วินาทีชีวิต! ขนมปังติดคอ เด็กน้อย เกือบสิ้นใจ สุดท้ายรอดหวุดหวิด!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การสำลักและอาหารติดคอ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถเคี้ยวและกลืนอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหตุการณ์เหล่านี้อาจสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ปกครองอย่างมาก และอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เหมือนกับข่าวนี้ที่ล่าสุด เกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญ เด็กกิน ขนมปังติดคอ หายใจไม่สะดวก ซึ่งการรู้ถึงสัญญาณเตือน และ วิธีช่วยเหลือเบื้องต้นอาจช่วยชีวิตลูกน้อยของเราได้ทันเวลา วันนี้ทาง theAsianparent จึงจะมาพูดถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการที่อาหารติดคอเด็ก รวมไปถึงวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นที่ผู้ปกครองควรรู้ไว้ค่ะ

ชั่วพริบตา! ขนมปังติดคอ เด็กน้อยหายใจไม่ออก แขนขาเริ่มอ่อนแรง เกือบสิ้นใจ สุดท้ายรอดชีวิตหวุดหวิด

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2567  โลกออนไลน์ลุ้นระทึก เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง นามว่า “เอมอร สีหอม” ได้โพสต์คลิปวิดีโอวินาทีบีบหัวใจ เด็กกินขนมปังติดคอ โดยระบุข้อความว่า “น้องกินขนมปังติดคอโชคดีทีแม่น้องโซเฟียช่วยได้ทัน###น่าสงสารมาก”

 

 

จากคลิปวิดีโอ จะเห็นได้ว่าเด็กน้อยกำลังอยู่ในอาการสำลักขนมปัง ร่างกายเริ่มอ่อนแรง แขนและขาห้อย ผู้ที่เข้าช่วยพยายามอย่างเต็มที่ พยายามอุ้มเด็ก และใช้มือกระแทกบริเวณหน้าอกและท้องเพื่อช่วยให้เศษขนมปังที่ติดคอหลุดออกมา โดยแต่ละวินาทีช่างตึงเครียด เด็กน้อยยิ่งอ่อนแรงลง จนศีรษะเริ่มตกลงมา โชคดีที่รถพยาบาลมาถึงทันเวลา เด็กน้อยได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และนำส่งโรงพยาบาล ล่าสุดทราบมาว่าเด็กปลอดภัยแล้ว

หลังจากคลิปวิดีโอเหตุการณ์เด็กกิน ขนมปังติดคอ ได้เผยแพร่ออกไป ก็ได้กลายเป็น ไวรัลบนโลกออนไลน์ ก่อให้เกิดความวิตกกังวลให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ผู้คนบนโลกออนไลน์ต่างเข้ามาชื่นชมผู้ที่เข้ามาช่วยชีวิตเด็กได้ทัน แต่ในขณะเดียวกัน ประเด็นสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ ความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็น ผู้ปกครอง ครู หรือ พี่เลี้ยง ที่จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์แบบนี้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึ่งล่าสุดทางเจ้าของเฟซบุ๊กก็ได้ออกมาชี้แจงเพิ่มเติมว่า ขณะนี้อาการของเด็กน้อยปลอดภัยแล้ว

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: Khaosod

Facebook: เอมอร สีหอม

 

เมื่ออาหารติดคอลูก ควรทำไง?

การเสียชีวิตจากการ “สำลัก” หรือ “สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ” นั้นพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากเด็กวัยนี้ชอบหยิบของเล่นหรือสิ่งของเล็ก ๆ เข้าปาก ซึ่งถ้าหากผู้ปกครองไม่ทันระวัง หรือขาดความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาจส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม ภัยร้ายนี้สามารถป้องกันได้ โดยผู้ปกครองควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีป้องกันและช่วยเหลือเด็กสำลักอาหาร 

 

สังเกตสัญญาณเตือน เมื่อลูก “อาหารติดคอ”

จากเหตุการณ์ที่เด็ก ขนมปังติดคอ เราสามารถเห็นได้ว่า เด็กน้อยมีอาการอ่อนแรง ศีรษะเริ่มตกลงมา ซึ่งในกรณีนี้เราสามารถเห็นได้ชัดถึงอาการ แต่ในบางกรณีเราอาจไม่สามารถเห็นได้ชัด หรือรับรู้ได้ว่าลูกของเรากำลังมีอาการ อาหารติดคอ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า อาการสำคัญอะไรบ้างที่สามารถบ่งบอกได้ว่าลูกของคุณกำลังสำลักอาหาร

 

 

  • มีอาการสำลัก หรือมีอาการไออย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
  • หายใจไม่ออก หายใจเสียงดังเหมือนคนเป็นโรคหอบหืด หรือหายใจเป็นระยะ
  • พูดไม่มีเสียงออกมา หรือพูดได้ลำบาก
  • หายใจเร็วผิดปกติ

 

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่ออาหารติดคอลูก

สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กปลอดภัยจากการสำลัก คือการที่ผู้ปกครองควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ฝึกฝนทักษะการ “ไฮม์ลิช” และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อช่วยให้เด็กได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที โดยเราสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี

  1. กรณีที่เด็กไม่หมดสติ ให้ตรวจดูอาการทางเดินหายใจอุดกั้น เช่น ร้องไม่มีเสียง ไอไม่ออก
  2. จับตัวเด็กคว่ำ แล้วตบหลัง 5 ครั้ง สลับกับนอนหงาย แล้วกดหน้าอก 5 ครั้ง
  3. ใช้ฝ่ามือรองเพื่อซัพพอร์ตคอเด็กขณะตบหลัง
  4. ทำซ้ำจนสิ่งแปลกปลอมออกมา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เด็กโต

  1. พยายามเข้าข้างหลังเด็กและให้เขานั่งพิงตัวเรา โดยที่เราสามารถอ้อมตัวเด็กเข้าไปได้
  2. รัดกระตุกที่ท้อง เหนือสะดือใต้ลิ้นปี (Abdominal Thrust)
  3. ทำซ้ำจนสิ่งแปลกปลอมออกมา
  4. กรณีหมดสติ ให้ทำปฏิบัติการกู้ชีพ และขอความช่วยเหลือ
    • ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมค่อยดึงเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา
    • ทำการปฏิบัติการชีพจนความช่วยเหลือมาถึง

 

 

หากคุณพ่อคุณแม่ได้ลองปฐมพยาบาลอาหารติดคอเบื้องต้นแล้ว แต่อาหารยังคงไม่หลุดออกจากทางเดินหายใจหรือหากลูกหมดสติไป ควรเริ่มทำการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน CPR และโทรหาสายด่วน 1669 ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป

 

วิธีป้องกันไม่ให้ อาหารติดคอลูก

 

  • เก็บอาหารชิ้นเล็ก ๆ เช่น เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าวโพด ลูกอม ข้าวโพดคั่ว องุ่น ลูกเกด ขนมเยลลี่ ให้พ้นมือเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงการที่เด็กอาจจะหยิบกินโดยที่ไม่ได้อยู่ในสายตาและความดูแลของพ่อแม่
  • ควรสอนให้เด็กเคี้ยวอาหารช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน ไม่กินอาหารขณะนอนราบ รวมถึงไม่ให้พูด หัวเราะ หรือวิ่งเล่นขณะที่มีอาหารอยู่ในปาก
  • ไม่ควรให้เด็กเล็กกินอาหารที่มีลักษณะเป็นเส้น มีขนาดกลมหรือเป็นก้อน ลื่นและแข็ง เช่น ขนมปังชิ้นใหญ่ ๆ ลูกชิ้น ไส้กรอก รวมไปถึงปลาที่มีก้าง เนื้อสัตว์ที่ติดกระดูก และผลไม้ที่มีเม็ดขนาดเล็ก ควรเอาเม็ดออกพร้อมตัดแบ่งเป็นคำเล็กพอที่เด็กจะสามารถเคี้ยวได้ เนื่องจากเม็ดของผลไม้มีความลื่นและมีโอกาสหลุดเข้าหลอดลมได้ง่าย

บทความที่เกี่ยวข้อง: อาหารติดคอ ช่วยลูกอย่างไรดี พ่อแม่ควรรู้ไว้ อย่ารอให้สายเกินไป 

เหตุการณ์เด็ก ขนมปังติดคอ นี้สะท้อนให้เห็นถึงอันตรายของการสำลักอาหาร โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่ยังไม่สามารถเคี้ยวและกลืนอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขนมปัง เป็นหนึ่งในอาหารที่เด็ก ๆ มักนิยมทาน แต่มีความเสี่ยงสูงต่อการสำลัก เพราะสามารถจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายอย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะขณะรับประทานอาหาร เลือกอาหารให้เหมาะสมกับวัย ตัดอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ และสอนให้เด็กเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน ที่สำคัญ ควรเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือเด็กสำลักอาหารเบื้องต้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน

 

ที่มา: Samitivej, Paolo Hospital, Chulalongkorn Hospital

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกสำลักนมจนเสียชีวิต เกิดขึ้นได้อย่างไร

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น กับ 5 อาการที่เกิดบ่อยของลูกวัยซน

ก้างติดคอ ทําไง ก้างปลาติดคอ ก้างติดคอลูก วิธีแก้ทำอย่างไร เอาแมวมาเขี่ยคอ ดื่มน้ำมะนาว หรือกลืนข้าวคำโต

บทความโดย

samita