เด็กประถมรุมตบเพื่อน จนเลือดกำเดาไหล คลิปว่อนเน็ต!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิปวิดีโอความรุนแรงในโรงเรียนถูกเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย แสดงให้เห็นนักเรียนหญิงชั้น ป.6 ถูกเพื่อนร่วมห้องรังแกและทำร้ายร่างกายจนเลือดกำเดาไหล เหตุการณ์ เด็กประถมรุมตบเพื่อน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อพฤติกรรมนักเรียนที่ก่อเหตุ และตั้งคำถามถึงการดูแลเอาใจใส่ของครูและผู้เกี่ยวข้อง

 

คลิปวิดีโอที่เผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย เด็กประถมรุมตบเพื่อน 

คลิปแรก หญิงสาวนั่งอยู่ที่โต๊ะเรียนตามปกติ เพื่อนร่วมห้องคนหนึ่งโยนกล่องสีใส่เธอแต่ไม่มีใครเข้ามาช่วยเหลือ มีเพียงเสียงหัวเราะและเสียงปรบมือจากเพื่อนร่วมชั้น คลิปต่อมา เด็กหญิงคนเดิมถูกเพื่อนร่วมห้องตบหน้าจนเลือดกำเดาไหลอีกครั้ง เธอพยายามใช้แขนเสื้อเช็ดเลือด มีเพียงเพื่อนบางคนที่แสดงความเป็นห่วงและหาทิชชูให้

เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตกใจและข้องใจให้กับชาวเน็ตเป็นอย่างมาก หลายคนตั้งคำถามถึงพฤติกรรมนักเรียนที่ก่อเหตุว่ารุนแรงเกินไป แสดงถึงความไร้ซึ่งความเห็นอกเห็นใจ และควรได้รับการลงโทษอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ ยังมีการตั้งคำถามถึงการดูแลเอาใจใส่ของครูและผู้เกี่ยวข้อง ว่าเหตุการณ์รุนแรงเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นในโรงเรียนได้อย่างไร ทำไมครูถึงไม่เข้ามาห้ามปรามหรือช่วยเหลือเด็กหญิงที่ถูกทำร้าย

ทั้งนี้มีเพจดังหลายแห่ง นำคลิปนี้มาแชร์ต่อ พร้อมวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของนักเรียนที่รังแกเพื่อน และเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ และจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลว่าทางโรงเรียนหรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาธิการจังหวัด (สพฐ.) ทราบเรื่องนี้แล้วหรือยัง

ที่มา: RedSkull, news.ch7.com

 

รูปภาพจาก: RedSkull

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุที่เด็กมีพฤติกรรมกลั่นแกล้งเพื่อน

เด็ก ๆ มีพฤติกรรมกลั่นแกล้งเพื่อนด้วยเหตุผลหลากหลาย  เข้าใจกระบวนการคิดของพวกเขาก็จะช่วยให้เราสามารถแก้ไขและส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของเด็กได้อย่างเหมาะสม 

  • เรียกร้องความสนใจเด็กบางคนอาจกลั่นแกล้งเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้อื่น อาจรู้สึกเหงาหรือต้องการสร้างความสัมพันธ์ พฤติกรรมนี้สะท้อนถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในการเชื่อมต่อกับผู้อื่น 
  • ลองอำนาจ เด็กบางคนใช้การกลั่นแกล้งเพื่อทดสอบอำนาจและควบคุมผู้อื่น เป็นการฝึกฝนทักษะการเป็นผู้นำและการต่อสู้ พฤติกรรมนี้สะท้อนถึงความต้องการที่จะรู้สึกเข้มแข็งและมีพลัง
  • เรียนรู้ทักษะสังคม เด็กอาจเรียนรู้วิธีการสื่อสารและเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นผ่านการกลั่นแกล้ง  แม้จะไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสม แต่สะท้อนถึงความพยายามของเด็กในการเข้าใจโลกของสังคม 
  • แสดงออกทางอารมณ์ เด็กบางคนใช้การกลั่นแกล้งเพื่อแสดงออกถึงอารมณ์ที่ซับซ้อน เช่น ความโกรธ ความหึงหวง หรือความเศร้า ซึ่งเด็กอาจยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์เหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม 

โดยผลกระทบของการกลั่นแกล้งส่งผลเสียต่อทั้งผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ เด็กที่ถูกกลั่นแกล้งอาจมีปัญหาทางอารมณ์ ความวิตกกังวล ซึมเศร้า สูญเสียความมั่นใจ ในขณะที่เด็กที่กระทำอาจเรียนรู้พฤติกรรมรุนแรง ขาดความเห็นอกเห็นใจ และมีปัญหาในการเข้าสังคม

บทความที่น่าสนใจ: หยุด Bully เพราะเรื่องที่เกิดเป็นปมในใจ ไม่ใช่เรื่องน่าขำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน ทำอย่างไรดี

สิ่งสำคัญอันดับแรกเมื่อทราบว่าลูกของคุณถูกกลั่นแกล้งคือการใจเย็น ๆ และรับฟังลูกอย่างตั้งใจ การรับฟังที่ดีจะช่วยให้ลูกของคุณรู้สึกว่าเขามีคนที่เข้าใจและสนับสนุนอยู่ข้าง ๆ พยายามให้ลูกเล่ารายละเอียดทั้งหมดว่าเกิดอะไรขึ้น ที่ไหน เมื่อไหร่ ใครเป็นคนทำ และทำอะไรกับลูก ลูกมีปฏิกิริยาอย่างไร การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจสถานการณ์อย่างละเอียดและสามารถจัดการปัญหาได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ควรจดบันทึกหรือถามคำถามเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของสถานการณ์ทั้งหมด เมื่อทราบข้อมูลทั้งหมดแล้ว คุณควรพิจารณาดำเนินการ ต่อไปนี้

  • ติดต่อทางโรงเรียน

คุณควรแจ้งเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับครูประจำชั้น อาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้บริหารโรงเรียน ทางโรงเรียนมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลความปลอดภัยของนักเรียน และจะต้องดำเนินการสอบสวน หาสาเหตุ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การแจ้งเรื่องนี้ให้โรงเรียนทราบเป็นการทำให้ทางโรงเรียนตระหนักถึงปัญหาและสามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อปกป้องนักเรียน

  • รวบรวมหลักฐาน

หากลูกของคุณมีรอยช้ำ รอยฟกช้ำ หรือหลักฐานอื่น ๆ ควรถ่ายรูปเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบ การมีหลักฐานชัดเจนจะช่วยให้คุณมีข้อมูลที่ชัดเจนในการติดต่อกับผู้เกี่ยวข้องและช่วยให้กระบวนการสอบสวนดำเนินไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น หรือหากมีคลิปเสียงหรือวิดีโอก็จะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ง่ายขึ้นเช่นกัน 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • สอนลูกวิธีรับมือ

การฝึกให้ลูกกล้าหาญ มั่นใจ รู้จักปฏิเสธ และบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ เป็นการเตรียมลูกให้พร้อมในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยากลำบาก นอกจากนี้ยังควรสอนให้ลูกพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการถูกกลั่นแกล้ง และฝึกให้รู้จักวิธีการป้องกันตัวเอง การเตรียมตัวในลักษณะนี้จะช่วยให้ลูกของคุณมีความมั่นใจและสามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

หากสถานการณ์รุนแรง หรือลูกของคุณได้รับผลกระทบทางจิตใจมาก คุณควรพาลูกไปพบนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อรับคำปรึกษาและการรักษา ผู้เชี่ยวชาญจะมีเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมในการช่วยลูกของคุณฟื้นฟูสภาพจิตใจและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยสามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ให้คำปรึกษาและส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือติดต่อศูนย์ช่วยเหลือเด็กและครอบครัว ให้คำปรึกษาและสนับสนุนเด็กและครอบครัวที่ประสบปัญหา เว็บไซต์ stopbullying.th.net ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการกลั่นแกล้ง

บทความที่น่าสนใจ: การกลั่นแกล้งกัน ภัยร้ายที่อาจจะนำไปสู่ความตาย ไม่ใช่แค่เรื่องเด็ก ๆ

สอนลูกวิธีรับมือกับการถูกกลั่นแกล้งที่โรงเรียน

การสอนลูกให้รับมือกับการถูกกลั่นแกล้งที่โรงเรียนเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ลูกมีความมั่นใจและรู้วิธีจัดการสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เราจึงได้รวบรวมวิธีสอนลูกวิธีรับมือกับการถูกกลั่นแกล้งที่โรงเรียนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ให้แล้ว ที่นี่ 

 

  • เปิดรับฟังและพูดคุย

เริ่มต้นด้วยการสร้างบรรยากาศที่ลูกสามารถพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ได้โดยไม่รู้สึกกลัวหรืออาย ให้ลูกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน รวมถึงความรู้สึกของเขาเมื่อถูกกลั่นแกล้ง คุณควรรับฟังอย่างตั้งใจ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ทำให้ลูกของคุณสามารถพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ได้โดยไม่รู้สึกกลัวหรืออาย ให้ลูกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน 

 

 

  • สอนให้รู้จักปฏิเสธ

การสอนให้ปฏิเสธและยืนหยัดในสิทธิของตนเอง สอนลูกน้อยของคุณให้รู้ว่าการถูกกลั่นแกล้งไม่ใช่สิ่งที่ต้องยอมรับ ไม่ใช่เรื่องปกติที่ใครก็ทำกัน และให้ลูกของคุณเรียนรู้ที่จะบอกปฏิเสธว่า “ไม่” อย่างมั่นคงและสุภาพเมื่อมีคนทำให้รู้สึกไม่ดี การปฏิเสธที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะถูกกลั่นแกล้งซ้ำ 

  • ฝึกการตอบโต้เชิงบวก

ให้ลูกฝึกการตอบโต้ด้วยวิธีที่สุขุมและไม่ใช้ความรุนแรง เช่น การพูดว่า “ขอโทษนะ แต่ฉันไม่ชอบแบบนี้” หรือ “ฉันไม่โอเคกับการทำแบบนี้” การตอบโต้เชิงบวกช่วยลดความตึงเครียดและป้องกันการทำให้สถานการณ์แย่ลง

  • สร้างความมั่นใจในตัวเอง

สอนให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเองและไม่หวาดกลัวเมื่อถูกกลั่นแกล้ง การที่ลูกมีความมั่นใจในตัวเองจะช่วยให้เขามีความกล้าที่จะยืนหยัดและปกป้องตนเอง เพราะความมั่นใจจะช่วยให้เขารู้จักค่าความเป็นตัวตนของตนเอง ลูกจะไม่ประพฤติตนต่อผู้อื่นอย่างไม่เหมาะสม หรือตกใจง่ายเมื่อเจอกับการถูกกลั่นแกล้ง 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

  • สอนการขอความช่วยเหลือ

สอนลูกว่าไม่ผิดที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่นเมื่อตนเองถูกกลั่นแกล้ง ให้ลูกรู้ว่ามีคนที่พร้อมจะช่วยเขาเสมอ และการขอความช่วยเหลือไม่ได้แปลว่าเขาอ่อนแอ แต่เป็นการแสดงถึงความกล้าและความฉลาด

  • ให้การสนับสนุนพวกเขา

การสนับสนุนลูกน้อยของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกันทุกวัน การสังเกตการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมหรืออารมณ์ของลูก และการให้กำลังใจในการเผชิญหน้ากับปัญหา รวมถึงการขอความร่วมมือกับครู ผู้ปกครองคนอื่น ๆ และเจ้าหน้าที่โรงเรียนในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นมิตร ให้ลูกรู้ว่ามีคนที่พร้อมจะสนับสนุนและปกป้องเขา

 

สุดท้ายแล้วการกลั่นแกล้ง เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อเด็กทั้งสองฝ่าย ความเข้าใจ การแก้ไข และการส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม จะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข มีความรับผิดชอบ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติ

 

ที่มา: istrong.co, club.b2s.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

เด็กถูกบูลลี่ จนอยากฆ่าตัวตาย ร้องขอเชือกจากแม่ หลังถูกเพื่อนล้อเรื่องรูปร่าง

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกโดนเพื่อนแกล้ง ในวัยอนุบาล

ลูกโดนเพื่อนแกล้ง หรือลูกเป็นคนชอบแกล้งเพื่อนรึเปล่า?

บทความโดย

Siriluck Chanakit