จากกรณี พ่อแม่ร้องขอความเป็นธรรม เด็ก 1 เดือน ท้องเสีย เข้าโรงพยาบาล จนสุดท้ายถูกตัดเท้า ผ่านทางเพจโหนกระแส โดยติดใจเรื่องการรักษาว่าทำไมลูกต้องตัดเท้า อยากให้โรงพยาบาลออกมาชี้แจงสาเหตุที่ชัดเจน เมื่อทราบว่าเรื่องดังกล่าว ทางโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส ก็ได้ออกมาชี้แจงไทม์ไลน์อย่างละเอียด
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ทางผู้อำนวยการโรงพยาบาลและคณะทีมหัวหน้าพยาบาล ก็ได้ออกมาชี้แจง นพ.พรประสิทธิ กล่าวว่า พ่อแม่ได้พาลูกมารักษาที่โรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน มีอาการท้องเสียเป็นเวลานาน จนวันที่ 24 มิถุนายน โรงพยาบาลได้ส่งเด็กไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพราะเด็กมีเลือดเป็นกรด ต้องเจาะเลือด แต่เนื่องจากเด็กตัวเล็กมาก ไม่สามารถเจาะได้ และทางโรงพยาบาลไม่มีผู้เชี่ยวชาญ จึงได้ปรึกษาพ่อแม่เด็ก แต่พ่อแม่เด็กตัดสินใจส่งรักษาโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ จ.นราธิวาส
หลังออกจาก รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ พ่อแม่ไม่ได้นำลูกเข้ารักษาต่อโรงพยาบาลเอกชน แต่นำเด็กกลับไปนอนพักที่บ้าน 1 คืน และในวันที่ 26 มิถุนายน พ่อแม่ได้พาเด็กไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนที่แจ้งไว้ แต่หมอก็ไม่สามารถรักษาได้ เพราะไม่สามารถเจาะเลือดเด็กได้เช่นเดียวกัน จึงได้ส่งตัวเด็กกลับมารักษาที่ รพ.นราธิวาสราชนครินทร์อีกครั้ง และถ้าไม่เจาะเด็กจะขาดน้ำและทำให้เสียชีวิตได้
จนกระทั่ง วันที่ 27 มิถุนายน รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ ได้ส่งตัวเด็กไปเจาะเลือดที่ รพ.ยะลา เพราะเส้นเลือดดำเริ่มใหญ่และเริ่มตีบ เมื่อเจาะเสร็จ รพ.ยะลา ก็ได้ส่งเด็กกลับมารักษาต่อที่ รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ อีกรอบ และใน วันที่ 29 มิถุนายน ทาง รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ ได้ปรึกษาพ่อแม่เด็กว่าจะส่งตัวไปรักษาที่ รพ.สงขลานครินทร์ แต่พ่อแม่ยังตัดสินใจไม่ได้ จึงเสียเวลาไป 1 วัน จนใน วันที่ 30 มิถุนายน ก็ยอมส่งลูกไปรักษาที่ รพ.สงขลานครินทร์ ตามคำแนะนำของหมอ เพราะทาง รพ.สงขลานครินทร์ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมเส้นเลือดเฉพาะทาง เมื่อแพทย์พบเด็ก จึงได้แจ้งกับพ่อแม่ว่าจำเป็นต้องตัดเท้าด้านขวา เพื่อรักษาชีวิตเด็กไว้
ผอ.รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของเด็กสุดท้ายแล้วก็ต้องมาดูแลต่อเรื่องการฟื้นฟู และทางโรงพยาบาลจะดูแลเต็มที่ ส่วนการเยียวยาก็เป็นไปตามขั้นตอนของสิทธิทุกประการ โรงพยาบาลเองเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นก็จะทบทวนต้นตอ ดูว่าอะไรที่เราจะปรับปรุงได้บ้าง และจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก ซึ่งขั้นตอนนี้เราดำเนินการไปแล้ว แม้ว่าจะดีแล้วแต่จะทำให้สมบูรณ์กว่านี้ไปอีก ส่วนแผนการระยะยาวเราจะสร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ครบทุกๆ ด้าน
ด้าน น.ส. กฤตยา กล่าวว่า พ่อแม่ของเด็กคงสงสัยว่าทำไม เด็ก 1 เดือน ท้องเสีย ถึงเจาะเลือดบ่อยจัง ซึ่งก็เป็นไปอย่างที่ ผอ.เรียนบอกว่าเด็กมีภาวะเลือดเป็นกรด ในการแก้เลือดเป็นกรดหมอจำเป็นต้องให้ยา พร้อมกับคำนวณปริมาณยาจะต้องสอดคล้องกับผลตรวจเลือด โดยเจาะเลือดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อให้หมอคำนวณยาให้ถูกต้อง ฉะนั้นเมื่อให้เลือดนาน เส้นเลือดก็เสีย จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเจาะบ่อย โดยเป็นกระบวนการรักษาในเด็กที่มีอาการค่อนข้างมาก หมอจึงต้องดูผลเลือดประกอบกันหลาย ๆ ตัว
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว เกิดจากสาเหตุใด ดูแลรักษายังไงดี
สีอุจจาระทารก บอกอะไรแม่ได้บ้าง
ในทุก ๆ ครั้งที่ลูกขับถ่าย สีอุจจาระของทารกและลักษณะอุจจาระ สามารถบอกสุขภาพของลูกน้อยได้ สีหรือลักษณะอุจจาระจะเปลี่ยนแปลงได้จากการดื่มนมแม่หรือนมผง และการได้เริ่มกินอาหาร มาดูกันค่ะว่าสีอุจจาระทารกและลักษณะอุจจาระทารกแบบไหนบอกถึงอะไรบ้าง
1. สีเขียว
ลักษณะอุจจาระของทารกหากมีสีเขียว แปลว่าลูกได้รับอาหารเสริมธาตุเหล็ก เช่น ถั่วบด ผักโขม รวมถึงอาหารที่เป็นสีเขียวในมื้ออาหาร อุจจาระทารกประเภทนี้จะพบได้ในเด็กวัย 4 – 6 เดือน หรือเมื่อลูกเริ่มทานอาหารเสริมนั่นเอง
2. สีส้ม สีเหลือง และสีน้ำตาล
เป็นสีอุจจาระทารกที่ถือว่า เป็นสีปกติของเด็กที่กินนมแม่
3. มีเลือดสีดำปนอยู่
สีอุจจาระทารกที่ผิดปกติ และมีคราบเลือดดำปนออกมาด้วย หมายถึง ลูกได้ย่อยเอาเลือดที่ติดอยู่ในน้ำนมแม่จากตรงหัวนมที่เป็นแผล และมีเลือดออกในขณะที่ดูดนมแม่ ลักษณะสีอุจจาระทารกแบบนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย แต่ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจว่าลูกเป็นอะไรหรือเปล่า เผื่อเลือดนั้นมาจากสิ่งอื่นที่ร้ายแรงกว่า
อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่ลูกอุจจาระอยากให้พ่อ ๆ แม่ ๆ สังเกตลักษณะของสีทุก ๆ ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกเรายังสุขภาพแข็งแรงดี และเมื่อไรก็ตามที่พบความผิดปกติ อย่านิ่งนอนใจ ให้พาลูกน้อยเข้าตรวจสุขภาพทันทีค่ะ เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยว่าลูกเป็นอะไรหรือเปล่า
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เด็กท้องเสีย ทำอย่างไรดี? ลูกถ่ายเหลว มีสาเหตุจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?
ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง อาหาร 5 อย่าง บรรเทาอาการทารกท้องเสีย
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
ที่มา :