6 วิธี อยากให้ลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง ต้องทำด่วน !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อยากให้ลูกมี IQ เป็นเลิศ อยากให้ลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง เรื่องนี้ทำได้จริง แต่ลูกจะฉลาดไหมยังขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย อย่างไรก็ตามการช่วยกระตุ้นตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์ก็เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรทำอยู่แล้ว เรามีวิธีมานำเสนอ 6 วิธี ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ตลอดอายุครรภ์ 3 ไตรมาส

 

อยากให้ลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง ทำได้ไหม ?

ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกรักฉลาด ยิ่งถ้าสมองดีมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้วยิ่งดีไปใหญ่ ความฉลาดของเด็ก ๆ นั้น เป็นไปตามปัจจัยต่าง ๆ หลายด้านทั้งการเรียนรู้ใน และนอกห้องเรียน พัฒนาการของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน หรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นต้น แต่แน่นอนว่าการบำรุงทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตลอดช่วง 3 ไตรมาส ก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน เพราะหกทำได้อย่างถูกวิธี จะทำให้ทารกมีพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทสมบูรณ์ ลดโอกาสมี IQ น้อยกว่ามาตรฐาน ซึ่งวิธีการทำ คือ การดูแลร่างกายของคุณแม่ และการพยายามสื่อสารกับทารกในครรภ์ด้วยวิธีต่าง ๆ นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากให้ลูกมีลักยิ้ม มีวิธีทำแบบไหนได้บ้าง ปลอดภัยไหม ?

 

วิดีโอจาก : คนท้อง Everything Channel

 

6 วิธีช่วยให้ลูกสมองไวตั้งแต่อยู่ในครรภ์

การช่วยฝึกให้ลูกมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีตั้งแต่ในครรภ์ทำได้ไม่ยาก หากรู้วิธีแต่เนิ่น ๆ จะยิ่งได้เปรียบ เพราะมีวิธีที่สามารถทำได้ตลอดทั้ง 3 ไตรมาส ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. ลูบหน้าท้องสื่อสารกับทารกในครรภ์

วิธีง่าย ๆ ด้วยการลูบท้องของคุณแม่สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ในช่วงไตรมาสที่ 1 เลย โดยให้เริ่มทำภายในเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ แม้ทารกจะยังไม่ได้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ แต่ก็สามารถสัมผัสทางกายได้ ทารกจะรู้สึกถึงแรงการสัมผัสจากการสั่นสะเทือนหน้าท้อง การที่ลูกพยายามรับรู้ จะเป็นการฝึกลูกให้ใช้ระบบประสาท และสมอง ส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีมากยิ่งขึ้น นอกจากการสัมผัสแล้ว การพูดคุยกับทารกในครรภ์ก็สามารถเสริมพัฒนาการของทารกได้ด้วย ทั้ง EQ และ IQ การสื่อสารของคุณแม่กับทารกจะทำให้คุณแม่มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ที่สามารถส่งต่อไปยังทารกผ่านสายสะดือ

 

2. เปิดเพลงให้ลูกในท้องฟัง

การเปิดเพลงให้ลูกฟัง จะสามารถทำได้ในตอนที่คุณแม่เข้าไตรมาสที่ 2 หรือในช่วงเดือนที่ 5 ทารกจะเริ่มได้ยินเสียงแล้ว เราแนะนำให้เปิดเพลงวันละประมาณ 10 -15 นาทีเท่านั้น โดยให้เสียงเพลงอยู่ห่างจากหน้าท้องประมาณ 1 ฟุต ห้ามนำหูฟังมาแนบท้อง ใช้เพลงที่ฟังง่าย มีจังหวะที่ไพเราะอ่อนนุ่ม ไม่ใช่เพลงที่มีจังหวะเร็ว หรือซับซ้อน คลื่นเสียงจะช่วยกระตุ้นระบบการได้ยินของทารก ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ของสมอง และระบบประสาท นอกจากนี้ทารกจะตอบสนองด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการฝึกพัฒนาทางด้านร่างกายของลูกน้อยอีกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. อ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจำ

การอ่านหนังสือให้ลูกฟังสามารถเริ่มทำได้ในเดือนที่ 5 ของการตั้งครรภ์เช่นกัน โดยให้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที / วัน หรือทำก่อนนอนทุกคืนก็ได้ การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง คล้ายคลึงกับการพูดคุยกับทารกในครรภ์บ่อย ๆ จะช่วยเสริมสร้างระบบการได้ยิน และระบบประสาทของลูกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกเกิดความคุ้นชิน รับรู้ว่าเสียงนี้เป็นเสียงของคุณแม่ เมื่อทารกจดจำได้ และได้ยินอีกครั้งในวันต่อไป จะทำให้ทารกอารมณ์ดี เกิดความผ่อนคลาย ส่งผลดีต่อพัฒนาการภาพรวม หากทารกผ่อนคลายบ่อย ๆ จะส่งผลให้เมื่อคลอดออกมามีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กที่เลี้ยงได้ง่ายมากขึ้นด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ส่องไฟฉายฝึกพัฒนาการลูก

