เด็กหญิงดีใจได้ไปตัดผมกับยาย ต้องเจอความเสียใจ เมื่อยายหลอกไปตัดผมแลกเงิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เพราะคำว่าครอบครัว ไม่ได้มีองค์ประกอบแค่พ่อ แม่ ลูก แต่บางบ้านอาจจะมีผู้อื่นด้วย อาจจะเป็นลุง ป้า น้า อา หรือคุณยาย บางครั้งด้วยช่วงวัยที่ต่างกัน การพยายามทำความเข้าใจ หรือสร้างบรรยากาศที่ดี ภายในครอบครัวกันเอง อาจจะกลายเป็นปมในใจของใครคนหนึ่งก็ได้ค่ะ เช่นเดียวกับน้องคนนี้ เด็กหญิงดีใจได้ไปตัดผมกับยาย แต่สุดท้ายคุณยายนี่แหละ ที่สร้างบาดแผลทางจิตใจ จนชาวเน็ตที่ได้เห็น ต่างสงสารกันเป็นแถว

 

เรื่องนี้ถูกรายงานบนเว็บไซต์ hk01 หลังจากที่เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 คลิปวิดีโอของเด็กหญิงรายหนึ่ง จากนครฉงชิ่ง ประเทศจีน กลายเป็นไวรัลบนโซเชียลจีน ในตอนแรก เด็กหญิงดีใจได้ไปตัดผมกับยาย กำลังเดินไปด้วยความสุขที่ได้มีโมเมนต์ร่วมกัน แต่ก็มีได้ไม่นาน เมื่อจู่ ๆ เธอก็เริ่มรับรู้ได้ว่า “โดนหลอกมาขายผม” ซึ่งสถานที่นั้นคือข้างถนน ทำเอาเธอถึงกับทรุด และร้องไห้ออกมาอย่างหนักหน่วง เรียกได้ว่าเรื่องนี้ กลายเป็นประเด็นถกเถียงใหญ่โต ทั้งในหมู่ผู้คนที่เห็นเหตุการณ์ และชาวเน็ตที่ได้รับชมคลิปบนโซเชียล

 

 

ตามคำบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ พยานเล่าว่า ยายของเด็กหญิงได้หลอกให้เธอไปที่ถนน และต้องการขายผมของเธอ โดยยายได้ล่อลวงเธอไปยังสถานที่ดังกล่าว ในช่วงเวลานั้น เด็กหญิงไม่สามารถขัดขืนได้ และทำได้เพียงร้องไห้ ที่เห็นผมของเธอถูกตัด โดยเส้นผมถูกขายในราคา 500 หยวน หรือราว ๆ 2,500 บาท

 

เรียกได้ว่า หลังจากที่หลายคนได้เห็นเหตุการณ์นี้ ต่างก็รู้สึกไม่โอเคที่ได้เห็น โดยส่วนใหญ่แล้วรู้สึกเสียใจ และเศร้าไปพร้อมกับเด็กหญิง โดยมองว่า เด็กหญิงตัวเล็ก ๆ ร้องไห้ราวกับใจสลาย ที่ถูกบังคับให้ทำโดยไม่เต็มใจ ซ้ำยังเหมือนเป็นการหลอกลวงอีก นั่นทำให้หลายคนรู้สึกเศร้าใจตามไปด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

มีชาวเน็ตจำนวนไม่น้อย ที่มองว่าการกระทำครั้งนี้ของยาย สร้างบาดแผลทางใจให้กับเด็กหญิงไม่น้อย ด้วยความเห็นบางส่วนระบุว่า “ขายผมยาวของเด็ก โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพจิตของเด็กแบบนี้ ถือว่าเหมาะสมหรือ?” , “แล้วเงินที่ได้ล่ะ หญิงชราจะเอาเงินให้หลานหรือไม่?” , “เด็กผู้หญิงไม่ควรถูกบังคับให้ตัดผม” , “พ่อแม่ของเด็กหญิงอยู่ที่ไหนกัน?”

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีหลายคนที่แสดงความเข้าใจ ไปในทางที่ว่า “เรื่องนี้เป็นปัญหาของครอบครัว” เป็นเรื่องภายในบ้านคนอื่น เพียงแต่ถูกนำมาเผยแพร่ให้สังคมเห็น จึงกลายเป็นเรื่องที่น่าอับอายทางศีลธรรม ที่ยายทำแบบนี้ อาจจะเพราะไม่มีทางเลือก การใช้ชีวิตบนโลก จำเป็นต้องใช้เงินในหลาย ๆ อย่าง ถึงขั้นที่บางส่วนมองว่า “ถ้าไม่ใช่เพราะไม่มีเงิน ใครจะเอาเด็กมาขายแบบนี้”

 

หลังจากที่เหตุการณ์นี้ ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของสหพันธ์สตรีในท้องถิ่น ได้เปิดเผยว่า หน่วยงานได้เห็นข่าว และชมวิดีโอดังกล่าวแล้ว และรู้สึกเป็นกังวลต่อสถานการณ์ของเด็กสาว เจ้าหน้าที่จึงจะเข้าตรวจสอบ และดูแลด้ายสภาพจิตใจของเด็ก รวมไปถึงในด้านของครอบครัวด้วย หากพบว่า เป็นสถานการณ์ที่โดนบังคับ หรือเป็นการกระทำโดยที่ไม่สมยอม จะจัดการอย่างเด็ดขาดกับเรื่องที่เกิดขึ้น !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

บาดแผลทางใจ เรื่องที่มองไม่เห็นแต่ส่งผลเมื่อโตขึ้น

เพราะประสบการณ์ในวัยเด็ก จะกลายเป็นความทรงจำที่ติดตัวไปตลอด ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด หากเป็นความทรงจำที่ดี จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการก้าวผ่านอุปสรรค หรือความลำบากในชีวิต แต่เมื่อเป็นเรื่องที่ไม่ดี และเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ เมื่อโตขึ้นและได้ใช้ชีวิตในสังคม ผู้ที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น จะเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองตลอดเวลาว่า “ทำไมตัวเองถึงรู้สึกว่างเปล่า รู้สึกโหยหาบางอย่างทั้งที่ไม่รู้ว่าคืออะไร” โดยที่ไม่รู้ว่าเรื่องดังกล่าว คือ บาดแผลทางใจ (Trauma)

 

ซึ่งผู้ใหญ่บางคน อาจจะเคยได้รับประสบการณ์ “บาดแผลทางใจในวัยเด็ก (Childhood trauma)” โดยอาจจะจำได้หรือไม่ได้ และอาจจะยังรู้สึกถึงเรื่องดังกล่าว ราวกับว่าเป็นความฝังใจ ซึ่งในบางคนที่อาจจะเติบโตมาพร้อมคำว่า “ครอบครัวไม่ใช่ Safezone” จึงพยายามมองหาความรักที่วาดฝัน แต่สุดท้ายไม่สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนกับแฟน เพราะอาจเกิดความกลัวขึ้นในบางเวลา จนกลายเป็นความรู้สึกไม่ดี และวนกลับไปถามตัวเองอยู่เป็นประจำ

 

 

บาดแผลทางใจ มักกลายเป็นหนึ่งในผลกระทบต่อชีวิต เมื่อเกิดการเรียนรู้ หรือเติบโตขึ้นตามแต่ช่วงอายุ ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติ ที่เกิดจากการเรียนรู้รูปแบบ และวิธีการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยอ้างอิงจากความสัมพันธ์ในอดีต เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ซึ่งบาดแผลทางใจในวัยเด็ก สามารถส่งผลกับบุคคลได้หลายอย่าง บางคนอาจจะกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : เมื่อลูกทำผิด ควรลงโทษลูก หรือไม่ การลงโทษทำ ให้ลูกเป็นคนดีหรือเปล่า?

 

สาเหตุหลักของบาดแผลทางใจในวัยเด็ก

  • การโตมากับผู้ปกครอง หรือคนเลี้ยงที่มีปัญหาการใช้ยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์
  • การโตมาในบ้านที่มีคนเคยทำความผิด ถึงขั้นติดคุก
  • บรรยากาศในบ้าน เต็มไปด้วยคนที่มีปัญหาสุขภาพจิต โรคจิตเภท หรือซึมเศร้า
  • การเห็นความรุนแรงจากคนในบ้าน จากการทำร้ายร่างกาย การด่าทอ การทำให้อับอาย การถูกตี
  • ถูกทำร้ายความรู้สึกจากผู้ปกครอง การละเลย การดูถูก การดุด่า การเปรียบเทียบ
  • เติบโตมาพร้อมการถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยที่ไม่มีคนสอน หรือขอความช่วยเหลือไม่ได้
  • สูญเสียผู้เลี้ยงดูหลัก การเสียชีวิต การหย่าร้าง การถูกทอดทิ้ง การมีบ้านเล็กบ้านน้อย รวมถึงการมีพี่น้อง

 

ซึ่งการเติบโตมาพร้อมกับ การขาดความดูแลเอาใจใส่ ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจ ล้วนเป็นสาเหตุที่สร้างบาดแผลทางใจ ที่ในบางครั้งพ่อแม่อาจจะมองข้าม ดังนั้นเรื่องของการตอบสนอง ต่อความต้องการหรือความรู้สึกเด็ก ย่อมกลายเป็นผลกระทบด้านลบเมื่อโตขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา หรือไม่ได้รับการดูแลตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งสาเหตุดังกล่าว ยังไม่รวมถึงเหตุการณ์อื่น ที่อาจส่งผลต่อสภาพจิตใจเด็ก เช่น ภัยพิบัติ สงคราม อุบัติเหตุ เด็กกำพร้า สถานภาพครอบครัว ฐานะครอบครัว ฯลฯ

 

 

เหตุการณ์ในใจ ส่งผลกระทบต่อสมอง

เพราะการเติบโตมาพร้อมกับการพัฒนาสมอง ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก การที่อยู่ในสภาพแวดล้อมมั่นคง ย่อมสร้างสมดุลต่อชีวิตได้ดีกว่า และไม่เกิดเป็นผลกระทบใด บางกรณีอาจพบว่าปัญหาต่าง ๆ อาทิ การเรียนรู้ การจดจำ การเข้าสังคม หรือปัญหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ เกิดจากการพัฒนาสมองจากบาดแผล ซึ่งการควบคุมตนเองส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมอื่น จนเกิดเป็นปัญหาสุขภาพ เช่น โรคซึมเศร้า, ป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD)

 

รวมไปถึงพฤติกรรมเมื่อโตขึ้น อย่างการผัดวันประกันพรุ่ง หรือการจัดการลำดับความสำคัญไม่ได้ ล้วนเกิดจากการไม่ได้รับการสนับสนุน ด้านพัฒนาการที่ดีในวัยเด็ก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ล้วนแล้วแต่ เป็นผลกระทบทางอ้อมจากบาดแผลในใจในวัยเด็กแทบทั้งสิ้น

 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะบางคนจะมีบาดแผลในใจจากประสบการณ์วัยเด็ก แต่ไม่ได้แปลว่าจะเป็นคนมีปัญหาเสมอไปเมื่อเติบโตขึ้น ถึงแม้ว่าจะยังรู้สึก คล้ายเป็นแผลเป็น แต่ถ้าหากบุคคลดังกล่าวยังพอมีแรง และหาสิ่งยึดเหนี่ยวใจได้ เมื่อเติบโตขึ้นจึงเกิดเป็นการพบแพทย์ การไปปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อบำบัดอาการที่เคยเกิดในอดีต เพียงแต่ว่าการไม่สร้างบาดแผลในใจต่อเด็ก ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่าการทำลงไปโดยที่ไม่รู้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แพทย์แนะ พ่อแม่ไม่ควรสอน เป็นพี่ต้องเสียสละให้น้อง

ตีลูก เป็นทางออกปัญหาจริงหรือไม่? ทำไมพ่อแม่ถึงไม่ควรตีลูก

อย่ากลัวลูกติดอุ้ม! งานวิจัยฟันธง “รักลูกให้กอด ลูกร้องต้องรีบอุ้ม

ที่มา :

sanook.com

hk01.com

istrong.co

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn