ความรุนแรงในโรงเรียน เป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนทั่วโลก ปัญหานี้มีหลายรูปแบบ เช่น การกลั่นแกล้ง การทำร้ายร่างกาย และการคุกคามทางเพศ เหมือนกับล่าสุดที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนที่น่าสลดใจเกิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อนักเรียนมัธยมต้นสองคนบังคับให้เพื่อน ดื่มน้ำต้มเดือด จนได้รับบาดเจ็บสาหัส เหตุการณ์นี้สร้างความโกรธแค้นให้กับชาวเน็ตในประเทศจีนและจุดประเด็นเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนที่ยังคงฝังรากลึกและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
โหดเหี้ยม! เด็กนักเรียนมัธยมชาวจีน บังคับให้เพื่อน ดื่มน้ำต้มเดือด แผลพุพองไปทั้งตัว!
เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีรายงานข่าวจากประเทศจีน มณฑล เหอเป่ย เมื่อนักเรียนชายคนหนึ่ง ที่กำลังศึกษาอยู่ที่ชั้นมัธยมต้น ถูกเพื่อนร่วมชั้นสองคนบังคับให้ ดื่มน้ำต้มเดือด ทำให้เกิดแผลไหม้ในหลายส่วนของร่างกาย
จากการสอบสวน เบื้องต้นพบว่า เด็กชายถิว (นามสมมุติ) มีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมชั้นอีกสองคนคือเด็กชาย หลิว และ ฮัก (นามสมมุติ) มาสักระยะหนึ่งแล้ว จู่ ๆ วันหนึ่ง ด.ช. หลิว และ ฮัก เห็นว่า ด.ช. ถิว อยู่ตัวคนเดียว ทั้งคู่จึงได้รวมหัวกันล็อคตัว ด.ช. ถิว และ เอา น้ำต้มเดือด มาเทใส่ปากเขาแล้วบังคับให้ดื่มลงไป ด.ช. ถิว ดิ้นรนด้วยความทรมานจนสุดท้ายเกิดแผลพุพองอย่างรุนแรงทั่วร่างกาย ทั้งปาก บนใบหน้าและหน้าอกของเขา
จนกระทั่งครูคนหนึ่งได้ผ่านมาเห็นเหตุการณ์ ทางโรงเรียนจึงได้รีบนำตัวเด็กชายส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาทันที หลังจากเข้ารับการรักษาฉุกเฉินนานกว่าหนึ่งสัปดาห์ ด.ช. ถิว ก็ได้ออกจากโรงพยาบาล และได้กลับบ้านไปพักฟื้นเป็นที่เรียบร้อย เบื้องต้นยังคงต้องรอติดตามอาการกันต่อไป
เรื่องราวนี้ได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วประเทศจีน ทางตำรวจท้องที่ จึงประกาศการสอบสวนกับเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด ซึ่งทางโรงเรียนได้ออกมาชี้แจ้งว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการ “ทะเลาะวิวาท” ของนักเรียน โดยไม่ได้ยืนยันว่านี่คือการกลั่นแกล้งในโรงเรียน และการลงโทษสำหรับนักเรียนสองคน ก็ไม่ได้ระบุไว้เช่นกัน ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะการแก้ไขสถานการณ์แบบนี้ไม่ได้ทำให้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนลดลงเลย
ผู้คนบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก แสดงถึงความไม่พอใจกับเหตุการณ์นี้ ซึ่งนี่ไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีรายงานข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงในโรงเรียนหลายครั้ง เหตุการณ์เหล่านี้สร้างความกังวลให้กับผู้ปกครอง ครู และนักเรียน เกี่ยวกับความปลอดภัยในโรงเรียน ทำให้ผู้คนต่างพากันออกมาเรียกร้องขอความยุติธรรม ให้กับ ด.ช.ถิว ให้มีการลงโทษอย่างเข้มงวดเพื่อเป็นการยับยั้งปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มา: VTC News
สาเหตุของ ความรุนแรงในโรงเรียน
สาเหตุของปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนนั้น ไม่ได้มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่เด็กที่เป็นผู้กระทำความรุนแรง มักเผชิญกับแรงกดดันจากคนรอบข้าง ซึ่งอาจมาจากหลายแง่มุม ดังนี้
1) ครอบครัว
- ความรุนแรงภายในครอบครัว
- การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
- ขาดการอบรมสั่งสอน
- ขาดความอบอุ่น
- ปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
2) สังคม
- การถูกกลั่นแกล้ง
- การถูกกดดันจากเพื่อน
- การถูกเลือกปฏิบัติ
- สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความรุนแรง
3) ปัจจัยส่วนตัว
- พฤติกรรม
- บุคลิกภาพ
- ภาวะสุขภาพจิต
- การใช้สารเสพติด
- ฐานะครอบครัว
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เด็กไม่มีวุฒิภาวะมากพอที่จะตัดสินใจในหลาย ๆ เรื่อง และทำให้แสดงพฤติกรรมความรุนแรงต่อผู้อื่นได้ โดยเข้าใจว่าความรุนแรงอาจช่วยปกป้องตัวเองหรือช่วยให้ตัวเองเป็นที่รักและเป็นจุดสนใจมากขึ้นได้ค่ะ