ผู้ปกครองรู้ไหมว่าการส่องไฟฉายใส่หน้าท้องอย่างถูกต้อง สามารถช่วยให้ทารกฝึกการใช้ระบบการมองเห็น เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้ทารกมีการเรียนรู้ และพัฒนาการทางสมองจากการใช้เซลล์สมอง และประสาทส่วนการมองเห็นจากแสดงของไฟฉายได้ โดยสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 7 เดือน หรือช่วงเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 โดยให้เปิด – ปิดไฟฉายใส่หน้าท้องช้า ๆ ทำวันละ 5 – 10 ครั้ง ใช้เวลาแต่ละครั้งประมาณ 1 – 2 นาทีเท่านั้น

 

5. ทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ

การทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการของคนท้อง มีความสำคัญตลอดทั้ง 3 ไตรมาส เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เพราะไม่ได้แค่มีผลต่อพัฒนาการของทารกเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อตัวของคุณแม่ด้วย เพราะคุณแม่ทานแบบไหน ทารกก็ได้แบบนั้นเช่นกัน ส่วนการทานอาหารนั้นก็ง่าย ๆ คือ การทานให้ครบ 5 หมู่

โดยเฉพาะสารอาหารเหล่านี้ DHA, ไอโอดีน, กรดโฟลิก, โอเมก้า 3 และธาตุเหล็ก ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากต่อพัฒนาการด้านระบบประสาท และสมองของทารก หากขาดสารอาหารเหล่านี้มีแนวโน้มว่าเด็กที่คลอดออกมา อาจมี IQ ที่ต่ำได้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยเช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากให้ลูกผมดก เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ผมบาง ?

 

 

6. ออกกำลังระหว่างการตั้งครรภ์

การออกกำลังกายระหว่างการตั้งครรภ์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมทางด้านร่างกายของคนท้องแต่ละคน ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจออกกำลังกายใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ โดยปกติการออกกำลังแบบเบา ๆ ที่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่ การเล่นโยคะ หรือการว่ายน้ำ เป็นต้น วันละ 20 – 30 นาที การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้คุณแม่แข็งแรง ป้องกันคุณแม่จากภาวะความผิดปกติได้ดี และส่งผลดีต่อระบบประสาทของทารกด้วย

 

ลูกคลอดแล้วก็ฝึกพัฒนาการทางสมองได้

หากคุณแม่ดูแลครรภ์เป็นอย่างดี สื่อสารกับลูกบ่อยในช่วงตั้งครรภ์ พอลูกคลอดออกมาแล้ว ก็อาจไม่ได้ส่งผลดีอย่างที่คิด หากทารกน้อยขาดปัจจัยที่ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองจะต้องอย่าลืมช่วยลูกให้เกิดการพัฒนาทางสมองอย่างต่อเนื่องด้วย ทั้งพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ใช้เวลากับลูกเยอะ ๆ เมื่อลูกเริ่มมีการจดจำก็ฝึกความจำ ให้เรียนรู้เรื่องสี เรื่องรูปร่าง สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้ และให้ทารกน้อยพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนการให้ทารกกินนมแม่เท่านั้นในช่วง 6 เดือนแรก หากผู้ปกครองช่วยกระตุ้นในทุกช่วงเวลาของทารก ไม่ใช่แค่ตอนอยู่ในครรภ์ จะยิ่งทำให้ทารกมีพัฒนาการภาพรวมที่ดีขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องของระบบประสาท และสมองแน่นอน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การช่วยกระตุ้นทารกเป็นสิ่งที่ควรทำก็จริง แต่ผู้ปกครองก็ต้องใจเย็น ๆ ถึงผลลัพธ์ด้วย เพราะทารกแต่ละคน มีพัฒนาการเร็ว – ช้าแตกต่างกัน พยายามเลี่ยงการเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น อย่างไรก็ตามหากพบว่าลูกมีพัฒนาการที่ล่าช้าเกินไปจากมาตรฐานมาก ผู้ปกครองสามารถพาลูกรักเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

7 วิธีสำหรับพ่อแม่ อยากให้ลูกตั้งใจเรียน เพื่ออนาคตที่สดใส

ที่มา : thebump, si.mahidol, phyathai

บทความโดย

Sutthilak Keawon