เช็กด่วน! เยลลี่องุ่นเคียวโฮ ไม่มีฉลากไทย ขายเกลื่อนออนไลน์ เสี่ยงอันตราย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เยลลี่องุ่นเคียวโฮ เป็นขนมญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะด้วยรสชาติที่อร่อย ฉ่ำน้ำ และมีความหวานเฉพาะตัว จึงเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน โดยเฉพาะเด็ก ๆ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทาง อย. ได้ออกมาเตือนผู้ปกครองว่ามีเยลลี่องุ่นเคียวโฮ ที่ไม่มีฉลาก ขายเกลื่อนในออนไลน์ และยังพบว่าวางขายใกล้บริเวณโรงเรียนอีกด้วย ซึ่งหากรับประทานเข้าไปก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

 

อย. เตือน เยลลี่องุ่นเคียวโฮ ไม่มีฉลาก ขายเกลื่อนในออนไลน์

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกมาเปิดเผยว่า พบขนมลอกเลียนแบบเยลลี่องุ่นที่จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งได้มีการรีวิวในโลกออนไลน์จำนวนมาก และยังเป็นเยลลี่ที่บรรจุในถุงคล้ายกับถุงมือยางหรือลูกโป่งมัดเป็นลูกกลม

วิธีรับประทานจะใช้ไม้จิ้มฟันปลายแหลมจิ้มถุงแตกออก แล้วค่อยรับประทานเยลลี่ที่อยู่ด้านใน ซึ่งมักจะรู้จักกันในชื่อ “เยลลี่องุ่นเคียวโฮ” มีหลากหลายรสชาติ แต่ไม่มีฉลาก และเลขที่ อย. ซึ่งพบว่ามีการจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ และวางขายบริเวณใกล้โรงเรียน ขอเตือนว่าไม่ควรซื้อมารับประทาน

  1. อาจมีการลักลอบนำเข้า หรือผลิตเพื่อขายในสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่มีฉลาก และไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร อาจเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น สี วัตถุกันเสีย วัตถุแต่งกลิ่น หรือเกินปริมาณที่กำหนด
  2. ใช้ถุงมือยางหรือภาชนะที่ไม่ได้บรรจุอาหาร เสี่ยงปนเปื้อนสารเคลือบวัตถุหรือวัสดุที่อาจหลุดลอกจนปนเปื้อนสู่อาหาร
  3. เป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก อาจทำให้ติดคอจากเศษของบรรจุภัณฑ์ที่หลุดอยู่กับเยลลี่ หรือขนาดของเยลลี่ไม่ได้มาตรฐาน

ในกรณีที่ผลิตเพื่อขายต่อให้ผู้ซื้อโดยตรง ผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลของส่วนประกอบ วิธีการผลิต และคำแนะนำในการบริโภคให้แก่ผู้ซื้อได้ โดยจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีฉลาก แต่หากมีการบรรจุอาหารในถุงมือยาง หรือใส่บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้บรรจุอาหาร ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในกรณีที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขายสถานที่ต่าง ๆ หากไม่มีฉลาก จะมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท

บทความที่เกี่ยวข้อง : ของหวานสุดสยอง! เยลลี่ลูกตา ลูกสาวแอบแม่กิน 1 คำ เป็นลำไส้อักเสบรุนแรง

 

ขอบคุณรูปภาพจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทั้งนี้ อย. ได้แจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช) เพื่อขอความร่วมมือในการเฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เยลลีองุ่นเคียวโฮ ที่กำลังเป็นกระแสแพร่หลาย อยู่ในกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจกระทบต่อสุขภาพอนามัยของเด็กนักเรียน

 

รองเลขาธิการฯ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ขนมเยลลีที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือผลิต จะต้องมีฉลากภาษาไทย มีเลข อย. ส่วนประกอบหรือส่วนผสม ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตและผู้นำเข้า วันเดือนปีที่หมดอายุ น้ำหนักหรือปริมาตรสุทธิ ข้อมูลวัตถุแต่งกลิ่นรส และวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ เช่น สี และวัตถุกันเสีย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กรณีที่เยลลี่ผลิตเพื่อขายต่อผู้ซื้อโดยตรง ควรเลือกร้านที่สะอาด มีภาชนะบรรจุอาหารเท่านั้น และไม่ควรให้ลูกรับประทานเป็นประจำ เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรคอ้วนหรือฟันผุได้ ควรให้ลูกรับประทานอาหารที่หลากหลายในปริมาณที่พอเหมาะ รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง

 

หากสงสัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือมีข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถสอบถามหรือร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือ  E-mail: 1556@fda.moph.go.th และตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11004

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินปีโป้ เยลลี่ได้ไหม ของหวานยอดฮิต แต่โทษยอดฮอต

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขอบคุณรูปภาพจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

