X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สังคมไร้เงินสด โรงเรียนบังคับใช้แอปฯ จ่ายค่าอาหารแทนเงินสด

15 May, 2023
สังคมไร้เงินสด โรงเรียนบังคับใช้แอปฯ จ่ายค่าอาหารแทนเงินสด

เมื่อวันที่ 15 พ.ค. เพจโหนกระแส ได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครอง โดยระบุว่า ทางโรงเรียนได้มีนโยบายใหม่ บังคับให้เด็กนักเรียนแอปฯของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เพื่อใช้จ่ายแทนเงินสดจ่ายค่าอาหารในโรงเรียน อ้างว่าตอนนี้เป็น สังคมไร้เงินสด ต้องสามารถโอนได้ทุกช่องทาง เมื่อนักเรียนถามทางโรงเรียนว่า ถ้าคนที่ไม่มีมือถือ ไม่มีอินเทอร์เน็ตจะทำอย่างไร โรงเรียนตอบว่า ให้เพื่อนจ่ายไปก่อนแล้วค่อยไปจ่ายเงินสดให้เพื่อน

 

จึงทำให้ผู้ปกครองหลายคนไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ พร้อมกับตั้งคำถามว่า ถ้านักเรียนไม่ใช้มือถือแบบปุ่มกด ก็ต้องเสียเงินเพื่อซื้อมือถือใหม่อยู่ดี ทำให้ต้องเสียเงินค่าอินเทอร์เน็ต และมองว่าเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ปกครองและตัวนักเรียนเอง ซึ่งโรงเรียนจะเปิดเทอมวันที่ 16 พ.ค.นี้ ผู้ปกครองควรทำอย่างไร จึงร้องเรียนมาเพื่อขอให้ตรวจสอบโรงเรียนดังกล่าว
บทความที่เกี่ยวข้อง : Checklist ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดเทอม เรื่องใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

สังคมไร้เงินสด คืออะไร

สังคมไร้เงินสดถือเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมที่จากเดิมเราต้องพกเงินสด ก็ได้เปลี่ยนมาเป็น “สังคมไร้เงินสด” โดยที่เราไม่ต้องพกเงินสดออกจากบ้าน แต่ก็ยังสามารถใช้จ่ายซื้อของ หรือชำระค่าบริการต่าง ๆ ได้ตามปกติ ด้วยช่องทางการชำระเงินในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรเติมเงิน e-wallet (กระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์) พร้อมเพย์ (PromtPay) และชำระเงินด้วย QR Code นั่นเอง

 

ข้อดี – ข้อเสีย เมื่อโรงเรียนเข้าสู่ สังคมไร้เงินสด แบบเต็มรูปแบบ

สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society เป็นคำที่คุ้นหูมาบ้างแล้วสำหรับคนไทย แต่หากย้อนกลับไปอดีตหลายคนอาจรู้สึกไม่มั่นใจในการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ทำธุรกรรมทางการเงินเท่าไร ด้วยความที่เงินนั้นไม่จับต้องไม่ได้เหมือนกับการใช้เงินสด แต่ปัจจุบันทุกอย่างได้เปลี่ยนไปแล้ว ด้วยวิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์ การเข้าสู่สังคมไร้เงินสดจึงตอบโจทย์วิถีชีวิตอยู่หลายอย่างเหมือนกัน

 

สังคมไร้เงินสด

 

ข้อดีของสังคมไร้เงินสด

1. ช่วยให้ประเทศพัฒนาและลดต้นทุนทางเศรษฐกิจภายในประเทศ

สังคมไร้เงินสดไม่ได้มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานรายย่อยเท่านั้น แต่ถ้ามองในภาพรวมถือว่าส่งผลดี เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยี การตรากฎหมายและมาตรการใหม่ ๆ ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ไปจนถึงการพัฒนาและปรับปรุงระบบของธนาคารและของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังช่วยลดต้นทุนทางเศรษฐกิจภายในประเทศอีกด้วย เพราะต้นทุนการพิมพ์ธนบัตรนั้นมหาศาลมากเลยค่ะ

