เช็กให้ดี! โรคตาขี้เกียจในเด็ก ตรวจพบเร็ว รักษาได้ ก่อนลูกมองไม่เห็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคตาขี้เกียจในเด็ก เป็นโรคที่มักพบบ่อยในเด็ก โดยที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อาจไม่ทันสังเกต แต่รู้หรือไม่ว่าโรคนี้อาจรุนแรงจนทำให้ลูกน้อยสูญเสียการมองเห็นไปเลยก็ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ยิ่งในช่วงวัยเด็กที่เป็นช่วงเวลาสำคัญของพัฒนาการ หากคุณพ่อคุณแม่รู้ว่าลูกตัวเองมีปัญหาด้านสายตา ก็อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการมองเห็นของลูกน้อยได้

 

โรคตาขี้เกียจในเด็ก ตรวจพบเร็ว รักษาได้ ก่อนลูกมองไม่เห็น

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ทางสำนักข่าวได้สัมภาษณ์แพทย์หญิงณัฐฐิญา ลายลักษณ์ศิริ หรือ หมอเจี๊ยบ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเด็กและตาเข ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลพระรามเก้า ถึงประเด็นของโรคตาขี้เกียจในเด็ก โดยคุณหมอได้อธิบายว่า

 

“โรคตาขี้เกียจ หรือ ตาขี้เกียจ คือ การที่สายตามองไม่ชัด แม้จะทำการแก้ไขค่าสายตา หรือใส่แว่นแล้วก็ตาม ซึ่งสาเหตุของโรคนี้มาจากสมองด้านการมองเห็นที่พัฒนาได้ไม่ดี ซึ่งปกติแล้ว ในช่วงแรกเกิดจนถึง 10 ปีแรก สมองของเด็กจะเติบโตในทุก ๆ ด้าน รวมถึงด้านการมองเห็น หากเด็กคนหนึ่งจะมองเห็นได้อย่างปกติ เด็กจะต้องมองเห็นอย่างชัดเจนเพื่อเรียนรู้ สมองจะรับภาพได้ดี และจะเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์”

 

คุณหมอเจี๊ยบยังได้กล่าวเพิ่มว่า “ในช่วงประมาณ 10 ปีแรก เป็นช่วงที่สมองของเด็กเปราะบาง ทำให้สมองต้องการภาพที่คมชัดซึ่งจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของการมองเห็นได้ตามปกติ หากมีบางอย่างไปกีดขวางการพัฒนาสายตาของเด็กในช่วงนี้ สมองก็จะไม่สามารถพัฒนาระบบการมองเห็นของลูกน้อยให้สมบูรณ์ ส่งผลให้ลูกมองไม่ชัด และเกิดโรคตาขี้เกียจได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นานก็จะทำให้ลูกสูญเสียการมองเห็นในระยะยาว”

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy Eye) เกิดจากอะไร รักษายังไง ลูกเราจะเป็นมั้ย?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจมักเกิดขึ้นในช่วงแรกเกิดจนถึง 10 ปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่สมองเกี่ยวกับมองเห็นกำลังพัฒนาและมีความเปราะบาง โดยสาเหตุหลักของโรคตาขี้เกียจในเด็กนั้น มีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. เกิดจากความผิดปกติของสายตา

เด็กที่มีสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น ยาว เอียง ที่ไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้สมองรับแต่ภาพเบลอ ซึ่งสมองจะรับรู้ว่ามองเห็นชัดสุดได้เท่านี้และไม่พัฒนาต่อ ซึ่งอาจผิดปกติแค่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง อาการเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันสังเกตเลยก็ได้ เพราะเด็ก ๆ จะใช้สายตาข้างที่มองเห็นชัดเป็นหลัก ทำให้เด็กไม่แสดงอาการว่ามองไม่ชัด แต่เมื่อมาพบแพทย์ก็พบว่าสายตาผิดปกติ ต้องทำการรักษา

 

2. เกิดจากตาเข

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเข้าใจว่าโรคตาเข คือ โรคตาขี้เกียจ แต่จริง ๆ แล้ว โรคตาขี้เกียจคืออาการมองเห็นไม่ชัดจากสมองที่พัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ขณะที่โรคตาเข คือ ตาที่มองไม่ตรง อาจเขเข้าหรือเขออก ผู้ที่เป็นโรคตาเข อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคตาขี้เกียจได้ เนื่องจากตาข้างที่เขจะมีพัฒนาการการมองเห็นที่แย่กว่าตาข้างที่ตรง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. เกิดจากการบดบังแสงที่เข้าสู่จอตา

สำหรับสาเหตุนี้อาจพบได้น้อย แต่ก็อาจมีความรุนแรงและรักษาให้หายได้ยากมากที่สุด ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีหนังตาตกมาก จนบังแสงให้เข้าสู่สายตาได้ไม่เต็มที่ หรือเด็กที่มีต้อกระจกก็ถูกบังแสงไม่ได้เข้าสู่ตาได้เหมือนปกติ

 

4. เกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ

นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงในด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดโรคตาขี้เกียจได้ เช่น การคลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีพัฒนาการช้า น้ำหนักตัวน้อยกว่าอายุครรภ์ พันธุกรรม การที่แม่สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคตาในเด็ก และโรคตาของผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงอายุมีอะไรบ้าง

 

 

สังเกตอาการตาขี้เกียจในเด็กอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปตรวจคัดกรองการมองเห็นก่อนเข้าเรียน หรือก่อนเข้าอนุบาล เด็ก ๆ ควรจะได้รับการตรวจสายตาก่อนว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งเด็กที่มีพัฒนาการมองเห็นที่ปกติตามวัยนั้น จะมีพัฒนาการดังนี้

