ภูมิคุ้มกัน เป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกายของเรา เป็นตัวที่จะช่วยบ่งบอกสุขภาพร่างกาย ว่าแข็งแรง หรืออ่อนแอ แต่หลายคนคงสงสัยเหมือนกันว่า ภูมิคุ้มกัน คืออะไร ทำงานยังไง เกี่ยวข้องกับร่างกายของเราอย่างไร บทความนี้จะพาไปหาคำตอบกัน
ภูมิคุ้มกัน คืออะไร?
ระบบภูมิคุ้มกัน ถูกสร้างขึ้นด้วยสารเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย เพื่อนำมาใช้ในการต่อสู่กับการติดเชื้อต่าง ๆ และ เซลล์เม็ดเลือดขาว ที่จะถูกสร้างขึ้นภายในไขกระดูก แล้วจะเคลื่อนที่เข้าสู่กระแสเลือด และเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการติดเชื้อ
โดยเซลล์เหล่านี้จะทำงาน เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคมากเกินไป หากภูมิคคุ้มกันกำจัดเชื้อดังกล่าวออกไปได้ ระบบภูมิคุ้มกันก็จะมีการจดจำเชื้อเหล่านั้นเอาไว้ เมื่อเชื้อโรคชนิดเดิม กลับข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง ระบบภูมิคุ้มกันก็จะสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้อย่างรวดเร็ว
ระบบภูมิคุ้มกัน ยังมีหน้าที่ในการผลิตโปรตีนที่มีชื่อว่า “แอนติบอดี้ (Antibodies)” ที่ช่วยในการต้านพิษที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือ พิษที่มาจากเชื้อโดยตรง
ระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งเป็นกี่ประเภท?
ระบบภูมิคุ้มกันของคนเรา แตกต่างกันออกไปตามแต่ละปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือ ร่างกายที่พึ่งผ่านการติดเชื้อ จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันในเชื้อตัวนั้น ๆ เนื่องจากร่างกายสามารถจดจำการติดเชื้อที่อันตรายได้ โดยภูมิคุ้มกัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (Innate Immunity)
ภูมิคุ้มกันในร่างกายชนิดนี้ เป็นภูมิที่สร้างได้เอง เพื่อใช้ป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ที่มาจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ทำให้ร่างกายของเราปลอดภัยจากการติดเชื้อ โดยภูมิคุ้มกันชนิดนี้ จะทำหน้าที่ทั่ว ๆ ไป รวมถึงผิวหนัง เยื่อบุต่าง ๆ รวมถึงทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคได้ด้วย โดยภูมิคุ้มกันชนิดนี้จะทำงานเมื่อร่างกายมีเชื้อโรคเข้ามา ซึ่งจะทำการปิดผนึกช่องทางที่เชื้อจะเข้าไปในร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่ได้รับเชื้อ
2. ภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาในภายหลัง (Acquired Immunity)
ภูมคุ้มกันที่ได้รับมาในภายหลัง เป็นภูมิคุ้มกันที่ทำงานต่อเนื่องมาจากภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อ สิ่งแปลกปลอม หรือ การกระตุ้นจากวัคซีนต่าง ๆ เป็นภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่จะมีการจดจำสิ่งกระตุ้น และตอบสนองได้เร็วขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้น แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย ดังนี้
- ภุมิคุ้มกันแบบเจาะจง (Adaptive Immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง หลังจากได้รับเชื้อเข้ามา เพื่อลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะต้องติดเชื้อเดิม
- ภูมิคุ้มกันที่รับมาจากภายนอก (Passive Immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากภายนอก ที่ร่างกายนำมาช่วยป้องกันการติดเชื้อ ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ลูกดื่มนมแม่จะได้รับภูมิคุ้มกัน ในช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ภูมิคุ้มกันนี้จะค่อย ๆ ลดลงและหมดไป
ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร?
เมื่อมีเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายของเรา ร่างกายจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในการตอบสนอง ซึ่งจะมีกลไกการต่อต้าน และ ทำลายสิ่งแปลกปลอม ด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้
-
ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Non-Specific Defense Mechanism)
ระบบภูมิคุ้มกันนี้ จะช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกาย โดยจะช่วยป้องกัน และต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ที่กำลังจะเข้าสู่เนื้อเยื่อ หรือ เข้าสู่เนื้อเยื่อไปแล้ว แต่หากแนวป้องกันนี้ เกิดการถูกทำลาย ร่างกายจะใช้กลไกต่อต้านแบบจำเพาะ คือ การอักเสบ และการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นกลมที่จะช่วยดักจับและทำลายเชื้อโรค
2. ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Specific Defense Mechanism)
ระบบภูมิคุ้มกันนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมได้ผ่านด่านแรกเข้ามาแล้ว เมื่อแอนติเจนเข้าสู่ร่างกาย จะกระตุ้นกลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของเม็ดเลือดขาว เซลล์บี (B Cell) และ เซลล์ที (T cell) ที่จะทำหน้าที่จับกับแอนติเจนอย่างจำเพาะ และกระตุ้นเซลล์บี ให้พัฒนากลายเป็นพลาสมา ที่ทำหน้าที่สร้าง และหลั่งสารแอนติบอดี้
หากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติส่งผลอย่างไร?
หากระบบภูมิคุ้มกันเกิดการทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง อาจทะให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ดังนี้
- โรคภูมิแพ้ หรือ หอบหืด เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรง หรือ หอบหืดรุนแรงได้
- ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เมื่อภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการเสี่ยง ต่อการติดเชื้อที่ร้ายแรง และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอชไอวี เป็นต้น
- โรคแพ้ภูมิตัวเอง การทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน อาจทำให้ภูมิคุ้มกันย้อนกลับมาทำลายเซลล์ในร่างกายของเราเอง และอาจทำให้เกิดโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือที่รู้จักกันว่า “โรคพุ่มพวง” ได้
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน มีการทำลายเนื้อเยื่อที่ข้อต่าง ๆ และ ไทรอยด์ตาโปน ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันเข้าไปจู่โจมไทรอยด์
ปัจจัยที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อม
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
เมื่อเราพักผ่อนไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน จะทำให้ร่างกายมีฮอร์โมนความเครียดสูงขึ้น และทำให้เสี่ยง ที่ระบบภูมิคุ้มกันจะทำเกิดการอักเสบ ติดเชื้อได้
- ขาดการออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย จะช่วยสร้างสารเคมีที่ดี ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง รู้สึกสดชื่น และแอคทีฟ จึงช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น หากไม่ออกกำลังกายเลยก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความอ่อนแอลงได้
- รับประทานอาการที่มีโทษต่อร่างกาย
การรับประทานอาหารที่เป็นโทษต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีน้ำตาลมาก หรือ ไขมันสูง จะทำให้มีผลเสียต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการรับประทานผัก ผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ร่างกายไม่มีแร่ธาตุ และ วิตามิน ที่จะช่วยเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง
- ภาวะเครียดสะสม
ความเครียดเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง หากร่างกายมีความเครียดสูง ฮอร์โมนจะความเครียดจะไปกดภูมิคุ้มกันไม่ให้ทำงานได้ ทำให้ร่างกายเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
วิธีเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง จะทำให้สุขภาพโดยรวมของเราดี ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับรูปแบบการใช้ชีวิต เพราะภูมิคุ้มกันจะแข็งแรง หรือ อ่อนแอ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมต่าง ๆ โดยเราสามารถเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผบไม้ ธัญพืชต่าง ๆ
- ลดอาหารที่ให้โทษต่อร่างกาย เช่น อาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ควบคุมความดันโลหิต
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอลในปริมาณมาก
- ล้างมือบ่อย ๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงภาวะความเครียด หากิจกรรมเพื่อคลายเครียดบ้าง
ภูมิคุ้มกัน เป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกาย ที่จะเป็นตัวบ่งบอกสุขภาพร่างกายของเรา และระบบภูมิคุ้มกันของเราจะแข็งแรง หรือ อ่อนแอ ขึ้นอยู่กับพฤิตกรรมต่าง ๆ ของเรา ดังนั้นเราควรรักษาสุขภาพให้ดี ด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย และลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำร้ายภูมิคุ้มกันของเรา
บทความที่น่าสนใจ
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา
10 อาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันเด็ก เสริมภูมิต้านทาน แม่จ๋า รีบหามาให้ลูกกินด่วน
อาหารเสริมเพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน ที่ดีที่สุด15 ประเภท ภูมิคุ้มกันแข็งแรง