เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น เด็กผู้ชายหลายคนเริ่มมีอาการ เสียงแตก กันเป็นส่วนใหญ่ โดยอาการเสียงแตกนั้น เกิดจากช่องเสียงของเด็กผู้ชาย ขยายตัวใหญ่ขึ้น ทำให้สายของเสียงยาว หนา และกว้างขึ้น จึงเป็นเหตุให้เด็กผู้ชายหลายคนเริ่มเกิดเสียงทุ้ม แหบ ไม่มีเสียงแหลม เท่าเด็กผู้หญิง และไม่สามารถเปล่งเสียงสูงออกมาได้ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเช่นนี้ จะทำให้เด็กชายส่วนใหญ่มักถูกล้อ แต่ก็เป็นการพัฒนาการทางด้านร่างกายส่วนหนึ่ง ที่เมื่อโตขึ้น ก็จะหายเป็นปกติเอง
ทำไมเด็กผู้ชายเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแล้วเริ่มมีอาการ เสียงแตก
อาการเสียงแตก ของเด็กผู้ชายเมื่อเริ่มย่างก้าวเข้าสู่วัยรุ่นนั้น เป็นการพัฒนาด้านร่างกาย เพื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยเด็กผู้ชาย จะผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนออกมาจำนวนมาก ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะกล่องเสียง เด็กผู้ชายบางคนเริ่มมีเสียงแหบแห้ง ไม่เหมือนตอนที่ยังเล็ก ทั้งยังไม่สามารถควบคุมการออกเสียงของตัวเองได้ เดี๋ยวก็เปล่งเสียงต่ำ เดี๋ยวก็เปล่งเสียงสูง นับเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่วัยรุ่น ที่ไม่ว่าเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิง ก็ต้องเจอ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการเสียงแตก จะเกิดขึ้นกับเด็กผู้ชายมากกว่า และเสียงของเด็กผู้ชายจะเปลี่ยนแปลงมากกว่าเด็กผู้หญิง
ทำไมจึงควบคุมเสียงของตัวเองไม่ได้
เมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสู่วัยรุ่นนั้น ทำให้เด็ก ไม่สามารถควบคุมเสียงของตัวเองได้ โดยเด็กผู้ชาย จะเริ่มมีเสียงแตก เพราะกล่องเสียงมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เสียงของเด็กผู้ชายบางคน จึงเริ่มทุ้มต่ำลง ขณะที่บางคนอาจมีเสียงทุ้มต่ำลงทันที ซึ่งบางทีอาจทำให้เด็กรู้สึกเครียด กังวล หรืออับอาย ซึ่งแน่นอนว่าเด็กทุกคนก็ต้องเจอการเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าวนี้ทั้งนั้น นอกจากนี้อาการเสียงแตก ยังเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวไม่กี่เดือน เมื่อโตขึ้นก็จะหายไป และยังไม่ได้เกิดทุกครั้งที่พูด ดังนั้นเด็กทุกคน จึงต้องเข้าใจในอาการ และเริ่มปรับตัวให้เข้ากับเสียงทุ้มของตัวเอง
เมื่อไหร่ที่เสียงของเด็กจะเริ่มแตก
การเปลี่ยนแปลงของเสียง จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในตัวเด็กนั้นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวัยแรกรุ่น จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในร่างกาย ไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงของเสียงเท่านั้น โดยช่วงอายุที่เด็กผู้ชาย มักจะเริ่มมีอาการเสียงแตกนั้น อยู่ระหว่าง 12-13 ปี และจะเปลี่ยนเสียงอย่างเต็มที่ ในช่วงอายุ 15-16 ปี แต่ถ้าหากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายของเด็กนั้น มีสูงมาก ก็อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนของเสียงอย่างรวดเร็วได้ โดยเด็กจะเลิกมีอาการเสียงแตก เมื่อร่างกายได้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อย่างเต็มที่ ซึ่งจะหายไปภายใน 2-3 ปี นั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการเด็กวัย 10-12 เดือน และเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการตามวัย
เสียงของเด็กจะทุ่มต่ำลงมากแค่ไหน
เสียงของเด็กแต่ละคนจะทุ่มต่ำมากขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของเด็กแต่ละคน และขนาดของกล่องเสียง ความกว้าง และความหนาของกล่องเสียงนั่นเอง ซึ่งหากกล่องเสียงของเด็กเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะสามารถง่ายต่อการควบคุมเสียงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การแตกของเสียในเด็กแต่ละคน ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และร่างกายของเด็กเอง ซึ่งจะเริ่มเปลี่ยนแปลงยาวนาน หรือรวดเร็วมากเพียงใด แต่สุดท้ายอาการเสียงแตกก็จะหายไป เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่นอย่างเต็มที่
วิธีรับมือการเปลี่ยนแปลงของเสียง
เมื่อเริ่มมีอาการเสียงแตก เด็กวัยแรกรุ่นหลายคนจึงอาจรู้สึกเครียด และกังวล แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ ต้องอธิบายให้ลูกได้เข้าใจถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนี้ให้มากขึ้น และอธิบายให้พวกเขาได้รู้ว่าอาการเสียงแตกจะหายไปเมื่อร่างกายของเด็กโตเต็มวัย เพื่อให้ลูกได้พร้อมรับมือสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ โดยวิธีรับมือสำหรับการเปลี่ยนของเสียง มีดังนี้
- ดื่มน้ำให้ครบ 8 แก้ว : การดื่มในปริมาณที่มากอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน ช่วยให้คอของเด็ก ชุ่มชื้นขึ้น และยังดีต่อสุขภาพร่างกายด้วย แม้ว่าลูกจะเริ่มมีอาการของเสียงแตก ให้พวกเขาพยายามดื่มน้ำที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง เพราะการดื่มน้ำเย็นจัด จะทำให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อกล่องเสียงไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้มากเท่าที่ควร
- พยายามไม่ตะโกน หรือส่งเสียงดัง : หากรู้สึกว่าเสียงของเด็กเริ่มแหบ ให้พยายามหลีกเลี่ยงการตะโกน หรือร้องเสียงดัง เพราะนั่นเป็นส่วนหนึ่งของการอาการเสียงแตกนั่นเอง หลีกเลี่ยงการส่งเสียงดัง และการตะโกนร้อง ให้ลูกพยายามพูดในระดับเสียงปกติ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงเสียงของตัวเองได้เร็วขึ้น
- วอร์มเสียงเบา ๆ : การวอร์มเสียงสามารถช่วยให้บรรเทาเสียงของลูก ให้หายจากอาการเสียงแตกได้ ฝึกให้เด็กวอร์มเสียงด้วยการร้องเพลงเบา ๆ ซึ่งจะช่วยพวกเขา รู้จักการวิธีการร้องเพลง หรือพูดในที่สาธารณะ ได้เป็นเวลานานมากยิ่งขึ้น
- ฝึกควบคุมลมหายใจ : เชื่อไหมคะ ว่าการฝึกหายใจ ช่วยให้ลูกได้ควบคุมระดับเสียง การไหลเวียนของอากาศ และยังเป็นการฝึกให้ปอดแข็งแรงได้ การฝึกควบคุมลมหายใจดังกล่าว สามารถช่วยให้ลูกพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของเสียง และช่วยฝึกปอดให้แข็งแรงอีกด้วย
- รับประทานยาอม หรือวิตามินที่ช่วยบำรุงเสียง : การรับประทานยาอม หรือวิตามิน ช่วยลดอาการเสียงแหบ หรืออาการเจ็บคอของลูกได้ เนื่องจากใช้งานกล่องเสียงมากเกินไป อาจทำให้พวกเขาเจ็บคอ ดังนั้นการรับประทานยาอม หรือวิตามินบำรุง จึงช่วยให้ลูก บรรเทาอาการเจ็บคอ หรือเสียงแหบได้
- ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ลืมเรื่องอาการเสียงแตกตัวเอง : อีกหนึ่งวิธีในการลดความเครียด หรือความกังวลแก่ลูกได้เป็นอย่างดี คือ การทำใจให้สงบ ฝึกให้เด็กผ่อนคลายก่อนพูด หรือร้องเพลง โดยสามารถให้พวกเขาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เช่น การนั่งสมาธิ การวอร์มเสียง การฟังเพลง หรือการเล่นกีฬาแทนได้ เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาด้านร่างกายแล้ว ยังทำให้พวกเขาคลายความกังวล จากการเปลี่ยนแปลงของเสียงได้ดียิ่งขึ้น
- ปรึกษากับแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ : หากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกไม่สบายใจ ที่ลูกมีอาการเสียงแตก การพบแพทย์ คือวิธีที่ดีที่สุด ที่จะช่วยให้พวกเขาคลายความเครียด และความกังวลใจได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษากับคุณหมอ เพื่อให้ลูกได้รู้จักวิธีบำรุงเสียง และวิธีรับมือกับอาการเสียงแตกได้เช่นกัน
- ฝึกใช้เสียงกับโค้ชเพลง : วิธีสุดท้าย คือ การให้ลูกฝึกใช้เสียงกับโค้ชเพลง เมื่อลูกกำลังเปลี่ยนแปลงเสียง หรือเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทำให้บางครั้งพวกเขา รู้สึกไม่คุ้นชินกับเสียงตัวเอง ดังนั้นการเรียนกับโค้ชเพลง จะช่วยให้เขารู้จักวิธีการรับมือกับเสียงของตัวเองได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการร้องเพลง หรือการพูดในที่สาธารณะ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้สามารถปรับระดับเสียงของตัวได้ และยังรู้จักวิธีการรักษา และบำรุงเส้นเสียง หรือกล่องเสียงอีกด้วย
เสียงแตก เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็ก ที่ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน จะพัฒนาร่างกายและเสียงของเรา ให้พร้อมเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หากลูกมีความเครียด หรือความกังวล คุณพ่อคุณแม่ควรให้คำปรึกษา และอธิบายให้ลูกเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่า คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ความรู้ คำปรึกษาแก่พวกเขาได้ เพื่อให้เขาเกิดความสบายใจ และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนั่นเอง
บทความอื่น ๆ ทีน่าสนใจ :
รับมืออย่างไรเมื่อลูกแตกเนื้อหนุ่ม เนื้อสาว
หนวดเคราขึ้นครั้งแรก เราควรทำอย่างไร? มาดูไปพร้อมกัน
ประจำเดือนครั้งแรกของลูก ควรทำยังไง? สิ่งที่แม่ต้องรู้และควรรับมือ
ที่มาข้อมูล :kidshealth, verywellfamily, healthline
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!