  • เด็กแรกเกิดจนถึง 3 เดือนแรก ควรกะพริบตาตอบสนองต่อแสงจ้าได้
  • เด็กอายุ 3 เดือน ควรเริ่มจ้องมอง และมองหน้าคุณแม่ได้ หรือมองตามสิ่งของหรือของเล่นได้เล็กน้อย
  • เด็กอายุ 6 เดือน การจ้องมองและมองตามสิ่งของจะทำได้ดีมาก แต่หากสายตาเลื่อนลอย ตาลอยไม่สบตา และไม่มองตามการเคลื่อนไหวของสิ่งอาจเป็นภาวะผิดปกติ
  • เด็กที่สื่อสารได้แล้ว อาจบอกคุณพ่อคุณแม่ว่ามองกระดานไม่ชัด ต้องเดินเข้าไปใกล้ ๆ หรือต้องหยีตาเพื่อให้มองเห็นได้ชัด ซึ่งเด็กในวัยนี้ควรไปตรวจคัดกรองเพื่อหาความผิดปกติ
  • หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการตาเข ตาเหล่ หรือตามองไม่ตรง ต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที

 

การวินิจฉัยโรคตาขี้เกียจ

การวินิจฉัยโรคตาขี้เกียจ จักษุแพทย์จะใช้วิธีการตรวจระดับการมองเห็น สำหรับเด็กที่ยังผู้สื่อสารไม่ได้จะมีเทคนิคการตรวจที่แตกต่างกันในแต่ละวัย ขณะที่เด็กที่สื่อสารได้แล้วจะสามารถตรวจระดับการมองเห็นได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นจากสู่แพทย์จะเริ่มหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคตาขี้เกียจ โดยจะตรวจอย่างละเอียดตั้งแต่ลักษณะของเปลือกตา เลนส์ตา กระจกตา จอประสาทตา และค่าสายตา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การรักษาโรคตาขี้เกียจ

การรักษาโรคตาขี้เกียจจะไม่ได้ใช้ยาในการรักษา หากพบว่าตาขี้เกียจมาจากสาเหตุของสายตาสั้น ยาว หรือเอียง อาจจำเป็นต้องใส่แว่นเพื่อดูว่าอาการของโรคตาขี้เกียจอยู่ในระดับไหน ซึ่งวิธีการรักษาส่วนใหญ่นั้น จะใช้วิธีการปิดตาเพื่อรักษา เช่น หากลูกมีอาการตาขี้เกียจข้างซ้าย ก็จะต้องปิดตาด้านขวา เพื่อให้ตาด้านซ้ายที่ขี้เกียจใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ส่วนระยะการรักษาโรคตาขี้เกียจนั้น ถ้าพบว่าลูกมีอาการนี้เร็ว ก็จะรักษาได้เร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ พัฒนาการของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นหากตรวจรักษาได้เร็วตั้งแต่เด็ก ก็จะมีโอกาสของการหายขาดจากโรคนี้ได้มากยิ่งขึ้น

 

รู้หรือไม่ โรคตาขี้เกียจกลับมาเป็นซ้ำได้

แม้ว่าโรคตาขี้เกียจจะสามารถรักษาได้ด้วยการปิดตา แต่หากรักษาไม่ถูกวิธีกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะมีโอกาสของความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นโรคนี้อีกครั้ง ส่วนใหญ่โรคนี้จะตรวจพบในเด็กที่อายุน้อย ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการทางสายตาที่ผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และทำการรักษาตั้งแต่เด็กจากแพทย์อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถหายขาดจากโรคนี้ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

 

 

สายตาสั้นในเด็ก ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยปละละเลย

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า สายตาสั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคตาขี้เกียจในเด็ก โดยมีงานวิจัยที่พบว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ประชากรประมาณครึ่งโรคหรือคิดเป็นประมาณ 50% ของจำนวนประชากรทั้งหมด จะมีความเสี่ยงของภาวะสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ซึ่งก็คือในแถบของประเทศไทย มีประชากรที่สายตาสั้นเป็นอันดับ 2 รองจากเอเชียตะวันออก และคาดว่าจะมีประชากรที่สายตาสั้นมากถึง 70% โดยสถิตินี้ถือเป็นการคาดการณ์ที่มีความน่าเป็นกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กที่สายตาสั้นก็จะมีโอกาสของการเป็นโรคตาขี้เกียจเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกไปตรวจคัดกรองสายตาเป็นอย่างดี หากพบว่าลูกมีสายตาสั้น ยาว หรือสายตาเอียง ควรให้ลูกใส่แว่นก่อนเพื่อช่วยป้องกันโรคตาขี้เกียจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มา : thairath.co.th, bangkokbiznews.com

 

คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจคัดกรองสายตา อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนเข้าเรียน เพื่อดูว่าลูกมีการมองเห็นที่ผิดปกติหรือไม่ หากลูกมีภาวะผิดปกติแพทย์จะได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เพื่อลดการใช้จอของเด็ก อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิดโรคตาขี้เกียจ และยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมาธิสั้นในเด็กอีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

ทำความรู้จัก! การทำเลสิก คืออะไร ตัวช่วยสำหรับคนสายตาสั้น

อาการต้อกระจกเป็นอย่างไร โรคต้อกระจกคืออะไร รวมความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจก

 

บทความโดย

Sittikorn Klanarong