สัญญาณที่บ่งบอกถึงความรุนแรงในโรงเรียน
มาดูกันค่ะ สัญญาณเตือนอะไรบ้าง ที่บ่งบอกว่าลูกของคุณอาจตกเป็นเหยื่อ หรือเป็นผู้กระทำความรุนแรงในโรงเรียน โดยเราสามารถแบ่ง สัญญาณเตือน หรือ Warning signs ได้ออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ค่ะ
1) สัญญาณเตือนล่วงหน้า (Early Warning Signs)
- ลูกเริ่มมีอาการที่แสดงออกทางคำพูด สีหน้า และท่าทางที่ไม่อยากเข้าสังคม เริ่มอยากอยู่คนเดียว ไม่อยากไปโรงเรียน
- เด็กเคยมีประสบการณ์จากการถูกข่มขู่ หรือถูกรังแกมาก่อน
- ถูกเพื่อนปฏิเสธในการเข้ากลุ่มอย่างเห็นได้ชัด
- เด็กบางคนที่ผลการเรียนดีมาตลอด แล้วจู่ ๆ มีผลการเรียนที่แย่ลงอย่างต่อเนื่อง
- เด็กเริ่มวาดภาพหรือใช้สีที่แสดงออกถึงความรุนแรง ความโกรธที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากแรงกดของสีหรือปากกา มีการวาดภาพอาวุธ วาดภาพที่ใช้สีโทนสีแดง สีดำ มากกว่าปกติ เป็นต้น
- เริ่มมีการละเลยกิจวัตรประจำวัน เช่น ตื่นสาย เริ่มไม่อยากรับประทานอาหารเช้า เริ่มนอนดึก เป็นต้น
- ลูกเข้าถึงกลุ่มเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- เริ่มมีการใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ รวมไปถึงอาวุธต่างๆ อย่างไม่เหมาะสม เช่น ปืน หรือมีด
- เริ่มไม่ฟังและปิดรับความคิดเห็นของคนอื่นที่แตกต่างกับตนเอง
*หมายเหตุ: วิธีการสังเกตเหล่านี้ แม่ ๆ ต้องพิจารณาสัญญาณจากหลาย ๆ ข้อรวมกัน รวมไปถึงระยะเวลาและระดับความรุนแรงของพฤติกรรม เช่น เกิดขึ้นบ่อยไหม หรือเกิดขึ้นในลักษณะที่แย่ลงกว่าเดิมหรือไม่
บทความที่เกี่ยวข้อง: เลี้ยงลูกยุคใหม่ ต้องไม่ตี วิจัยเผย ยิ่งตีลูกยิ่งทําให้ลูกคิดไม่เป็น ลูกเป็นซึมเศร้า
2) สัญญาณเตือนที่ใกล้จะเกิดขึ้น (Imminent Warning Signs)
สัญญาณเตือนประเภทนี้คือการที่เด็กเริ่มมีอาการพฤติกรรม หรือ แสดงออกไปในทางที่รุนแรงอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยสัญญาณเตือนชนิดนี้ มักเป็นพฤติกรรมที่เปิดเผย รุนแรง แสดงท่าทีว่าเป็นศัตรู หรือคุกคามโดยมีเป้าหมายชัดเจน ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่เด็ก ๆ จะต้องได้รับการดูแล หรือรักษาให้ดี
- ทะเลาะวิวาททางร่างกายอย่างรุนแรงกับเพื่อนฝูงหรือสมาชิกในครอบครัว
- ทำลายทรัพย์สินอย่างรุนแรง
- แสดงความโกรธอย่างรุนแรงกับเรื่องเล็กน้อยๆ เช่น การชกต่อยเมื่อเล่นกีฬาแพ้ หรือแสดงอาการก้าวร้าวเมื่อถูกครูตักเตือน
- มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองอื่นๆ หรือการขู่ว่าจะฆ่าตัวตาย
- มีความตั้งใจที่จะคุกคามชีวิตของผู้อื่น เช่น การวางแผนโดยละเอียด (เวลา สถานที่ และวิธีการ) เพื่อทำร้ายหรือฆ่าผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเด็กคนนั้นเคยมีประวัติทำร้ายร่างกายผู้อื่น
- ครอบครอง และ/หรือ ใช้อาวุธปืนและอาวุธอื่นๆ
*หมายเหตุ: เมื่อเห็นสัญญาณเตือนใดสัญญาณหนึ่งในลิสต์นี้ สิ่งแรกที่ควรนึกถึง คือ การรักษาความปลอดภัยให้แก่ตัวเองและเด็ก ๆ คนอื่น ซึ่งจะต้องดำเนินการทันที เช่น การประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญ หรือนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เด็ก ให้มาพูดคุยกับตัวเด็ก และทำการแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
ที่มา: Guidance Hub, Hello คุณหมอ
จากเหตุการณ์เด็กนักเรียนบังคับเพื่อน ดื่มน้ำต้มเดือด ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากไม่แม้แต่ในสังคมประเทศจีน แต่รวมไปถึงทุกที่ทั่วโลก ซึ่งการจะทำให้ลูกน้อยของเราห่างไกลจากปัญหาเหล่านี้จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น ผู้ปกครอง ครู นักเรียน และสังคม จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรง การจัดฝึกอบรมให้กับครูและนักเรียนเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความรุนแรง และการสร้างบรรยากาศในโรงเรียนที่ปลอดภัยและอบอุ่น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ใจสลาย! หนูน้อยวัย 8 เดือน เสียชีวิตกะทันหัน แพทย์ชี้สาเหตุจากการ เคี้ยวข้าวป้อนลูก
แพทย์เตือน! ขอบตาแพะ อันตราย เสี่ยงติดเชื้อ มดลูกอักเสบ
เดือดทั้งโซเชียล! พี่เลี้ยงเด็ก ทำร้ายลูกน้อย 3 ขวบ ตาปูด แม่ร่ำไห้แทบขาดใจ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!