 

2. ทำให้การชำระสินค้าสะดวกมากขึ้น

เมื่อก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสด ร้านค้าและผู้ให้บริการต่าง ๆ ต้องปรับตัวรับการชำระเงินผ่าน e-Payment ซึ่งการใช้จ่ายรูปแบบนี้มีความสะดวก รวดเร็ว อยู่พอสมควร เพียงแค่เติมเงินเข้าไปเก็บในกระเป๋าเงินดิจิทัลหรือไม่ก็ผูกกระเป๋าเงินกับบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัญชีธนาคารก็สามารถใช้จ่ายได้แล้ว ทั้งยังสามารถตั้งค่าชำระบิลต่าง ๆ ล่วงหน้าได้อีกด้วย

 

สังคมไร้เงินสด

 

3. ช่วยลดความเสี่ยงในการถือเงินสด

การใช้ Cashless Society นอกจากจะสะดวกในการใช้งานแล้วยังมีความปลอดภัยสูง เพราะไม่ต้องเสี่ยงกับการถือเงินสด ไม่ต้องกังวลเรื่องทอนเงินผิดแล้ว ที่สำคัญยังสามารถติดตามการใช้จ่ายได้ทุกรายการ เพราะมีบันทึกการรับเงินหรือโอนเงินให้ทุกครั้ง

 

ข้อเสียของสังคมไร้เงินสด

1. ความปลอดภัยของบัญชี

การที่เรานำข้อมูลการเงินทุกอย่างเข้าไว้ในรูปแบบออนไลน์ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่อาจจะทำให้ถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้น ควรหามาตรการรักษาความปลอดภัยของระบบการเงินออนไลน์ให้ได้มากที่สุด เช่น Log out จากระบบแอปฯ ธนาคารทุกครั้งที่เลิกใช้บริการแล้ว

 

2. เกิดการใช้จ่ายที่เกินตัว

การใช้จ่ายที่สะดวกสบายมากขึ้นเพียงแค่ใช้ปลายนิ้วสัมผัส อาจกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น จนทำให้บางครั้งคุณเพลิดเพลินจนลืมดูตัวเลขค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

 

3. ต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา

การที่เราจะสามารถใช้จ่ายเงินในบัญชีผ่านระบบออนไลน์ จำเป็นต้องพึ่งพาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความเสถียรและรวดเร็ว หากอินเทอร์เน็ตของหมดหรือไปอยู่ในจุดอับสัญญาณ ก็ไม่สามารถใช้จ่ายบริการอะไรได้

 

สังคมไร้เงินสด

 

ธุรกรรมการเงินออนไลน์อย่างไรให้ปลอดภัย ?

  • ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ผู้อื่น หรือคอมพิวเตอร์ตามร้านอินเทอร์เน็ตเด็ดขาด เพื่อป้องกันการถูกขโมยข้อมูล และที่สำคัญไม่ควรใช้สมาร์ตโฟนที่ผ่านการดัดแปลงระบบปฏิบัติการมาด้วย เพราะระบบป้องกันข้อมูลอาจมีปัญหาขึ้นได้
  • ถ้าในคอมพิวเตอร์มีโปรแกรมเถื่อนหรือบนสมาร์ตโฟนมีแอปพลิเคชันที่ไม่ได้อยู่ใน Store ซอฟต์แวร์และแอปฯ อาจเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือดักจับข้อมูลได้ หรือเป็นช่องทางให้ไวรัสเข้ามาแฮกระบบได้
  • การใช้ Wifi สาธารณะก็เสี่ยงที่จะถูกขโมยข้อมูลและรหัสไปได้เหมือนกัน ทางที่ดีควรใช้อินเทอร์เน็ตส่วนตัว หรือไม่ก็ผ่านเครือข่าย 3G 4G แทนจะปลอดภัยมากกว่า
  • ลิงก์เว็บไซต์ของธนาคาร ซึ่งข้อนี้หลายคนอาจจะพลาด ทำให้ต้องไปเจอเว็บปลอม ดังนั้น หากต้องการเข้าใช้บริการ ก็ควรเข้าด้วยการพิมพ์ URL เอง
  • Log in – Log out เป็นอีกเรื่องที่ต้องย้ำ เนื่องจากหลาย ๆ คนเมื่อเข้าระบบใช้งาน พอเสร็จธุระก็มักจะลืมออกจากระบบ ดังนั้น ต้องจำไว้ว่า เมื่อทำธุรกรรมใด ๆ ก็ตามเสร็จแล้ว ต้องออกจากระบบและเช็กดูว่าออกจากระบบแล้วจริง ๆ ทันที เพื่อไม่ให้เข้าสู่ระบบค้างเอาไว้

 

จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่าสังคมไร้เงินสดไม่ได้นำมาเพียงการเปลี่ยนแปลงด้านที่ดีเท่านั้น หากเราไม่จัดแจงการใช้เงินให้ดีมันก็มาพร้อมกับโทษได้เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ยิ่งโลกกำลังเข้าสู่ยุคที่เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นแบบนี้ สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ การปรับตัวและเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่นเหล่าพ่อค้า-แม่ค้ารุ่นใหม่ก็ต้องหันมาใช้บริการชำระเงินผ่าน QR Code หรือพร้อมเพย์มากขึ้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คุณสมบัติของ โรงเรียนดีในชุมชน รร.มัธยมดีสี่มุมเมือง ต้องเป็นอย่างไร?
หมุนเงินไม่ทัน ค่าใช้จ่ายเพียบ ปัญหาหนักอกของพ่อแม่ช่วงลูกเปิดเทอม
รวมค่าเทอมโรงเรียนปี 2023 อัปเดตใหม่ล่าสุด ไม่ต้องหาที่ไหน เพราะที่นี่มีให้ครบ
ที่มา :
โหนกระแส
tlt.co.th
tonkit360.com
บทความจากพันธมิตร
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ
ครั้งแรกในไทยฟิลิปส์ เปิดตัวโคมUVCยับยั้งเชื้อโรคแบบตั้งโต๊ะ รองรับตลาดการใช้งานในครัวเรือนและธุรกิจบริการ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

supasini hangnak

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • สังคมไร้เงินสด โรงเรียนบังคับใช้แอปฯ จ่ายค่าอาหารแทนเงินสด
แชร์ :
  • เด็กไทยวัย 1-6 ปีขาดสารอาหาร “ไมโครนิวเทรียนส์” ห่วงพัฒนาการไม่สมบูรณ์

    เด็กไทยวัย 1-6 ปีขาดสารอาหาร “ไมโครนิวเทรียนส์” ห่วงพัฒนาการไม่สมบูรณ์

  • Apple Store เปิดตัวโครงการ "Today at Apple นักเล่าเรื่องกรุงเทพ"

    Apple Store เปิดตัวโครงการ "Today at Apple นักเล่าเรื่องกรุงเทพ"

  • Apple แนะนำคอลเล็กชันแอป ช่วยวางแผนการเรียนสำหรับนักศึกษา

    Apple แนะนำคอลเล็กชันแอป ช่วยวางแผนการเรียนสำหรับนักศึกษา

  • เด็กไทยวัย 1-6 ปีขาดสารอาหาร “ไมโครนิวเทรียนส์” ห่วงพัฒนาการไม่สมบูรณ์

    เด็กไทยวัย 1-6 ปีขาดสารอาหาร “ไมโครนิวเทรียนส์” ห่วงพัฒนาการไม่สมบูรณ์

  • Apple Store เปิดตัวโครงการ "Today at Apple นักเล่าเรื่องกรุงเทพ"

    Apple Store เปิดตัวโครงการ "Today at Apple นักเล่าเรื่องกรุงเทพ"

  • Apple แนะนำคอลเล็กชันแอป ช่วยวางแผนการเรียนสำหรับนักศึกษา

    Apple แนะนำคอลเล็กชันแอป ช่วยวางแผนการเรียนสำหรับนักศึกษา

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว