สุดอึ้ง เด็ก 9 ขวบมีนิ่วในท้อง 56 ก้อน หมอเผยสาเหตุมาจากการกิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาที่ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่หนักใจก็คงจะไม่พ้นการที่ลูกเจ็บป่วย และคงไม่มีพ่อแม่คนไหนที่อยากเห็นลูกของตัวเองต้องทรมานจากอาการป่วยไข้ และโรคนิ่วเองก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยทั้งในผู้ใหญ่ และเด็ก ดังเช่นในกรณีของ สุดอึ้ง เด็ก 9 ขวบมีนิ่วในท้อง 56 ก้อน หมอเผยสาเหตุมาจากการกิน

 

สุดอึ้ง เด็ก 9 ขวบมีนิ่วในท้อง 56 ก้อน หมอเผยสาเหตุมาจากการกิน

สมาคมสตรีพยาบาลในประเทศจีน ได้เผยแพร่เคสผู้ป่วยเด็กชายวัย 9 ขวบ ถูกส่งตัวเข้ารักษาด้วยอาการปวดท้องรุนแรง โดยแพทย์วินิจฉัยพบว่าเขามีก้อนนิ่วในไตจึงเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง จึงทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้อง และแพทย์ได้นำนิ่วขนาดต่าง ๆ จำนวนรวม 56 ก้อน ออกจากภายในร่างกายของเด็กชายได้สำเร็จ ตามรายงาน พบว่าโดยก่อนหน้า เด็กชายวัย 9 ขวบมีอาการปวดท้อง แต่ไม่รุนแรงและปวดเพียงไม่กี่วินาที เด็กชายจึงไม่ให้ความสนใจมากนัก จนกระทั่งจู่ ๆ วันหนึ่ง เด็กชายก็ปวดท้องรุนแรงและปัสสาวะเป็นสีเลือด จึงตัดสินใจบอกผู้ปกครอง พ่อแม่ของเด็กตกใจกับอาการป่วยของลูกชายเป็นอย่างมาก เนื่องจากแพทย์ระบุว่า นิ่วในไตเกิดขึ้นเมื่อปัสสาวะเข้มข้น และแร่ธาตุต่าง ๆ เกาะกันเป็นนิ่ว โดยก้อนนิ่วมักมีขนาดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเวลาและระดับของการทับถม และนิ่วในไตมักจะไม่อยู่นิ่งเพียงตำแหน่งเดียว แต่สามารถไหลไปตามการไหลของปัสสาวะ และตกลงไปในท่อไตและกระเพาะปัสสาวะได้

ทางแพทย์ได้กล่าวเสริมว่า สาเหตุที่เด็กมีนิ่วในไตเป็นจำนวนมาก เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการเสริมแคลเซียมและวิตามินดีที่มากเกินไป เป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายมีแคลเซียมส่วนเกิน เกาะติดกันจนแข็งเหมือนหิน ร่วมกับการขาดการออกกำลังกายด้วย เมื่อได้ฟังดังนั้น ผู้เป็นแม่จึงตระหนักรู้ได้ทันทีว่าเป็นความผิดของตัวเอง โดยเธอมักจะตามใจลูกชาย เลี้ยงเขาด้วยอาหารรสเค็มและเน้นเนื้อสัตว์ ตามความชอบของลูกชาย และเธอยังกังวลว่าลูกชายจะเตี้ยกว่าเพื่อนร่วมชั้น จึงให้ทานแคลเซียมเสริมเข้าไปจำนวนมาก ดังนั้นการทานอาหารเสริมที่มากเกินไปเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายมีแคลเซียมส่วนเกินเกาะติดกัน ประกอบกับการไม่ชอบดื่มน้ำและออกกำลังกาย จึงทำให้เด็กชายป่วยเป็นนิ่วในไตได้

โรคนิ่วในไตเกิดจากอะไร ?

ก้อนนิ่วในไตเกิดจากการสะสมของแร่ธาตุแข็งชนิดต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ออกซาเลต ซีสตีน หรือกรดยูริคอยู่ในระดับที่สูง หรือจากการที่ดื่มน้ำน้อยจนเกินไป จนกลายเป็นก้อนแข็งที่มีชนิดและขนาดแตกต่างกัน โดยมักจะพบที่ไตบริเวณกรวยไตและระบบทางเดินปัสสาวะ

บทความที่น่าสนใจ : ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ฉี่น้อย ไม่ฉี่เลยทั้งวัน อั้นฉี่หรือเปล่า ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ?

ไม่อยากเป็นนิ่วในไต ป้องกันอย่างไร?

ถึงแม้ว่าโรคนิ่วในไตจะเป็นโรคที่ไม่รุนแรงและรักษาได้ หากก้อนนิ่วมีขนาดที่เล็ก แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ อาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถป้องกันตัวเองจากการโรคดังกล่าวได้ เพียงแค่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเหล่านี้

บทความที่น่าสนใจ : โรคไตอักเสบ อาการเป็นอย่างไร โรคอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ วันละ 8 แก้ว เพื่อช่วยลดความอิ่มตัวของสารต่าง ๆ ในปัสสาวะ และลดการตกผลึกของนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ห้ามกลั้นปัสสาวะนาน เพราะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการตกผลึกของนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ เพราะมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเกิดนิ่วได้
  • ทานอาหารที่มีไขมันจากพืชและไขมันจากปลา เพราะช่วยลดปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะได้ดีกว่าไขมันที่ได้จากเนื้อสัตว์อื่น ๆ จึงช่วยลดโอกาสเกิดนิ่วซ้ำได้
  • ลดการทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารที่มีรสหวานและเค็มจัด รวมถึงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น หนังสัตว์ปีก ตับ ไต ปลาซาร์ดีน เพราะการทานอาหารประเภทนี้ จะทำให้เพิ่มสารก่อนิ่วและเพิ่มโอกาสการเกิดนิ่วสูงมาก
  • ลดอาหารที่มีสารออกซาเลตสูง เช่น งา ผักโขม ถั่วต่าง ๆ ชา ช็อกโกแลต เพราะออกซาเลตเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดนิ่ว
  • ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงให้มากขึ้น เพราะแคลเซียมในอาหารจะไปจับและยับยั้งการดูดซึมออกซาเลตทางลำไส้และขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ จึงช่วยลดระดับของออกซาเลตในปัสสาวะ ในกรณีที่ทานยาเม็ดแคลเซียมเสริม ควรพร้อมกับอาหาร เพราะการทานยาเม็ดแคลเซียมก่อนนอนจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วสูง
  • เลี่ยงการดื่มกาแฟเข้มข้นติดต่อกันนาน ๆ เพราะจะทำให้แคลเซียมในปัสสาวะสูงขึ้น
  • ลดการดื่มเหล้า เบียร์ หรือไวน์ เพราะจะทำให้ร่างกายขับปัสสาวะมากเกินไป และเกิดภาวะขาดน้ำ
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะจากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินมีโอกาสเป็นนิ่วในไตสูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติ
  • ออกกำลังกายและผ่อนคลายความเครียด ควรออกกำลังกายเป็นเวลา 30 นาทีทุกวัน เช่น การเดิน ซึ่งจะช่วยทำให้นิ่วขนาดเล็กหลุดมาได้เอง
  • พบแพทย์หรือไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการผิดปกติทางปัสสาวะ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ อาการเป็นอย่างไร สาเหตุ การรักษา และวิธีการป้องกัน

โรคนิ่วในไต สังเกตอย่างไร ป้องกันไว้ก่อนไตจะพัง อาการ และวิธีการป้องกัน

โรคนิ่ว ในเด็กเกิดได้อย่างไร และพ่อแม่ควรระวังลูกเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

 

ที่มา : sanook.com, amarintv.com, khaosod.co.th, bangkokhospital.com, medparkhospital.com, medthai.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

watcharin