่ท้องเอง และอีกส่วนหนึ่งยังจะต้องส่งต่อไปเพื่อให้ทารกในครรภ์ใช้สำหรับเสริมสร้างพัฒนาร่างกาย และอวัยวะต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้แม่ท้องสามารถทานได้ตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ

 

  • โปรตีน

คือ สารอาหารหลักที่ร่างกายได้รับจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โปรตีนมีความจำเป็นต่อร่างกายของแม่ท้อง และทารกน้อยในครรภ์ สำหรับใช้พัฒนาระบบการทำงานของสมอง และการเจริญเติบโตของร่างกาย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ร่างกายสามารถรับได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด และในนม ไข่ ฯลฯ รวมถึงถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • แคลเซียม

    ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่างๆ ส่วนใหญ่พบในกระดูก ปกติแล้วร่างกายของเราไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง ต้องได้รับจากอาหารที่รับประทานเท่านั้น ในแม่ท้องควรได้รับการสะสมแคลเซียมไว้มากๆ เพราะส่วนหนึ่งแคลเซียมในร่างกายของคุณแม่จะต้องถูกส่งต่อไปให้ทารกในครรภ์สร้างกระดูก ซึ่งแม่ท้องเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนตามมาในอนาคต ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมทั้งก่อนท้อง ระหว่างการตั้งครรภ์ รวมทั้งหลังคลอดแล้ว ต้องเสริมให้ร่างกายอยู่ตลอดเวลาอย่าให้ขาดนะคะ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น นม (หากกังวลว่าลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้นมวัวได้หลังคลอด คุณแม่อาจดื่มนมสัปดาห์ละ 2 วันก็ได้) โยเกิร์ต ชีส ปลาตัวเล็กๆ กุ้งฝอย ธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ และผักใบเขียวเข้มทุกชนิด รวมทั้งแคลเซียมเม็ดที่คุณหมอให้ทานระหว่างตั้งครรภ์ ก็ควรทานให้หมดครบตามที่คุณหมอจัดไว้ให้ด้วยนะคะ

  • ธาตุเหล็ก

    ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง นำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ถ้าแม่ขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรง และลูกได้รับเหล็กไม่เพียงพอ อาจทำให้ลูกมีปัญหาพัฒนาการทางสมองได้ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น งา เนื้อแดง ไข่แดง ผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักโขม ฯลฯ

  • คาร์โบไฮเดรต

    มีหน้าที่สำคัญคือให้พลังงานแก่ร่างกาย เมื่อแม่ท้องอายุครรภ์เข้าช่วงตามาสที่สองเป็นต้นไป ร่างกายจะมีความต้องการคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตยังจำเป็นต่อระบบสมองของทารกในครรภ์ด้วย แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช ก๋วยเตี๋ยว

  • โฟเลต

    มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก หากตามหลักแล้วคนท้องควรทานโฟเลตก่อนการตั้งครรภ์ประมาณ 3 เดือน และทานต่อไปจนกว่าจะผ่านพ้นการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก แต่ในนปัจจุบันคุณหมอที่ดูแลครรภ์จะจัดโฟเลตให้ทานตลอดการตั้งครรภ์ โฟเลต ถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ระบบประสาท และระบบประสาทไขสันหลังของทารกในครรภ์มีความสมบูรณ์ ดังนั้นแม่ท้องต้องใส่ใจในการทานโฟเลตกันด้วยนะคะ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต ที่นอกเหนือจากในวิตามินที่คุณหมอจัดให้ คุณแม่ก็สามารถเสริมโฟเลตให้ร่างกายทุกวันได้จากอาหารที่มีมากอยู่ในผักใบเขียวเข้มทุกชนิด เช่น ผักโขม บร็อคโคลี่ แคลตาลูป น้ำส้ม ตับ เนื้อแดง หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า ฯลฯ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :

อาการคนท้อง 1 เดือนแรกที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์

โภชนาการของคุณแม่ตั้งครรภ์

7 สุดยอดน้ำมันนวดคุณแม่ พร้อมไขข้อข้องใจ คนท้องนวดได้ไหม?

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team