 

รู้จักขนมเยลลี่องุ่นเคียวโฮ

เยลลี่องุ่นเคียวโฮ (Kyoho Grape Jelly) เป็นขนมญี่ปุ่นยอดนิยม โดยมีรสชาติขององุ่นเคียวโฮที่เป็นองุ่นสายพันธุ์ชื่อดัง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่ชื่นชอบรับประทานองุ่น และเป็นของฝากยอดนิยมของชาวญี่ปุ่น เพราะขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย ลูกใหญ่ ฉ่ำน้ำ และมีความหวานที่เป็นเอกลักษณ์ และจะมีการคัดเกรดหรือคุณภาพ

หากคุณภาพดี ราคาก็จะสูงตามไปด้วย โดยลักษณะของขนมเยลลี่องุ่นเคียวโฮ จะมีลักษณะเป็นเยลลีลูกใหญ่ จำลองมาจากองุ่นเคียวโฮจริง ๆ มีความหอมหวาน ฉ่ำน้ำ และมีรสชาติคล้ายกับองุ่นเคียวโฮจริง ๆ วิธีการรับประทานขนมนี้ จะใช้ไม้ปลายแหลมหรือไม้จิ้มฟัน จิ้มไปยังตัวเยลลี่ เพื่อให้พลาสติกที่หุ้มเยลลี่ไว้ขาดก่อน และจะได้เนื้อเยลลี่ที่เด้ง หอม หวาน ฉ่ำ พร้อมรับประทาน

 

เด็กเล็กกินเยลลี่ต้องระวัง

คุณพ่อคุณแม่อาจไม่เคยรู้ว่า การรับประทานเยลลี่โดยเฉพาะเด็กเล็ก อาจมีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายได้ ยกตัวอย่างข่าวที่เคยเป็นกระแสอยู่พักหนึ่ง จากการที่เด็กเล็ก 2 ขวบ กินขนมเยลลี่แล้วติดคอ ซึ่งทางรศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับขนมประเภทนี้ว่า เป็นขนมที่อันตราย เพราะการออกแบบของบางยี่ห้อ และการที่เด็ก ๆ ชอบซื้อมารับประทานกันบ่อย ๆ เนื่องจากมีรูปร่างที่น่าทานเป็นพิเศษ เช่น เป็นทรงกลม เป็นตัวการ์ตูน หรือมีขนาดที่ใหญ่ หากมีขนาดที่ใหญ่เกินไป ก็อาจเป็นอันตรายได้

นอกจากนี้ การรับประทานเยลลี่ยังอาจส่งผลเสียต่อเด็ก ๆ เช่น เด็กเล็กที่ยังมีการกลืนไม่สมบูรณ์ ไม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เด็กอาจรับประทานอาหารหลักได้น้อยลง และยังเป็นเศษอาหารติดฟันที่เสี่ยงต่อันตรายได้ หากเด็ก ๆ แปรงฟันได้เองแล้ว เมื่อทำความสะอาดไม่ทั่วถึง ก็อาจทำให้เกิดอาการฟันผุ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกบริโภคแต่น้อย และเลือกรับประทานอาหารหรือขนมที่มีประโยชน์จะดีกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง : อย. เตือนผู้ปกครอง เยลลี่หมีเผ็ดนรก อันตรายห้ามบุตรหลานกินเด็ดขาด!

 

ขอบคุณรูปภาพจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความเสี่ยงของการรับประทานเยลลี่มากเกินไป

การรับประทานเยลลี่มากเกินไป โดยเฉพาะเยลลี่มีส่วนผสมของเจลาติน อาจทำให้ลูกน้อยมีอาการดังนี้

  • ฟันผุ
  • ท้องอืด
  • หนักท้อง
  • ภาวะอ้วน
  • เสี่ยงแพ้เจลาติน
  • อาจติดโรคที่มากับสัตว์ในเจลาติน

 

ถึงแม้เยลลี่องุ่นเคียวโฮจะเป็นขนมที่อร่อย หอมหวาน และเป็นที่ถูกใจสำหรับเด็ก ๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรระมัดระวังในการเลือกซื้อ โดยควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากไทย มีเลข อย. และวางขายอยู่ในร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่ได้มาตรฐาน ก็จะช่วยให้เราสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

แจกสูตรทำเยลลี่ วิธีทำเยลลี่กินเองง่าย ๆ ที่บ้าน เด็ก ๆ ก็ทานได้

10 ยี่ห้อ ขนมขบเคี้ยวเด็ก อร่อยดี มีประโยชน์ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องมีติดบ้านไว้!

เคล็ดลับ เลือก ขนมสำหรับเด็กเล็ก เลือกแบบไหน ไม่ให้ลูกกลายเป็น เด็กติดหวาน

ที่มา : ejan.co, akashithailand.com

บทความโดย

Sittikorn Klanarong